www.weipinxgt.com www.hdf598.com www.rzkfqcg.com www.ywd100.com www.gzunitrade.com www.5aziyuan.com www.alsclean.com www.ynzsgc.com www.sdldtg.com www.i-sarima.com www.aijianbing.com www.xushiweigou.com www.haoyulongsp.com www.binqimotor.com www.kenminamipainting.com www.erli30.com www.cdhg88.com www.horse-home.com www.myjxzp.com www.dgselling.com www.chenlongjiancai.com www.zhongkuanwuliu.com www.huameide-sz.com www.shouxitongban.com www.scgcjx0207.com www.qdshengqian.com www.3w800.com www.kl-ad.com www.imshenghuo.com www.xxanlhw.com www.hfkaibo.com www.wlwservice.com www.jxguanghua.com www.zkld2009.com www.duanem.com www.hzwjzs.com www.chdlav.com www.lyxszl.com www.xinlaihuijiaju.com www.hrwholecare.com www.yingyang168.com www.honeywell-lk.com www.yushusanjiangyuanbao.com www.kangningyiyuan.com www.xzkjsxx.com www.jztushuguan.com www.gksswh.com www.jakjxx.com www.yyxlzw.com www.dwdzxx.com www.shszjzx.com www.skf-nsk-fag-ntn.com www.shanghailvhua.com www.yomandoors.com www.wenchengvote.com www.cn-sportsprotectors.com www.fuyixuantc.com www.jiayongdiant.com www.reshousuoj.com www.wuxitianzhile.com www.lsallx.com www.ravor-system.com www.jhbrq.com www.mirrvoll.com www.likekiwi.com www.hbclzqcj.com www.cqqfbxgm.com www.nmgdwjlw.com www.zmdjtzfw.com www.xunchengchaju.com www.gssx-pxgl.com www.sha-jing.com www.zysjmbj.com www.131701.com www.tlyhyy.com www.hbfbfz.com www.hljpadm.com www.fenxiangzhuan005.com www.jv001.com www.ruiyucnc.com www.zhuochenglaser.com www.zhaoshudeng.com www.facebook-france.com www.yuxianchu.com www.139yes.com www.lazonaentertainment.com www.eastofedens.com www.latelier-gourmet.com www.kaisyomaru.com www.tenglonghb.com www.bdsmfreevids.com www.gzshbzw.com www.ymgb0991.com www.setonohanayome.com www.attachmentmoms.com www.njmzyjg.com www.hi4r.com www.exotic-nails.com www.ef25.com www.lslcxx.com
การประชุมวิชาการระดับชาติและนานาชาติที่จัดโดยสถาบันวิจัยพุทธศาสตร์

การจัดงานสัมมนาผลงานวิจัยนานาชาติ ครั้งที่ ๘ 

    สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ร่วมกับหอจดหมายเหตุพุทธทาส อินทปัญโญ และมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานีได้จัดสัมมนาผลงานวิจัยนานาชาติ ครั้งที่ ๘ ในหัวข้อ พุทธธรรมกับสังคม” (Dhamma and Society) ในโอกาสครบรอบชาตกาล ๑๑๑ ปี พุทธทาสภิกขุ แบ่งการสัมมนาเป็น ๔ ประเด็นสำคัญ ได้แก่ ๑) จิตใจและปัญญาญาณ (Mind & Spirituality) ๒) เศรษฐกิจและการพัฒนาที่ยั่งยืน (Economic & Sustainable Development) ๓) สังคมกับการเมือง (Socio-politics) และ ๔) การสานงานของพุทธทาสภิกขุ (The Works and Legacy of Buddhadasa Bhikkhu) โดยกิจกรรมจัดขึ้นระหว่างวันที่ ๒๔ พฤษภาคม – ๒ มิถุนายน ๒๕๖๐

