บทความวิชาการ
ปรัชญาคืออะไร?
18 ธ.ค. 58 | พระพุทธศาสนา
97561

ผู้แต่ง :: พระมหากฤษณะ ตรุโณ,ดร.

ปรัชญาคืออะไร?

พระมหากฤษณะ ตรุโณ,ดร. (2551)

ทุกคนมักจะถามคำถาม แต่คำถามว่าปรัชญาคืออะไร มักจะไม่ถามกัน แม้ว่ามันจะเป็นคำถามที่สำคัญ ความเจริญของมนุษย์ได้เปลี่ยนแปลงไป เพราะว่านักคิดชาวกรีกได้ตั้งคำถามนั้นเมื่อ ๒๕๐๐ ปีมาแล้ว เวลาต่อมา คาร์ล มาร์ค ก็ได้ตั้งคำถามทำนองนั้น และมีความคิดว่าปรัชญาควรเป็นตัวการในการเปลี่ยนแปลงโลกดีพอ ๆ กับเป็นตัวการในการเข้าใจโลก และการปฏิวัติก็ตามมา เราคาดเดาคำตอบของคำถามนี้ เมื่อเราพยายามเรียนรู้ว่า อะไรที่เราสามารถรู้ได้ เพื่อที่จะตัดสินว่าอะไรควรทำ หรือเป็นสำรวจโชคชะตาของเรา แม้ว่ามันจะมีหลายทางในการจัดการเกี่ยวกับเรื่องนี้ ในคำถามทางปรัชญาทั้งหมด เราอาจประหลาดใจต่อวิธีการที่ดีที่สุดในการจัดการกับมัน แต่ทางที่ดีที่สุดที่จะจัดการกับคำถามนี้ ก็คือเริ่มต้นด้วยการถามว่า ปรัชญาคืออะไร?

เพื่อเป็นการแนะนำคุณว่ามันมีหลายคำตอบที่มีให้สำหรับคำถามว่า ปรัชญาคืออะไร? เราขอเสนอคำตอบหลายคำตอบของนักคิดหลายท่าน เช่น พลาโต ผู้ได้ชื่อว่า “บิดาแห่งปรัชญา” และเป็นเจ้าแห่งศิลปะในการสนทนา ออกัสท์ ก็องส์ ผู้ต้องการปฏิวัติความคิดด้านธรรมเนียมประเพณีและจัดการให้ทันสมัย โจเซียร์ รอยซ์ ผู้เชื่อมต่อปรัชญาและศาสนาเข้าด้วยกัน เมื่อนำคำตอบทั้งหมดนี้มารวมกันแล้ว ก็จะทำให้คุณสามารถตัดสินใจได้ว่า ปรัชญาคืออะไร?

โสเครตีส, พลาโต และวิธีการสนทนา

นักปรัชญาทั้งหลายมักจะไม่เห็นด้วย เมื่อคุณถามเขาว่า ปรัชญาคืออะไร และคำตอบที่เขาให้ไว้มักจะมากไปกว่าความเห็นทางปรัชญา การไต่ถามเช่นนั้นเกิดขึ้นบ่อยมากเมื่อย้อนหลังไปสมัยโสเครตีส (๔๗๐–๓๙๙ ปี ก่อนคริสต์ศักราช) เขาได้อาศัยอยู่ในกรุงเอเธน รัฐได้ลงโทษเขาโทษฐาน “ยุยงพวกคนหนุ่ม” เพราะคำถามของโสเครตีสกระทบกระเทือนต่อธรรมเนียมประเพณี ในสายตามของผู้นำประเทศ เขาเป็นผู้ทำความผิดร้ายแรงฐานยุยงปลุกปั่นให้พวกคนหนุ่มก่อความไม่สงบ จึงตัดสินลงโทษประหารชีวิตด้วยการดื่มยาพิษชื่อเฮมล็อค เขาได้ให้คำตอบเกี่ยวกับเรื่องนี้ไว้ในบทสนทนาซึ่งเราได้เลือกมาให้คุณอ่าน เรารู้ความคิดโดยตรงของโสเครตีสน้อยมาก เพราะว่าเขาไม่ได้เขียนอะไรไว้ ลูกศิษย์ของเขาคือพลาโต (๔๒๗–๓๔๗ ปีก่อนคริสต์ศักราช)เป็นผู้ทำให้โสเครตีสไม่ตายโดยการเขียนชุดสนทนาที่แสดงถึงความเฉลียวฉลาดของโสเครตีสในฐานะที่เป็นนักพูดเอกในแต่ละบทสนทนา กรุงเอเธนในสมัยของโสเครตีสเป็นช่วงเวลาที่สำคัญสำหรับการเกิดปรัชญาและจิตวิญญาณแห่งประชาธิปไตย ถนนทุกสายของปรัชญามักจะมุ่งกลับไปที่กรุงเอเธน และในสมัยของเพลโต โสเครตีส และต่อไปนี้เป็นชุดบทสนทนาที่เพลโตเขียนให้เห็นถึงความคิดที่เฉลียวฉลาดของโสเครตีส เสนอให้พวกเราได้ศึกษา

คำถามสำคัญกว่าคำตอบหรือ?

ตามที่เพลโตได้แสดงรูปลักษณะนิสัยใจคอของโสเครตีสว่าเป็นเจ้าแห่งนักถามคำถามและดลใจให้เกิดการตอบสนองแบบวิเคราะห์วิจารณ์ เราเรียกลักษณะเช่นนี้ของปรัชญาว่า “วิธีการของโสเครตีส” หรือบางทีก็เรียกว่า “วิธีแห่งการสนทนา” แม้ว่าเขาคิดว่าเขาชี้ได้ว่าอะไรผิด ในการสนทนาเขา(โสเครตีส)ก็ไม่ได้ประกาศหรือแสดงความรู้ความฉลาดของเขา ส่วนมากเขาก็พูดว่าเขาได้ระมัดระวังความไม่รู้ของตนเอง(เขามักจะพูดว่าเขา

-------------------------

*พระมหากฤษณะ ตรุโณ รก.รองคณบดีบัณฑิตวิทยาลัย แปลจาก The Questions of Philosophy ของ John K. Roth, Frederick Sontag หน้า 1 – 22.

ไม่รู้) ในขณะที่คนอื่นทนงตนว่าเป็นผู้รู้ ชาวกรีกบางคนในสมัยโบราณ (ในปัจจุบันก็เหมือนกัน) มักประกาศตนว่าเป็น “คนฉลาด” แต่สำหรับโสเครตีส จิตวิญญาณทางปรัชญาของเขาเกิดขึ้นอยู่เสมอ แต่มักแสดงออกในลักษณะที่แสดงว่าเขาไม่ฉลาด คนที่เจริญรอยตามแนวปรัชญาของโสเครตีสก็มักไม่ประกาศว่าตนเองเป็นผู้มีความรู้แม้ในตอนจบสมบูรณ์ของบทสนทนา เกี่ยวกับจุดกำเนิดของปรัชญาของชาวกรีก “ปรัชญา” มีความหมายง่าย ๆ ว่า “ความรักในความฉลาด” ซึ่งขับเคลื่อนด้วยความรู้สึกแห่งความรัก เพลโตได้เขียนถึงคำอธิบายของโสเครตีสว่า คุณไม่มีทางได้ทุกอย่างที่คุณต้องการ หรือไม่ก็ความอยากไม่เกิดขึ้น คุณรู้ว่าคุณต้องการอะไร และรู้ว่าคุณไม่ได้ครอบครองมัน นั่นคือการระลึกรู้ซึ่งเป็นสิ่งพอเพียงในการสร้างความหวัง ถ้าคุณรู้ว่าคุณไม่ได้ครอบครองความฉลาด อย่างน้อยคุณก็รู้จักมันมากขึ้น นักปรัชญาทั้งหลายไม่สูญเสียความเป็นตัวของตัวเอง เขาจะครองความความเป็นกลางระหว่างความไม่รู้กับความฉลาด เพื่อที่จะรู้ว่าสิ่งที่เขาไม่รู้นั้นคืออะไร โดยความเป็นจริงก็คือรู้มากกว่าพวกที่ไม่รู้ข้อบกพร่องของตนเอง