    วันที่ ๒๔ ๒๕ พฤษภาคม  ๒๕๖๐ ได้จัดสัมมนาวิชาการนานาชาติ ณ หอจดหมายเหตุพุทธทาส อินทปัญโญ เขตจตุจักร กรุงเทพฯ โดยมีพระพรหมบัณฑิต, ศ.ดร. อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เป็นประธานเปิดงาน มีนักวิชาการ นักวิจัย ทั้งภายในและต่างประเทศเข้าร่วมนำเสนอบทความวิชาการ และบทความวิจัยจำนวน ๑๕ ประเทศ มีบทความวิจัยนำเสนอ จำนวน ๒๖ เรื่อง มีผู้เข้าร่วมสัมมนาประมาณ ๒๕๐ รูป/คน พร้อมกันนี้ มีการมอบรางวัลผลงานวิจัยและนักวิจัยดีเด่น ประจำปี ๒๕๕๙ จำนวน ๑๘ รางวัล

    จากนั้น วันที่ ๒๖ พฤษภาคม ๒ มิถุนายน ๒๕๖๐ ได้จัดกิจกรรมตามรอยพุทธทาส ดนตรีภาวนา และ กิจกรรมล้ออายุ ณ วัดธารน้ำไหล สวนโมกขพลาราม สุราษฎร์ธานี กิจกรรมปฏิบัติธรรม ณ สวนโมกข์นานาชาติ สุราษฎร์ธานี และกิจกรรมปฏิบัติธรรม ณ ทีปภาวันธรรมสถาน เกาะสมุย สุราษฎร์ธานี


การประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ ๑ วิทยาเขตแพร่

    สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ ร่วมกับมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตแพร่ ได้จัดการประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ ๑ ในหัวข้อ “การจัดการวัฒนธรรมเชิงพระพุทธศาสนาอย่างยั่งยืน (Sustainable Buddhist Culture Management)” เมื่อวันที่ ๒๓-๒๔ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๖๐ ณ หอประชุมนวมินทราชูทิศโกศัยนคร มจร วิทยาเขตแพร่ เพื่อเป็นเวทีสาธารณะด้านการวิจัยและวิชาการ ให้คณาจารย์ นักวิจัย นักวิชาการและนิสิตได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ นำไปสู่การสร้างเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการ และตอบสนองความต้องการของสังคม โดยมีพระพรหมบัณฑิต,ศ.ดร. อธิการบดี, ประธานคณะกรรมการประจำสถาบันวิจัยพุทธศาสตร์เป็นประธานประชุมวิชาการระดับชาติ และกล่าวปาฐกถาพิเศษ เรื่อง "๓๐ ปี มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตแพร่" ในการนี้สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ได้เชิญศาสตราจารย์ ดร. Fukui Hayao จากมหาวิทยาลัยเกียวโต ประเทศญี่ปุ่น เพื่อร่วมการเสวนาฉลองความสัมพันธ์ทางการทูต ครบรอบ ๑๓๐ ปี ไทย – ญีปุ่น ตามนโยบายโครงการศาสตราจารย์อาคันตุกะ (Visiting Professor) อีกด้วย



การประชุมชี้แจงแผนการดำเนินงานและแนวทางการติดตามงบประมาณบูรณาการการวิจัยและนวัตกรรม ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๑