ในบทสนทนาเรื่อง สารฉบับที่เจ็ด อันมีชื่อเสียงของเขา เพลโตได้บอกกับพวกเราว่า มันเป็นไปไม่ได้ที่จะจับความจริงในรูปแบบที่เขียนไว้ได้ เพื่อเสนอต่อคนอื่น ๆ ในฐานะที่เป็นประโยคสมบูรณ์

ถ้าฉันคิดมันอาจเป็นไปได้ว่าจะสามารถจัดการกับรายวิชา(เรื่อง)ในตำราหรือในการบรรยายในที่สาธารณะ อะไรคือความสำเร็จที่ดีกว่าที่เกิดขึ้นแล้วในชีวิตฉัน ซึ่งมีความยิ่งใหญ่มากไปกว่าการเขียนงานที่เป็นประโยชน์สำหรับมวลมนุษย์ และนำธรรมชาติของสรรพสิ่งออกเผยแผ่ให้มวลชนได้รับรู้

ความเข้าใจเกี่ยวกับปรัชญาไม่ได้มาจากทางนั้น(โดยส่วนเดียว) ความจริง(ของสรรพสิ่ง)ไม่ได้บรรจุอยู่ในรูปแบบที่ตายตัวและยื่นต่อให้คนใดคนหนึ่ง ต่อ ๆ ไปอีก

ความคุ้นเคยกับมันต้องมาจากการใช้เวลายาวนานในการสอนในรายวิชานั้นโดยเฉพาะ และเข้าใกล้มิตรภาพ เหมือนกับเปลวไฟใหญ่เกิดมาจากประกายไฟเล็ก ๆ มันสามารถสร้างวิญญาณขึ้นมาในทันที แล้วกลายมาเป็นสิ่งค้ำจุนตนเอง (๓๔๑ c – d, P. ๙๔) *

เพลโตมีความรู้สึกว่า ถ้าคุณต้องการเป็นนักปรัชญาคุณต้องผูกมัดผูกพันธ์อยู่กับการสนทนา นั่นคือ คุณต้องเรียนรู้ที่จะหากำไรจากการสนทนาโต้ตอบ การแสวงหาความรู้คือการดำเนินกิจการเกี่ยวกับฝูงชนส่วนรวม เราต้องการนำฝูงชนให้ปฏิบัติตนไปในทางที่ถูกต้องโดยใช้วิธีสนทนาโต้ตอบกับคนอื่น ๆ เราไม่ต้องการนำเขาไปในทางที่ผิด เมื่อเราพูดจาแลกเปลี่ยนซึ่งกันและกัน เราอาจยื่นภาพของความจริงให้กันและกันได้ ปรัชญาควรเป็นสิ่งที่เต็มไปด้วยการโต้ตอบ และความพยายามดิ้นรนตะเกียกตะกาย นี่คือใจความที่เพลโตพูดซ้ำแล้วซ้ำอีกในบทสนทนาจำนวนมากของเขา

ความคิดของเพลโตเกี่ยวกับพระเจ้าแผ่นดินนักปรัชญาและทัศนะเกี่ยวกับปรัชญา

บทสนทนาที่เป็นงานเขียนของเพลโตที่เป็นที่รู้จักกันมากที่สุดก็คือ เรื่องอุดมรัฐ ในบทสนทนานี้เขาเสนอทฤษฎีเกี่ยวกับการศึกษาและวิญญาณมนุษย์ให้เราทราบ แต่สิ่งสำคัญคือเขาเสนอคำอธิบายภาวะแห่งความคิด ในบทสนทนาทั้งหมดของเพลโตมักอธิบายที่เป็นการตอบคำถามที่ว่า ปรัชญาคืออะไร อยู่เสมอ โดยไม่สนใจว่าชื่อบทสนทนาจะเป็นอย่างไร เมื่อเขาบรรยายเรื่องอุดมรัฐ เพลโตได้จำกัดบทบาทของปรัชญาว่าควรเป็นอย่างไรและควรทำอย่างไร เพลโตรู้สึกว่า การดำเนินการทางการเมืองของรัฐกำลังล้มเหลวและกำลังดำเนินไปในทางที่ผิด เพราะว่าพวกผู้นำ(นักการเมืองยุคนั้น)ทั้งไม่ฉลาดและไม่แสวงหาความฉลาด เขาเกี้ยวกราดต่อคำตัดสินของนักปรัชญาทั้งหลาย แม้ว่าพวกเขาแสวงหาความฉลาด แต่เขาไม่ได้นำความรู้ไปสู่การปฏิบัติ เช่นเดียวกันพวกผู้นำ(นักการเมือง)มักเป็นพวกที่โง่บัดซบและไม่สนใจว่า ไม่มีใครฟังพวกเขาแล้ว กรุณาศึกษาสถานการณ์ต่อไปนี้ เพลโตยื่นข้อเสนอเพื่อแก้ความผิดทั้งสองของพวกผู้นำ(นักการเมือง)

จนกระทั่งนักปรัชญาทั้งหลายได้เป็นพระเจ้าแผ่นดิน หรือพระเจ้าแผ่นดินและเจ้าชายทั้งหลายของโลกมีจิตวิญญาณและพลังแห่งปรัชญา และความยิ่งใหญ่ทางการเมืองและความฉลาดมารวมอยู่ในคนเดียวกัน และคนธรรมดาสามัญซึ่งเป็นผู้สนับสนุนก็ถูกบังคับให้อยู่ข้างเดียวกันได้ พร้อมทั้งการคิดวิเคราะห์ที่ไม่มาจากความชั่วร้ายของเขาและไม่ได้มาจากเชื้อชาติผิวพรรณของมนุษย์ มีแต่ความคิดดีงามเช่นที่ฉันได้คิดไว้ และดังนั้นรัฐของเราจึงมีความเป็นไปได้ที่จะมีแต่ความเจริญรุ่งเรือง

การเป็นนักปรัชญานั้น เพลโตหมายถึง คุณมีความชอบในการแสวงหาความฉลาด คุณต้องการรู้ความจริง อย่างไรก็ตามไม่ใช่ทุกคนที่มีความรู้สึกเช่นนั้น หรือทำเช่นนั้น แต่เพลโตเชื่อว่า “ปรัชญาคือความรักในความฉลาดเป็นเรื่องที่มีความเป็นไปได้สำหรับคนจำนวนมาก” (วี, ๔๙๔, ๑ : ๗๕๔) ฉะนั้น คนส่วนใหญ่มักทำตัวเป็นพวกที่ทั้งไม่ชอบทั้งไม่เอาใจใส่ต่อพวกสนับสนุนคนฉลาด เช่นเดียวกับพวกที่ไม่ชอบการทำอะไรจริงจัง ในบทสนทนาเรื่อง”นิทานเปรียบเทียบกับถ้ำ” ในหนังสือเล่มที่เจ็ดแห่งอุดมรัฐพรรณาถึงการค้นหาความฉลาดซึ่งมักทำได้โดยการแสวงหาโดยลำพังคนเดียว เรารู้เรื่องนี้เพราะว่าการตั้งคำถามโดยไม่หยุดยั้งนั้นมักนำไปสู่แผนการที่จะหยุดการตั้งคำถามนั้น อย่างไรก็ตาม การนำไปสู่การตกลงกันด้วยสันตินั้น เป็นทัศนคติทางสังคมที่ดีกว่า