    เมื่อวันที่ ๒๗ พฤศจิกายน ๒๕๖๐ สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ โดยพระมหาเสรีชน นริสฺสโร ผู้อำนวยการส่วนงานบริหาร และนายบดินทร์ภัทร์ สายบุตร ได้เข้าร่วมโครงการการประชุมชี้แจงแผนการดำเนินงานและแนวทางการติดตามงบประมาณในลักษณะบูรณาการการวิจัยและนวัตกรรม ประจำปีงบประมาณ พ. ศ. ๒๕๖๑ ณ ห้องจูปิเตอร์ โรงแรมมิราเคิล แกรนด์ คอนเวนชั่น กรุงเทพฯ ซึ่งจัดโดยสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ (สวทน.) โดยมีวัตถุประสงค์ชี้แจงและสร้างความเข้าใจร่วมกันเกี่ยวกับแผนการดำเนินงานและแนวทางการติดตามงบประมาณในลักษณะบูรณาการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๑ และเพื่อรับฟังข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะของผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องต่อการใช้ระบบ NRMS  ทั้งนี้ ที่ประชุมได้แจ้งให้หน่วยงานภาครัฐที่ได้รับจัดสรรงบประมาณดำเนินการรายงานผลสำเร็จของงานวิจัยในระบบ NRMS และรายงานการนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ (NRMS - Research evaluation) อีกด้วย


ประชุมผู้เชี่ยวชาญนานาชาติ เรื่อง "การพัฒนาชนบทเพื่อขจัดความยากจนในเอเชีย" (Revitalizing Rural Development for Poverty Eradication in Asia)

    เมื่อวันที่ ๒-๔ สิงหาคม ๒๕๖๐ สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ โดยพระสุธีรัตนบัณฑิต ผู้อำนวยการได้เข้าร่วมประชุมผู้เชี่ยวชาญนานาชาติ เรื่อง "การพัฒนาชนบทเพื่อขจัดความยากจนในเอเชีย" (Revitalizing Rural Development for Poverty Eradication in Asia) จัดโดยมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โดยมีแขกผู้มีเกียรติเข้าร่วม อาทิ ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล อดีตรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง, นายสมหวัง พ่วงบางโพ รองผู้ว่าราชการจังหวัดอุดรธานี, ผศ.นิธินันท์ วิศเวศวร รักษาการรองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ และคณบดีวิทยาลัยนานาชาติปรีดี พนมยงค์, ผศ.จิตติ มงคลชัยอรัญญา คณบดีวิทยาลัยพัฒนศาสตร์ ป๋วย อึ๊งภากรณ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ รวมทั้งนักวิชาการจากนานาประเทศในทวีปเอเชียเข้าร่วมประชุมกว่า ๓๐๐ คน ผลการประชุมพบว่า ความยากจนในเอเชีย ส่วนหนึ่งมาจากโครงสร้างทางสังคม นโยบายภาครัฐ การจัดการทรัพยากรที่ไม่เป็นธรรม และจากการขาดภูมิปัญญาในการดำเนินการของคนในสังคม ดังนั้น การเสริมสร้างทางปัญญา การจัดการเชิงนโยบาย การเสริมพลังอำนาจให้ชุมชน การพึ่งพาตนเอง จักเป็นปัจจัยสำคัญในการพัฒนาชนบท และควรให้ความสำคัญในแนวทางจัดการศึกษา ๓ ประการที่สำคัญ คือ การให้โอกาสที่ดีที่สุดแก่เด็กและเยาวชนของไทย ลดความเหลื่อมล้ำในระบบการศึกษา และพัฒนาคุณภาพการศึกษาให้เกิดขึ้น รวมทั้งมีการประชุมระดมสมองเพื่อจัดทำข้อเสนอในระดับนานาชาติถึงการพัฒนาชนบทที่ควรจะเป็นในอนาคตอีกด้วย


    

การเข้าร่วมงาน “มหกรรมงานวิจัยแห่งชาติ ๒๕๖๐” (Thailand Research Expo 2017)

    สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ ได้เข้าร่วมงาน มหกรรมงานวิจัยแห่งชาติ ๒๕๖๐” (Thailand Research Expo 2017) ซึ่งจัดขึ้นโดยสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ร่วมกับหน่วยงานเครือข่ายในระบบวิจัยทั่วประเทศ ระหว่างวันที่ ๒๓-๒๗ สิงหาคม ๒๕๖๐ ณ โรงแรมเซ็นทาราแกรนด์ และบางกอกคอนเวนชันเซ็นเตอร์ เซ็นทรัลเวิลด์ กรุงเทพฯ ภายใต้แนวคิด วิจัยเพื่อพัฒนาประเทศสู่ความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืนได้ส่งผลงานวิจัยร่วมจัดนิทรรศการ จำนวน ๒ เรื่อง ได้แก่ ๑) การอนุรักษ์และพัฒนาแหล่งโบราณคดีตำบลนครชุม อำเภอเมืองกำแพงเพชร จังหวัดกำแพงเพชร  โดย พระราชวชิรเมธี, ผศ.ดร. วิทยาเขตนครสวรรค์ และ ๒) รูปแบบการพัฒนาบึงน้ำขนาดใหญ่แบบมีส่วนร่วมในสังคมไทย โดย ดร.อัครเดช พรหมกัลป์ วิทยาเขตนครสวรรค์ มีวิทยากรหลักสูตรการพัฒนานักวิจัย” (แม่ไก่) ภาคบรรยาย จากเครือข่ายมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ที่ผ่านการรับรอง จำนวน ๖๓ รูป/คน เข้ารับเกียรติบัตรจาก พลอากาศเอก ดร.ประจิน จั่นตอง รองนายกรัฐมนตรี และสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช) ได้มอบโล่ขอบคุณแก่มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยในฐานะส่วนงานที่นำผลงานและกิจกรรมเข้าร่วมนำเสนอในงาน มหกรรมงานวิจัยแห่งชาติ ๒๕๖๐

 


การนำเสนอผลงานวิจัยนานาชาติที่ประเทศจีน

    เมื่อวันที่ ๑๐-๑๑ ธันวาคม ๒๕๖๐ สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ โดยพระสุธีรัตนบัณฑิต, ดร. ผู้อำนวยการ ได้เข้าร่วมงานสัมมนานานาชาติประจำปี 2017 ภายใต้หัวข้อ " Teaching Buddhism in Metropolitan Cities: Urban Buddhism and Its Propagating Patterns "  ณ นครเซียงไฮ้  และนำเสนอผลงานวิจัยเรื่อง "Buddhism and Social Development: Concept and Process in Globalization Age" 

    การประชุมสัมมนาดังกล่าว จัดโดยคณะสงฆ์จีนโดยวัดพระหยก (Jade Buddha Temple) แห่งนครเซียงไฮ้ โดยมีผู้แทนจากประเทศต่างๆ ในเอเซียเข้าร่วมสัมมนา เช่น ฮ่องกง  ไต้หวัน ไทย รัสเชีย  และพระสงฆ์จีนในพื้นที่ต่างๆ ของจีนเข้าร่วมประชุม ผลการสัมมนาโดยภาพรวมพบว่า บทบาทและกระบวนการทำงานของพระสงฆ์เป็นลักษณะของพระพุทธศาสนาเพื่อสังคมมากขึ้น (Socially Engaged Buddhism) มีการยกตัวอย่างของ ดร.เอ็มเบดการ์ อินเดีย ขบวนการสรรโวทัยของศรีลังกา องค์กรฉื้อจี้ ไต้หวัน การศึกษาเพื่อสันติภาพของหลวงพ่อสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ. ปยุตโต) การทำงานของท่านติช นัท ฮันห์ เวียดนาม และบทบาทของพระในเมืองและชนบททั้งไทยและจีน โดยเฉพาะการเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ และเพิ่มให้บทบาทของพระสงฆ์ในแต่ละวัดช่วยดูแลสังคม การสร้างสัมมาชีพ การดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย สอดคล้องกับการทำงานของคณะสงฆ์ไทยที่มีการปฏิรูปกิจการพระพุทธศาสนาในด้านการสาธารณสงเคราะห์โดยคณะสงฆ์ไทยมุ่งเน้นการสร้างสัมมาชีพ การดูแลผู้สูงอายุ โรงเรียนผู้สูงอายุในวัด การส่งเสริมเกษตรวิถีพุทธ การรวมกลุ่มออมทรัพย์ (กลุ่มสัจจะสะสมทรัพย์) การดูแลรักษาป่า บวชป่า การตั้งกองทุนเพื่อช่วยเหลือประชาชนในคราวประสบภัยพิบัติต่างๆ และมุ่งเน้นให้มีการรักษาศีล ๕ ตามนโยบายโครงการหมู่บ้านรักษาศีล ๕