ในนิทานเปรียบเทียบเรื่องถ้ำนี้ เพลโตได้ฉายภาพให้เห็นชายหลายคนใช้ชีวิตอยู่ในถ้ำในฐานะนักโทษ พวกเขาถูกล่ามโซ่ ดังนั้นสิ่งที่เขาทำได้ก็คือจ้องดูเงาของตนเองที่เกิดจากแสงแล้วปรากฏที่ผนังถ้ำ พวกเขาไม่สามารถแม้จะหันหัวไปดูแสงซึ่งเป็นเหตุทำให้เกิดเงา และแล้วชายคนหนึ่งก็ได้รับการปล่อยตัว และสามารถหันมาดูที่เป็นเหตุทำให้เกิดเงา ซึ่งก่อนหน้านั้นเขาคิดว่ามันเป็นเพียงวัตถุจริง ๆ ชิ้นหนึ่งในโลก ต่อมาเขาถูกนำออกมาจากถ้ำมาสู่ที่มีแสงสว่าง เนื่องจากเขาอยู่ในที่มืดมาเป็นเวลานาน เขาได้คลานจากถ้ำมาเจอแสงสว่าง สิ่งแรกที่เขาได้รับคือความเจ็บปวด เมื่อเขาปรับตัวได้แล้วเขาสามารถมองดูดวงอาทิตย์ซึ่งเป็นแหล่งกำเนิดของแสงสว่างได้ เขาได้พบความสวยงามของมัน เขาดีใจและพอใจที่จะพักอยู่บนแผ่นดิน หมดความพยายามที่จะเพ่งดูแสงที่ทำให้โลกสว่างดังที่เขาค้นพบ อย่างไรก็ตามเขากลับเข้าไปในถ้ำเพื่อบอกกับเพื่อคนอื่น ๆ ว่า โลกของพวกคุณไม่เป็นจริงตามที่คุณคิด แต่พวกนักโทษไม่ใส่ใจกับคำของเขาและด่าเขาว่าเขานำความยุ่งยากมาให้ เขาไม่เป็นที่พอใจและถูกกล่าวหาว่าเป็นคนหลอกลวง เพราะเขาทำให้พวกนักโทษไม่พอใจเนื่องจากการที่เขาได้รายงาน(ได้บอก)เรื่องราวเกี่ยวกับโลกที่นักโทษไม่เคยเห็นไม่เคยทราบให้ได้เห็นได้ทราบ

ในสังคมเรา พวกเราจำนวนมากได้อาศัยอยู่ในถ้ำชนิดใดชนิดหนึ่ง เราอาจใช้ตัวอย่างนี้สำหรับคนที่ยังคงสูบบุหรี่และสนุกกับมัน แล้วก็มาเลิกมันเสีย หลักฐานทางการแพทย์และทางวิทยาศาสตร์ได้แสดงให้เห็นโดยทั่วไปแล้วว่าการสูบบุหรี่เป็นสาเหตุให้เกิดมะเร็ง ทั้งที่มีหลักฐานเช่นนี้เราก็ยังมีการปฏิเสธการหยุดสูบบุหรี่ เราไม่เอาใจใส่ต่อคนที่มาชวนให้เลิกสูบบุหรี่ หรือคนที่ไม่ชอบรัดเข็มขัดนิรภัยในรถยนต์ แม้มีสถิติพิสูจน์แล้วว่าเข็มขัดนิรภัยสามารถป้องกันการบาดเจ็บสาหัสได้ มนุษย์เราไม่ชอบคนที่มาบอกสิ่งที่ดีแก่ตน ส่วนใหญ่พวกเรามักจะต่อต้านสิ่งที่เป็นเหตุผล เป็นการถูกแน่นอนที่เพลโต้ได้พูดว่า “เราไม่ยอมรับความจริงในรูปแบบใด ๆ ทั้งนั้นในชีวิต ยกเว้นคนที่มีมาก่อนเรา ซึ่งเป็นแบบแห่งความบอดของผู้ยิ่งใหญ่ทั้งหลาย”

ความรักเป็นแหล่งกำเนิดและแรงขับเคลื่อนในปรัชญาใช่หรือไม่?

ในคำประกาศของเขาที่ว่า “นักปรัชญาทั้งหลายไม่ครอบครองความฉลาด” เพลโตได้แนะนำว่าความรักในความฉลาดเป็นสภาพกลาง ๆ วางอยู่ระหว่างความไม่รู้และฉลาดอย่างเหลือล้น นักปรัชญาทั้งหลายในโลกเรานี้เป็นผู้ซึ่งใช้ชีวิตอยู่ในระหว่างนามธรรมดังกล่าวแล้วคือระหว่างความไม่รู้และความฉลาดอย่างเหลือล้น เพราะอะไร? ถ้าเขาไม่ได้ครอบครองความฉลาดอย่างล้นเหลือแล้วเขาจะพยายามจะค้นหามันหรือไม่? คำตอบก็จะเป็นเช่นเดียวกันกับที่ได้อธิบายไว้แล้วว่า ทำไมพวกเขา(นักปรัชญา)พากันแสวงหาความฉลาดในที่แห่งเดียวกัน ชายหญิงบางคนมีความรู้สึกว่าได้พยายามเพื่อจะรู้ เพื่อจะได้เรียน เพื่อกำจัดความไม่รู้ แต่ถ้าคุณมีความติดใจโดยความอยากของคุณ คุณต้องมีความสุขุม อย่างไรก็ตามคุณก็พอมองเห็นได้ลาง ๆ ในสิ่งที่คุณต้องการรู้ ความรู้สึกถึงความพยายามแห่งความรักเป็นสิ่งที่บอกคุณได้ว่า คุณมีความหวังแว๊บขึ้นมาซึ่งเป็นสิ่งที่รักษาเยียวยาความไม่รู้ของคุณแล้ว แต่ถึงกระนั้นความรู้สึกหรือกิเลสก็ยังคงมีอยู่กับคุณตราบนานเท่านานเท่าวันที่คุณยังไม่ได้สิ่งที่คุณต้องการอย่างสมบูรณ์ ในแนวนี้แสดงให้เห็นว่า ความรักในความฉลาดได้ดึงคุณขึ้นสู่ระดับที่สูงขึ้นมา แทนที่คุณจะไปค้นคว้าหาและตอบคำถามตามแต่กิเลสหรือความต้องการแห่งความรักของคุณจะชักพาไป คุณพยายามยกคุณขึ้นมาจากความไม่รู้ เพลโตเชื่อว่าความรักคือความรักในความสวยงามเสมอ และไม่ใช่รักในสิ่งพิกลพิกาลทั้งสิ้น ดังนั้นเมื่อนักปรัชญารู้สึกตื่นเต้นในความรัก เขารู้ว่าเขานั้นมีความเข้าใจในบางสิ่ง สิ่งนั้นต้องเป็นความสวยงามบางอย่างซึ่งวางอยู่เบื้องหลังโลกสีทึม ๆ ที่เรามองเห็น

พระเจ้าไม่มั่วสุมกับคนทั่วไปแต่ส่งผ่านความรักของพระองค์มาสู่คนโดยอาศัยคน ไม่ว่าเวลาตื่นหรือหลับก็ยังคงเป็นอย่างนี้ตลอดไป ความรักของพระองค์เป็นไปโดยธรรมชาติ ไม่ว่าจะเป็นผู้มีอันต้องตายและผู้ไม่รู้จักตาย แต่ผู้มีชีวิตอยู่และเจริญสมบูรณ์ในทุกขณะเมื่อเขาอยู่ในกลุ่มคนจำนวนมากและตายในขณะต่อมาและเกิดอีกโดยเหตุผลก็คือมันเป็นธรรมชาติ เพราะฉะนั้นความรักก็คือนักปรัชญาหรือคู่รักของความฉลาดและเป็นคู่รักของความฉลาด ในอีกความหมายหนึ่งคือสิ่งที่อยู่ระหว่างความฉลาดและความไม่รู้ (๒๐๓-๔, ๑ : ๓๒๙)