 


การประชุมวิชาการการพัฒนาชุมชนท้องถิ่นและสังคม(CSD สัมพันธ์) ระดับชาติ ครั้งที่ ๑๗ และนานาชาติ ครั้งที่ ๑

    สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ และคณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ร่วมกับ สมาคมพัฒนาชุมชนท้องถิ่นและสังคม มูลนิธิมั่นพัฒนา วิทยาลัยพัฒนศาสตร์ ป๋วย อึ๊งภากรณ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ ได้จัดงานประชุมวิชาการการพัฒนาชุมชนท้องถิ่นและสังคม (CSD สัมพันธ์) ระดับชาติ ครั้งที่ ๑๗ และนานาชาติ ครั้งที่ ๑ คุณธรรมจริยธรรมกับการพัฒนาที่ยั่งยืนขึ้นระหว่างวันที่ ๒๘ - ๓๑ มกราคม ๒๕๖๑ ณ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ต.ลำไทร อ.วังน้อย จ.พระนครศรีอยุธยา โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทั้งในด้านกิจกรรม การพัฒนาพื้นที่และงานวิชาการ และเพื่อเสริมสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างคณาจารย์ นิสิต นักศึกษาสาขาพัฒนาชุมชน/สังคมและสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องทั่วประเทศ ทั้งนี้มีผู้เข้าร่วมประชุมจำนวน ๑,๕๐๐ คน จาก ๔๕ มหาวิทยาลัย และ ๑๐ ประเทศ

 


การนำเสนอผลการวิจัยที่ประเทศอินเดีย

    เมื่อวันที่ ๗-๑๐ มีนาคม ๒๕๖๑ สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์โดยพระสุธีรัตนบัณฑิต ผู้อำนวยการ ได้เดินทางไปร่วมประชุมสัมมนานานาชาติเรื่อง "The Changing Status of Women: Myth and Reality with Special Reference to Northeast India " และชมการแสดงทางวัฒนธรรมท้องถิ่น ซึ่งจัดขึ้นโดยวิทยาลัยในกำกับของรัฐคอคราชาร์ (Kokrajhar) ณ เมืองคอคราชาร์ รัฐอัสสัม ประเทศอินเดีย จากนั้น ได้เดินทางไปโบโดแลนด์ (Bodoland) มีสถานที่สำหรับกิจกรรมทางพุทธศาสนาที่บริจาคโดยรัฐบาล และเข้าเยี่ยมบ้านเรือนและร้านค้าชาวโบโดที่ถูกโจมตีบ่อยครั้งจากกลุ่มแบ่งแยกดินแดน 'แนวร่วมประชาธิปไตยแห่งชาติโบโดแลนด์' (NDFB) เนื่องจากพวกเขาพยายามต่อสู้เพื่อแยกดินแดนของชาวเผ่าโบโด ซึ่งมีจำนวนประมาณ ๓.๓ ล้านคน หรือราว ๑๐% ของประชากรทั้งหมดของรัฐอัสสัมออกจากรัฐนี้มานานหลายสิบปีแล้ว อย่างไรก็ตามทางการมีความประสงค์จะให้มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย จัดหาคนมาเรียนโดยจะยกพื้นที่ส่วนหนึ่งให้เป็นสถานที่เรียนและประกอบพิธีกรรมทางพุทธศาสนา