อย่างไรก็ตาม พวกเราผู้ซึ่งจะต้องตายเป็นผู้ไม่เคยมีความสุขเลยแม้ขณะหนึ่ง สำหรับเรื่องความรักก็เป็นเพียงเรื่องชั่วคราว หรือการได้รับความรู้แต่ไม่จีรังยั่งยืน ความรักเป็นสิ่งที่ทำให้เกิดความงงงวยและเป็นเหตุให้เรามุ่งไปยังรายละเอียดของวัตถุแห่งความงาม ส่วนที่เป็นผลของมันก็คือเราได้ขึ้นบันไดในการค้นคว้าเรื่องความงามในตัวเอง(Beauty itself) เพลโตบรรยายถึง Beauty itself ในความหมายว่า something

ความงามเป็นสิ่งสมบูรณ์ เป็นสิ่งเรียบง่าย มีอยู่ตลอดไป ไม่มีเพิ่ม ไม่มีลด ไม่เปลี่ยนแปลง ดำรงอยู่ตลอดไป ผู้อยู่ภายใต้ความรักที่แท้จริงจะเข้าใจว่าความงามไม่ได้อยู่ห่างไกลจากจุดหมายเลย ความงามที่สมบูรณ์เป็นส่วนประกอบของสิ่งสวยงามอื่น ๆ

ชะตากรรมของนักรัก(นักปรัชญา) อยู่ระหว่างลิงโลด(ตื่นเต้น)และห่อเหี่ยวใจ นอกจากนั้นยังนำเราออกมาจากสิ่งสวยงามเชิงปัจเจกไปสู่สิ่งสวยงามในตัวเอง ความไม่อยู่ในเฉพาะสิ่งใดสิ่งหนึ่ง แต่เป็นสิ่งสากล ในแง่นี้ความรักคือผู้ช่วยของนักปรัชญา เพราะมันทำให้แสวงหาความจริงต่อและไม่ให้หยุดในการแสวงหาความจริง (๒๑๑, ๑ : ๓๓๕)

ความรักในความฉลาดจะนำเราไปไหน?

แน่นอน ไม่ใช่ทุกคนที่สามารถวาดภาพของปรัชญาได้อย่างเพลโตทำ เขายังคงเป็นครูที่ดีสำหับลูกศิษย์ในด้านปรัชญา เพราะเขาได้ค้นคว้าหาความฉลาด นั่นคือความรักดูเหมือนเป็นสิ่งที่เย้ายวนใจ แม้ว่าในที่สุดเราคิดเรื่องปรัชญาไปในแนวทางอื่นก็ตาม ในบทสนทนาของเขาชื่อ ฟีดรุส (Phedrus) เพลโตได้ตั้งคำถามขึ้นว่า ผลกระทบของความรักคืออะไร? ความรักทำอะไรให้กับเรา? คุณธรรมของความรักและความเสี่ยงของความรักคืออะไร? แนวการอธิบาย เพลโตได้บอกกับผู้อ่านเกี่ยวกับนิทานอภินิหารย์ที่เป็นคำประพันธ์ หรือนิทานเปรียบเทียบ (allegory) สิ่งสำคัญที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนี้อยู่ที่ไหน? เขามักพิจารณานิทานอภินิหารย์ และสัญลักษณ์ทำให้เป็นพาหะ(สื่อ)ที่เที่ยงตรงแน่นอนมากกว่าการพรรณาโดยตรงจะทำได้ ในคำสอนของพระเยซูก็ใช้นิทานเปรียบเทียบ(parables)มากกว่าการใช้ประโยคโดยตรงในการถ่ายทอดความจริงของพระองค์ ในสังคมของเราภาพยนตร์ก็ถ่ายทอดความประสงค์ของผู้สร้างภาพยนตร์ในทำนองเดียวกัน เช่นภาพยนตร์เรื่องกุหลาบสีม่วงแห่งไคโร(The Purple Rose of Cairo)ของวู๊ดดี้ อัลเลน(Woody Allen) เป็นนิทานเปรียบเทียบที่เห็นได้ชัดเจนแม้ว่ามันเป็นเรื่องที่แต่งขึ้น(fiction) มันก็ยังบอกเราในสิ่งที่เป็นจริงของสิ่งลวงตาลวงใจ (illusions) และความฝัน (dreams) แข่งกันกับความจริงในชีวิตเราและความไม่สดใสของชีวิต ภาพยนตร์สามารถบอกเราได้อย่างตรงไปตรงมาอย่างที่ถ้อยคำ(statement)บอกไม่ได้

นิทานอภินิหาร(Myth)ของเพลโตได้พรรณาถึงวิญญาณ(soul)เป็นเช่นสิ่งที่ครั้งหนึ่งมีปีกสองข้าง และท่องเที่ยวไปในจักรวาลทั้งหมด อะไรที่เราต้องเข้าใจเกี่ยวกับตัวเราเองในปัจจุบันของเรานี้ เพราะภาวะของอวิชชา (เพราะความไม่รู้ของเรา) จึงไม่รู้ว่า ทำไมปีกของวิญญาณจึงหลุดออกและหายไป

ปีกเป็นรูปธาตุซึ่งเป็นได้ทั้งของทิพย์และเกิดขึ้นได้ตามธรรมชาติ มีนิสัยชอบ(tends)ทะยานขึ้น(soar)สูงสู่สรวงสวรรค์(aloft)และเคลื่อนไปด้วยอำนาจความดึงดูดไปสู่ภาคพื้นเบื้องสูงซึ่งเป็นวิสัยแห่งพระเจ้าทั้งหลาย ความเป็นเทพเจ้า(divine)เป็นสิ่งสวยงาม(Beauty) เป็นความฉลาด (Wisdom) เป็นความดี (goodness)และเป็นความเหมือน (the like) และโดยประการนี้ ปีกของวิญญาณจึงเป็นสิ่งที่น่าถนอม และให้เกิดความก้าวหน้าไปเรื่อย แต่ความชั่ว(evil) และความลามก(foulness) และสิ่งที่ตรงข้ามกับความดีก็พลอยถูกเลี้ยงให้เจริญเติบโตไปด้วย จึงเป็นความสูญเสียและความต่ำทรามไปด้วย

ภายใต้อิทธิพลของความรัก เราเกิดมีปีกทั้งสองขึ้น เราเกิดขึ้นในเบื้องสูงเป็นเทวดา เราได้ขยายและพัฒนาประสบการณ์ใหม่ แต่ในความเป็นอยู่จริงของเรา เรามีความรู้สึกเกี่ยวกับการเกิดในสรวงสวรรค์น้อยมากแม้ว่าเราจะพยายามเพิ่มความรักในความฉลาดให้มากขึ้นและมองจุดหมายของชีวิตไว้ในสภาพที่สูงขึ้นกว่าธรรมดาของเราก็ตาม (P. ๖)

เพลโตได้วาด(อธิบาย)ให้เห็นวิญญาณในภาพของสารถีผู้ซึ่งขับรถเทียมด้วยม้าสองตัว สารถีเป็นผู้แทนของเหตุผลของเรา ม้าขาวแทนคุณสมบัติด้านความกล้าหาญ มันง่ายในการเป็นผู้ตามและนำ ส่วนม้าดำอีกตัวหนึ่งนั้นแทนความกระหายของพวกเราซึ่งดูแลยากและไม่อยู่ในการควบคุม สารถีซึ่งเป็นฝ่ายเหตุผลของเราได้พยายามทำให้ม้าทั้งสองทำงานประสานกัน ชั่วเวลาที่เขาสามารถทำได้เช่นนี้ วิญญาณก็ทะยานไปถึงสวรรค์และมองเห็นความงามในตัวเองของสิ่งต่าง ๆ และมองเห็นธรรมชาติที่แท้ของความจริง แต่เคราะห์ร้ายเหลือเกินที่ความปองดองกันเช่นนั้นเป็นไปได้ไม่ตลอด ในที่สุดม้าดำก็เริ่มดึงวิญญาณกลับสู่โลกเช่นเดียวกันกับการที่สารถีควบคุมม้าดำไม่ได้ แล้ววิญาณก็ถลาลงมาสู่โลกภายหลังจากนั้น ตามเนื้อนิทานของเพลโตที่กล่าวไว้ในฟีดรุส เราได้ใช้ชีวิตของเราอยู่บนโลกนี้เพื่อค้นหาวิสัยทรรศน์(vision) ที่เรามีในขณะที่เราอยู่ในเบื้องสูงในช่วงที่เกิดความกลมกลืน(harmony)อย่างสมบูรณ์ ความรักคือสิ่งที่นำเราในการพยายามตามหาวิสัยทรรศน์ที่ดีของเราที่หายไป

ความรักยังไม่ใช่ความสุขที่แท้เสมอไป ตัณหาสามารถขับพวกเราไปสู่ความบ้าได้ ซึ่งทำให้ปรัชญาเป็นการแสวงอันตราย ผู้ที่รักความงามอาจเป็นบ้าได้ เพราะเหตุนี้บางคนจึงกลายเป็นคนไม่มีเหตุผล อย่างไรก็ตามเพลโตคิดว่ามันทำให้เรามีค่าในขณะที่เราต้องเสี่ยงไปกับการชักนำของความรัก แม้ความรักมีพลังขับเคลื่อนเราไปสู่ฐานะอันสูงได้ หรือเป็นเหตุให้พวกเราเพิ่มพลังความเพียรอันยิ่งยวดออกมาอย่างผิดปกติ และเพลโตคิดว่าเราต้องทำความเพียรที่เหนือธรรมดาถ้าเรากำลังเรียนมาก เราไม่แน่ใจว่าเราจะพบที่ที่มีความรักในความฉลาด มันเป็นเพียงการเลือกของพวกเราไม่ยอมรับความเสี่ยงของความรักที่ตามมามันก็เหมือนเรายังถูกล่ามโซ่อยู่ในถ้ำ จ้องมองเงาที่ปรากฏอยู่บนผนังกำแพง ไม่ได้เรียนรู้ว่าเงาที่เรามองเห็นอยู่ตรงหน้านั้น ไม่ใช่ความจริง –นั่นคืออันตรายที่แท้จริง เราควรกลัว ไม่มีสิ่งที่เป็นไปได้ซึ่งขับโดยความรักเกิดขึ้น (ความรักอาจไม่ผลิตสิ่งใดขึ้นมาเลย) เราต้องเรียนรู้ที่จะไม่กลัวซึ่งนำไปโดยคำถามที่ไม่รู้จักจบสิ้น ในคำแรกของสองคำที่คัดลอกเขามาคือ คำว่า follow (ติดตาม) คุณจะเข้าใจได้โดยการอ่านนิทานเปรียบเทียบของเพลโตเรื่องถ้ำ (the cave) เป็นส่วนหนึ่งที่ยกมาจากหนังสือชื่ออุดมรัฐ (Republic) ในตอนที่โสเครตีสช่วยเพื่อนหนุ่มของเขาที่ชื่อ กลอคอน (Glaucan)ให้เข้าใจว่าอะไรคืออุปสรรคสำหรับการเข้าไปพัวพันความรู้ คำถามหรือการสืบสวนที่ปรากฏขึ้นชนิดนี้นำโสเครตีสเข้าไปสู่ปัญหาที่รุนแรง เช่นที่เพลโตแสดงไว้ในเรื่อง ขออภัย (Apology) ซึ่งเป็นแหล่งความรู้ บทที่สองของบทสนทนานี้ เพลโตแสดงให้เห็นถึงคำพูดของโสเครตีสที่แสดงต่อศาลซึ่งกล่าวหาเขาว่า เป็นพวกนอกรีต (atheism) และเป็นผู้ยุยงพวกคนหนุ่มของเอเธนให้ก่อความยุ่งเหยิงแก่ผู้ปกครอง โสเครตีสได้รับคำตัดสินให้ประหารชีวิตในคราวนั้น คุณคิดดูว่าคำพูดที่เป็นปรัชญาของโสเครตีสนำเขาไปสู่ความตายหรือไม่?

ข้อความต่อไปนี้คัดจากหนังสืออุดมรัฐ ที่ศาสตราจารย์ปรีชา ช้างขวัญยืนแปลจาก Republic ของพลาโต ข้อความมีดังนี้ “ต่อไป” ข้าพเจ้า(โสเครตีส)พูด “เปรียบเทียบดูธรรมชาติของเราเมื่อมีการศึกษาและเมื่อขาดการศึกษาในเรื่องต่อไปนี้ ลองวาดภาพคนซึ่งอาศัยอยู่ในที่คล้ายถ้ำใต้ดิน และทางที่ขึ้นมาสู่ปากถ้ำซึ่งแสงสว่างเข้าได้นั้นยาวมาก คนเหล่านี้ถูกล่ามขาและคอตั้งแต่ยังเด็กให้อยู่ในที่แห่งเดียว มองไปได้แต่ข้างหน้าเท่านั้นเพราะโซ่ที่รัดอยู่ทำให้เอี้ยวคอกลับมาไม่ได้ ต่อไปวาดภาพแสงสว่างซึ่งเกิดจากกองไฟที่อยู่เบื้องสูงและอยู่ห่างจากพวกเขาไปทางด้านหลัง ที่ระหว่างกองไฟกับคนโทษและที่สูงขึ้นไปนั้นมีถนนซึ่งมีกำแพงเตี้ย ๆ แล่นขนานไปด้วย เหมือนคนเชิดหุ่นมีที่กั้นอยู่ข้างหน้า และเชิดตัวหุ่นเหนือที่กั้นนั้น”

“ข้าพเจ้าเข้าใจ” เขา(โสเครตีส)พูด

“ลองวาดภาพดูต่อไปว่า มีกลุ่มคนเดินแบกเครื่องไม้เครื่องมือต่าง ๆ เดินผ่านไปตามกำแพงนั้น เครื่องมือเหล่านั้นชูสูงขึ้นมาเหนือกำแพง รวมทั้งมีรูปคนรูปสัตว์ที่ทำด้วยหินด้วยไม้และวัสดุอื่น ๆ คนที่แบกสิ่งเหล่านี้บ้างก็พูดบ้างก็เดินเงียบ ๆ “

“รูปที่ท่านให้วาดนี่แปลกดี เรื่องนักโทษก็แปลกเหมือนกัน” เขาพูด

“ก็เหมือนพวกเรานั่นแหละ” ข้าพเจ้าพูด ประการแรกท่านคิดว่าคนเหล่านี้จะได้เห็นอะไรเกี่ยวกับตัวเองหรือผู้อื่นนอกจากเงาที่ไฟส่องไปปรากฏบนผนังถ้ำเบื้องหน้าบ้างไหม”

“จะเห็นได้อย่างไรกันในเมื่อหัวถูกบังคับไม่ให้หันไปทางใดได้จนตลอดชีวิตอย่างนั้น”

“เรื่องวัตถุต่าง ๆ ที่มีผู้แบกผ่านเขาไปก็เหมือนกันใช่ไหม”

“ใช่”

“ถ้าหากเขาพูดกันได้ ท่านคิดว่าการที่เขาตั้งชื่อสิ่งที่เห็นก็เท่ากับตั้งชื่อวัตถุต่าง ๆ ที่ผ่านไปเหล่านั้นใช่ไหม”

“ต้องเป็นอย่างนั้น”

“และเมื่อคนที่ผ่านไปพูด ถ้าคุกสะท้อนเสียงจากผนังด้านตรงข้าม ท่านคิดว่าเขาจะคิดเป็นอื่นได้ไหม ถ้าไม่คิดว่าเงาที่ผ่านไปเหล่านั้นคือผู้พูด”

“ซุสเป็นพยาน ข้าพเจ้าคิดว่าไม่ได้” เขาพูด

“พวกคนโทษเหล่านั้นก็ย่อมจะถือว่าเงาของวัตถุที่ทำขึ้นเหล่านั้นคือความจริง”