การมอบรางวัลผลงานวิจัยและนักวิจัยดีเด่น ประจำปี ๒๕๖๐

    สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ได้ดำเนินการส่งเสริมการวิจัยและพัฒนาองค์ความรู้เพื่อเพิ่มศักยภาพการวิจัยให้กับคณาจารย์และนักวิจัย และเพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนานักวิจัย การสร้างสรรค์ผลงานวิจัย และยกย่องเชิดชูเกียรตินักวิจัย ร่วมกับคณะกรรมการพิจารณารางวัลผลงานวิจัยและนักวิจัยดีเด่น ได้ประชุมพิจารณาคัดเลือกผลงานวิจัยและนักวิจัยดีเด่น ประจำปี พ.ศ. ๒๕๖๐ เมื่อวันที่ ๑๕ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๑ และมีการมอบรางวัลผลงานวิจัยและนักวิจัยดีเด่น ประจำปี พ.ศ. ๒๕๖๐ จำนวน ๒๔ รางวัล ในการประชุมสัมมนาผลงานวิจัยนานาชาติ ครั้งที่ ๙ และการประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ ๑ เรื่อง วัฒนธรรมเชิงพุทธกับการพัฒนาที่ยั่งยืน” (Buddhist Culture and Sustainable Development) ระหว่างวันที่ ๒-๓ เมษายน ๒๕๖๑ ณ วิทยาลัยสงฆ์ศรีสะเกษ ต.น้ำคำ อ.เมือง จ.ศรีสะเกษ



การปฏิบัติศาสนกิจ ณ ประเทศสหรัฐอเมริกาและประเทศญี่ปุ่น

    เมื่อวันที่ ๑๕-๒๔ เมษายน ๒๕๖๑ พระสุธีรัตนบัณฑิต, รศ.ดร. ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ ได้เป็นคณะติดตามพระพรหมวชิรญาณ กรรมการมหาเถรสมาคม วัดยานนาวา เพื่อเดินทางไปปฏิบัติศาสนกิจ ณ ประเทศสหรัฐอเมริกาและประเทศญี่ปุ่น ผลการปฏิบัติศาสนกิจสรุปได้ ดังนี้

        ๑. ได้มีการศึกษาดูงานเพื่อสร้าง Museum of Buddhist Art ที่วัดนวมินทรราชูทิศ เมืองเรย์แฮม บอสตัน โดยจะมีการวาดภาพและประติมากรรมพุทธศิลป์ร่วมสมัย รวมทั้งภาพในหลวงรัชกาลที่ ๙ เพื่อไว้ที่วัดเป็นการเฉลิมพระเกียรติสถานที่ประสูติของในหลวง

        ๒. หารือความร่วมมือในการเรียนการสอนและการแลกเปลี่ยนนักศึกษา อาจารย์ นักวิจัย และผู้ที่ทำงานด้านวัฒนธรรมของไทยกับวิทยาลัยในเมืองบอสตัน โดยทางวิทยาลัยและมหาวิทยาลัยสนใจด้านการฝึกสมาธิ เอเชียศึกษา ให้วัดนวมินทรราชูทิศ เป็นแหล่งเรียนรู้

        ๓. ให้มีความร่วมมือนานาชาติ ของคนไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา จีน และอื่น โดยใช้วัดนว     มินทรราชูทิศ เป็นสถานที่จัดกิจกรรมของคนเอเชีย เพื่อก้าวไปสู่การพัฒนาตามเป้าหมายของ UN

        ๔. การปฏิบัติศาสนกิจที่ประเทศญี่ปุ่น ได้ประสานกับพระสงฆ์ญี่ปุ่นเพื่อให้มาร่วมงานกับ มจร และการสร้างวัดญี่ปุ่นในประเทศไทย

        ๕. ได้เรียนรู้เกี่ยวกับสังคม วัฒนธรรมเพื่อประยุกต์ในการวิจัยและการเรียนการสอนของ มจร และวัดไทย