“ต้องเป็นอย่างนั้น”

“ลองคิดดูซิว่าถ้าหากมีการแก้คนพวกนี้ให้หลุดจากพันธนาการและรักษาให้หายโง่จะเป็นอย่างไร เมื่อคนหนึ่งหลุดจากพันธนาการแล้วถูกบังคับให้ยืนขึ้นโดยทันที่ และให้หันไปรอบ ๆ แล้วเดินแหงนหน้ามองดูแสงไฟ ในการทำเช่นนี้เขารู้สึกทุกข์ทรมานเพราะความมึนงงและแสงไฟแว๊บว้าบ ไม่อาจมองเห็นวัตถุอันเป็นที่เกิดเงาซึ่งเขาเห็นอยู่ก่อนได้ชัด ท่านคิดว่าเขาจะตอบว่าอย่างไรถ้ามีคนมาบอกว่าที่เขาเป็นอยู่ก่อนนั้นเป็นของไม่จริง แต่ตอนนี้เขาเข้ามาอยู่ใกล้ความจริงจึงเห็นสิ่งที่จริงกว่า และถ้าใครคนนั้นชี้ให้เขาดูที่วัตถุที่ผ่านไปและถามให้เขาตอบว่าคืออะไร ท่านไม่คิดดอกหรือว่าเขาจะงงและจะถือว่าสิ่งที่เคยเห็นมาก่อนนั้นจริงกว่าสิ่งที่ชี้ให้เขาดูในขณะนั้น”

“จริง”

“และหากเขาถูกบังคับให้มองดูแสง แสงนั้นจะไม่ทำให้เขาปวดตาหรือ และเขาจะไม่หันหนีและกลับไปมองสิ่งที่เขาเห็นได้ชัดและถือว่าชัดยิ่งกว่าวัตถุที่ชี้ให้ดูนั้นหรือ”

“ย่อมจะเป็นเช่นนั้น”

“และถ้ามีใครลากตัวเขามาตามทางขึ้นซึ่งขรุขระและชัน บังคับเขาไว้มิให้หลบไปไหนได้จนออกมาเห็นแสงอาทิตย์ แสงที่ส่องเต็มตาจะทำให้เขามองสิ่งที่เราถือว่าเป็นจริงไม่เห็นเลยสักอย่างเดียวใช่ไหม”

“ไม่เห็น อย่างน้อยก็ในทันที” เขาพูด

“เมื่อเป็นดังนี้ก็ต้องหัดเขาให้ชินเพื่อจะได้มองเห็นสิ่งที่อยู่สูงขึ้นไปได้ ตอนแรกสิ่งที่เขาเห็นได้ง่ายที่สุดก็คือเงา หลังจากนั้นก็ให้ดูภาพเหมือนหรือภาพสะท้อนของคนและสิ่งต่าง ๆ ในน้ำ แล้วก็ให้ดูสิ่งนั้น ๆ เลยทีเดียว จากนี้เขาก็จะเห็นสิ่งที่เกิดในสรวงสวรรค์และเห็นสรวงสวรรค์ในเวลากลางคืนได้ง่ายขึ้น โดยดูแสงดาวและแสงจันทร์ แทนที่จะดูดวงอาทิตย์และแสงอาทิตย์ตอนกลางวัน”

“จริง”

“และในที่สุดเขาก็จะสามารถมองดูดวงอาทิตย์และเห็นลักษณะที่แท้ของดวงอาทิตย์ได้ มิใช่ด้วยการดูเงาในน้ำหรือภาพสะท้อนที่ปรากฏในสิ่งใด แต่ดูดวงอาทิตย์ซึ่งอยู่ประจำตำแหน่งนั้นโดยตรงเลยทีเดียว”

“ต้องเป็นอย่างนั้น”

“มาถึงตอนนี้คนผู้นั้นก็จะคิดต่อและสรุปได้ว่าดวงอาทิตย์นั่นเองที่ทำให้เกิดฤดูและปี เป็นประธานของสิ่งทั้งปวงในโลกที่เห็นได้ด้วยตา และเป็นที่มาของสิ่งที่พวกเขาได้เห็น”

“ขั้นต่อไปจะต้องเป็นเช่นนั้นแน่” เขาพูด

“ทีนี้ถ้าเขารำลึกถึงที่ที่เคยอยู่มาก่อนและปัญญาที่ใช้ในที่นั้น รวมทั้งพวกคนโทษที่เป็นพรรคพวกของเขาด้วย ท่านไม่คิดดอกหรือว่าเขาจะถือว่าตนเองเป็นผู้มีความสุขที่ได้เปลี่ยนแปลงอย่างนี้และสงสารพวกนั้น”

“ก็ย่อมจะเป็นอย่างนั้น”

“และถ้าในที่นั้นมีการยกย่องและสรรเสริญกัน มีการให้รางวัลแก่คนที่จำเงาซึ่งผ่านไปได้และจำได้ว่ารูปไหนผ่านไปก่อน รูปไหนไปทีหลัง รูปไหนไปพร้อม ๆ กัน และเดาได้เก่งที่สุดว่าต่อไปรูปไหนจะผ่านมา ท่านคิดว่าเขาจะอยากได้รางวัลนั้นและจะอิจฉาผู้ที่คนโทษเหล่านั้นยกย่องและแต่งตั้งให้เป็นนาย หรือเขาจะรู้สึกอย่างเดียวกับโฮเมอร์ และยินดีจะอยู่เป็นทาสของผู้อื่นบนพื้นโลก เป็นคนไม่มีที่ทำกินของตนเอง และต้องทนทุกสิ่งทุกอย่างยิ่งกว่าจะไปมีความเห็นร่วมกับพวกนั้นและมีชีวิตอยู่แบบนั้น”

“ถูกแล้ว” เขาพูด “ข้าพเจ้าคิดว่าเขาจะยอมทนทุกอย่างดีกว่าอยู่อย่างนั้น”

“ลองคิดดูอย่างนี้อีกซิ ถ้าหากคนผู้นั้นกลับลงไปและไปอยู่ ณ ที่เดินของตนอีก ตาของเขาจะมองไม่เห็นอะไรเลยเช่นเดียวกับเมื่อโผล่ขึ้นมาเห็นแสงอาทิตย์ในทันทีทันใดไช่ไหม”

“ใช่”

“และถ้าเขาต้องไปแข่งขันทายเงากับคนโทษเหล่านั้นในขณะที่ตายังพร่าอยู่ยังไม่ชินกับความมืด และกว่าจะทำให้ตาชินได้ก็ต้องใช้เวลานาน เขาจะไม่ถูกหัวเราะเยาะ และคนเหล่านั้นจะไม่พากันกล่าวหรือว่าเขาเดินทางขึ้นไปข้างบนมาจึงทำให้ตาเสีย จึงไม่ควรพยายามที่จะขึ้นไป และถ้าทำร้ายและฆ่าผู้ที่ปล่อยพวกเขาได้ท่านคิดว่าเขาจะไม่ฆ่าหรือ”

“ฆ่าแน่” เขาพูด

“โกลคอนที่รัก ภาพนี้แหละที่เราต้องนำมาใช้กับสิ่งที่พูดมาแล้วทั้งหมด ที่ตั้งของคุกเทียบได้กับโลกที่เห็นได้ด้วยจักษุประสาท แสงจากกองไฟในที่นั้นเทียบได้กับอำนาจของดวงอาทิตย์ และถ้าท่านถือว่าการขึ้นมาข้างบนและรู้เห็นสิ่งต่าง ๆ ข้างบนก็คือการที่วิญญาณไต่ขึ้นไปหาโลกของปัญญา ท่านก็เข้าใจความคิดของข้าพเจ้าไม่ผิดหรอก เพราะท่านก็อยากจะได้ยินเช่นนั้นอยู่แล้ว เทพเจ้าเท่านั้นที่รู้ว่าจริงหรือไม่ แต่ที่ข้าพเจ้าฝันเห็นก็คือสิ่งที่จะเห็นเป็นสิ่งสุดท้าย และเป็นสิ่งที่เห็นได้ยากในโลกของสิ่งที่เราจะรู้ได้ก็คือแบบแห่งความดี และเมื่อเห็นแล้วก็จะต้องสรุปว่าสิ่งนี้คือที่มาของสิ่งทั้งปวงที่ถูกต้องและสวยงาม ให้แสงสว่างและต้นกำเนิดแห่งแสงสว่างแก่โลกที่เห็นได้ด้วยตา และเป็นที่มาของความจริงและเหตุผลในโลกที่รู้ได้ด้วยปัญญา ใครก็ตามที่กระทำการอย่างฉลาดทั้งในที่ลับและที่แจ้งจะต้องมองเห็นสิ่งนี้”

“ข้าพเจ้ายอมรับ” เขาพูด “เท่าที่เข้าใจ”

“ถ้าอย่างนั้นก็มาช่วยข้าพเจ้าคิดต่อไป และอย่าแปลกใจที่คนซึ่งขึ้นมาสูงถึงระดับนี้แล้วไม่เต็มใจจะเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับเรื่องของมนุษย์ แต่วิญญาณของเขานั้นจะกระตือรือร้นที่จะไปอยู่ในที่อันสูงกว่า เรื่องนี้ก็เหมือนกับภาพที่เราวาดขึ้นไว้อีกเหมือนกัน”

“ถูกแล้ว เหมือน”

“ทีนี้ ท่านจะคิดว่าเป็นเรื่องแปลกหรือ ถ้าคนที่กลับจากการไปรู้สิ่งอันเป็นเทพสมบัติมาสู่เรื่องมนุษย์สมบัติถูกเหยียดหยามและหัวเราะเยาะ เพราะตาเขายังพร่าอยู่ และยังไม่ชินกับความมืดรอบ ๆ ตัว ถูกบังคับให้สู้คดีในศาลหรือแข่งขันกัน ณ ที่ใดที่หนึ่งในเรื่องเงาของความเที่ยงธรรมหรือเรื่องรูปภาพที่ทำให้เกิดเงา และต้องมาโต้แย้งว่าสิ่งเหล่านี้มนุษย์ผู้ไม่เคยรู้จักความเที่ยงธรรมที่แท้จะเข้าใจได้อย่างไร”

“ไม่แปลกเลย” เขาพูด

“แต่ถ้าเป็นคนฉลาด ก็ย่อมจำได้ว่า เหตุที่ทำให้ตาพร่านั้นมีอยู่สองประการคือ จากการอยู่ในที่สว่างแล้วกลับเข้าที่มืด หรืออยู่ในที่มืดแล้วออกไปสู่ที่สว่าง และเชื่อว่าวิญญาณก็เป็นอย่างนี้เช่นกันเมื่อเห็นว่าวิญญาณมีความทุกข์และไม่สามารถรู้อะไรบางอย่างได้เขาย่อมจะไม่หัวเราะโดยไม่คิดก่อน แต่จะต้องพิจารณาว่าเราเคยอยู่สว่างแล้วมาตาพร่าลงเพราะความมืด หรือว่าเคยมืดมัวด้วยความเขลาแล้วมาสู่โลกอันสว่างไสวจึงทำให้ตาพร่าย่อมจะถือว่าคนหนึ่งนั้นมีชีวิตที่มีความสุขและสงสารอีกคนหนึ่ง ถ้าเขาเกิดความขบขันก็จะหัวเราะน้อยกว่าที่หัวเราะวิญญาณซึ่งลงมาจากที่อันสว่างเบื้องบน”

“ที่พูดมานั้นน่าฟังมาก” เขาพูด

“ถ้าเรื่องนี้เป็นจริง เราก็ต้องมีความเห็นว่าการศึกษาที่แท้นั้นมิใช่สิ่งที่มีอยู่ในอาชีพของคนบางพวกดังที่เขาอ้างกัน ที่เขาอ้างนั้นเขาว่าสามารถเอาความรู้ที่แท้จริงใส่เข้าไปในวิญญาณซึ่งไม่มีความรู้ได้ดังหนึ่งเอาจักษุประสาทมาใส่ตาที่บอดแล้วได้”

“เขาว่าอย่างนั้นจริง” เขาพูด

“แต่ตามเหตุผลของเราในตอนนี้ว่าอำนาจดังกล่าวอยู่ในวิญญาณของแต่ละคน และเครื่องมือที่แต่ละคนใช้เรียน เช่น ตาไม่อาจหันจากที่มืดเข้าหาแสงสว่างได้ เว้นแต่จะหันทีเดียวทั้งตัว ต้องหันจากสิ่งซึ่งมีเกิดมีสลายไปพร้อม ๆ กับที่วิญญาณหันไปด้วย เหมือนการเปลี่ยนฉากในโรงละคร จนกว่าวิญญาณจะสามารถทนมองสารัตถะ และความสว่างอันจ้าที่สุดของสัตได้ และสัตที่ว่านั้นก็คือความดีใช่ไหม “

----------------------------

เพื่อน ๆ ชาวเอเธนส์ทั้งหลาย มีหลายเหตุผลที่ใช้อ้างว่า ทำไมข้าพเจ้าจึงไม่เศร้าโศก ในการลงคะแนนเสียงของคณะลูกขุน(คณะตุลาการที่ตัดสินประหารชีวิต) ข้าพเจ้าได้คาดหมายไว้ และก็ประหลาดใจที่คะแนนเสียงทั้งสองฝ่ายเกือบเท่ากัน สำหรับข้าพเจ้าได้คิดว่า ส่วนใหญ่ลงคะแนนต่อต้านข้าพเจ้าซึ่งมีจำนวนมากกว่า แต่บัดนี้ข้าพเจ้าเห็นว่าคะแนนเกินกันอยู่เพียง ๓๐ คะแนนเท่านั้น ข้าพเจ้าควรได้รับการปล่อยตัวให้พ้นผิด และข้าพเจ้าอาจพูดว่า ข้าพเจ้าคิดว่าได้หลบหนีจากเมเลตุส(Meletus) ข้าพเจ้าอาจพูดมากเกินไป พร้อมทั้งปราศจากการช่วยเหลือของอนีตุสและไลคอน(Anytus and Lycon) ใคร ๆ ก็อาจเห็นว่า เขาไม่ได้คะแนนในส่วนที่ ๕ ของการลงคะแนนอย่างที่กฎหมายกำหนด ในกรณีเช่นนี้เขาต้องถูกปรับเป็นเงิน ๑,๐๐๐ แดร๊กเมียร์ (drachmae)

และดังนั้นเขาต้องได้รับคำตัดสินให้ประหารชีวิต และอะไรที่ข้าพเจ้าจะเสนอ เพื่อน ๆ ชาวเอเธนส์ทั้งหลาย ได้โปรดชำระคดีของข้าพเจ้าให้กระจ่าง และอะไรคือความยุติธรรมของข้าพเจ้า สิ่งที่คนผู้ไม่เคยรู้จักความเกียจคร้านเลยในชีวิตจะได้รับคืออะไร แต่เขามีความสะเพร่าเกี่ยวกับการรักษาความมั่งคั่ง และสะเพร่าต่อรายรับของครอบครัว และสะเพร่าต่อหน่วยงานทหาร และสะเพร่าต่อการพูดในที่ประชุม และสะเพร่าต่อพนักงานผู้ปกครอง และสะเพร่าต่อแผ่นดิน และสะเพร่าต่อพรรคการเมืองต่าง ๆ การกระทำต่าง ๆทั้งหมดนั้น เป็นเพราะข้าพเจ้าซื่อสัตย์มากเกินไปต่อนักการเมืองและต่อความเป็นอยู่ ข้าพเจ้าไม่ได้ไปในที่ที่สามารถไปได้ซึ่งไม่เป็นผลดีต่อผู้อื่นและตัวข้าพเจ้า แต่ข้าพเจ้าได้ทำดีที่สุดทั้งในเรื่องส่วนตัวและเรื่องส่วนรวมในทุกหนทุกแห่งที่ข้าพเจ้าได้ไป ค้นหาเพื่อชักชวนแนะนำทุกคนแม้ในกลุ่มพวกท่าน ให้มองดูตนเองและแสวงหาคุณธรรม และแสวงหาความฉลาดก่อนที่จะมองไปที่รายได้ของตนเอง และดูรัฐก่อนที่จะดูรายรับของรัฐ และนั่นเป็นเช่นแนวทางเพื่อดำเนินไปสู่การปฏิบัติ เราควรจะทำอย่างไรต่อเรื่องเช่นนั้น เพื่อน ๆ ชาวเอเธนส์ทั้งหลาย ไม่ต้องสงสัยในสิ่งที่ดี ถ้าเขาได้รับรางวัล คนทำดีแล้วได้รับรางวัลย่อมเป็นการสมควรต่อเขา และรางวัลอะไรจะเหมาะสมกับคนจนผู้ซึ่งเป็นผู้มีพระคุณต่อพวกท่าน และผู้ที่อยากได้ความหรูหราสะดวกสบาย ซึ่งพวกคนจนอาจแนะนำคุณได้หรือ?

บางทีพวกท่านอาจคิดว่าข้าพเจ้ายั่วยุท่านด้วยสิ่งที่ข้าพเจ้ากำลังพูดอยู่ในขณะนี้ เช่นเดียวกับสิ่งที่ข้าพเจ้าได้พูดมาก่อนหน้านี้แล้วเกี่ยวกับน้ำตาและนักสวด แต่ในที่นี้ไม่เป็นเช่นนั้น ข้าพเจ้าพูดเพราะว่าข้าพเจ้าถูกตัดสินว่าผิด โดยที่ข้าพเจ้าไม่เคยตั้งใจทำความผิดแก่ใคร ๆ แม้กระนั้นข้าพเจ้าก็ไม่สามารถตัดสินว่าท่านผิด เวลาช่างน้อยเหลือเกิน ถ้าเมืองเอเธนมีกฎหมายเช่นกับที่เมืองอื่น ๆ เขามี ซึ่งจะเป็นสาเหตุสำคัญที่จะไม่ตัดสินเรื่องต่าง ๆ ภายในวันเดียวแล้ว ข้าพเจ้าเชื่อว่าข้าพเจ้าสามารถตัดสินว่าท่านเป็นผู้ผิดได้ แต่ข้าพเจ้าไม่สามารถหยุดการให้ร้ายอันเจ็บแสบนี้ได้ และเช่นกับที่ข้าพเจ้าได้ตัดสินว่า ข้าพเจ้าไม่เคยทำผิดต่อใคร ๆ ข้าพเจ้าจะให้ความมั่นใจว่า ข้าพเจ้าไม่ได้ทำผิดแม้ต่อตนเอง ข้าพเจ้าจะไม่พูดเรื่องของตนเองว่าข้าพเจ้าสมควรได้รับความชั่วร้ายนี้ หรือไม่ควรได้รับการลงโทษใด ๆ ทำไมข้าพเจ้าจึงควรเป็นเช่นนั้น ? เพราะข้าพเจ้ากลัวต่อการลงโทษประหารชีวิตซึ่งดำเนินการโดยกลุ่มเมเลตุส(Meletus) หรือ? เมื่อข้าพเจ้าไม่รู้ว่าความตายดีหรือร้าย ทำไมข้าพเจ้าจึงต้องถูกลงโทษประหารชีวิตโดยวิธีการชั่วร้ายเช่นนั้น? ข้าพเจ้าจะขอเป็นจำคุกได้ไหม? และทำไมข้าพเจ้าต้องอยู่ในคุก และเป็นทาสของพนักงานปกครองเป็นเวลาถึง ๑๑ ปี? หรือว่าการลงโทษน่าจะเป็นการปรับไหม และให้จำคุกจนกว่าจะจ่ายค่าปรับครบจำนวน? มีคำคัดค้านเหมือนกัน ข้าพเจ้าควรได้นอนในคุก สำหรับเงินนั้น ข้าพเจ้าไม่มี และไม่สามารถจ่ายได้ และถ้าข้าพเจ้าพูดถึงการเนรเทศ และนี่บางทีอาจเป็นการลงโทษที่พวกคุณจะนำเสนอในภายหลัง ข้าพเจ้าต้องเป็นคนตาบอดจริง ๆ ด้วยความรักชีวิต ถ้าข้าพเจ้าเป็นคนปราศจากเหตุผลเช่นที่พวกคุณซึ่งเป็นเพื่อนของข้าพเจ้าคาดหวัง เหตุเพราะไม่สามารถอดทนต่อข้อความบทสนทนาและคำพูดของข้าพเจ้า และได้พบว่าพวกเขากำลังทุกข์โศกมากและน่ารังเกียจซึ่งพวกคุณไม่เคยเห็นมาก่อนและอื่น ๆเช่น ไม่สามารถอดทนต่อข้าพเจ้า (ข้าพเจ้าเชื่ออย่างไร ก็จะยืนยันว่าเชื่ออย่างนั้น ไม่เปลี่ยนแปลงความเชื่อเพราะกลัวตาย หรือเพราะรักชีวิต ถ้าเปลี่ยนความเชื่อก็เป็นการกระทำที่ไร้เหตุผลของข้าพเจ้า) ไม่เลย เพื่อน ๆ ชาวเอเธนส์ทั้งหลาย เรื่องต่าง ๆ ย่อมไม่เป็นเช่นนั้นแน่นอน และข้าพเจ้าควรนำชีวิตไปอย่างไร ตลอดอายุของข้าพเจ้าที่ผ่านมา ข้าพเจ้าได้เดินทางจากเมืองสู่เมือง เคยเปลี่ยนแปลงที่อยู่และถูกขับไล่เสมอ ข้าพเจ้าค่อนข้างแน่ใจแล้วว่าในที่ไหน ๆ ที่ข้าพเจ้าไป จะเป็นที่นั่นหรือที่นี่ พวกคนหนุ่มจะมาห้อมล้อมข้าพเจ้า และถ้าข้าพเจ้าไล่เขาไป พวกพ่อแม่ผู้ปกครองของเขาก็มาไล่ข้าพเจ้าหนี และถ้าข้าพเจ้าอนุญาตให้พวกเขาเข้ามาห้อมล้อม พวกพ่อและเพื่อนของพ่อเขาก็จะมาไล่ข้าพเจ้าหนีจากกลุ่มเด็กหนุ่มเหล่านั้น

บางคนจะพูดว่า ใช่แล้ว โสเครตีส คุณไม่สามารถรักษาคำพูดของคุณได้ และแล้วคุณอาจจะหนีไปต่างประเทศและจะไม่มีใครรบกวนคุณอย่างนั้นหรือ? ข้าพเจ้าลำบากมากที่จะทำให้คุณเข้าใจโดยการตอบคำถามนี้ สำหรับเรื่องนี้ข้าพเจ้าของบอกกับพวกคุณว่า เช่นเดียวกับที่คุณพูดว่า คุณจะไม่เชื่อในพระเจ้า และเพราะเหตุนั้นข้าพเจ้าจึงไม่สามารถรักษาคำพูดของตนได้ พวกคุณจะไม่เชื่อว่าข้าพเจ้าเครียดมาก และถ้าข้าพเจ้าพูดข้อความเกี่ยวกับคุณธรรมซ้ำแล้ซ้ำอีกในทุก ๆ วัน และอีกอย่างหนึ่งเกี่ยวกับสิ่งที่คุณได้ยินจากข้าพเจ้า การไตร่สวนตัวข้าพเจ้าและผู้อื่นเป็นเรื่องที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของมนุษย์ และการไม่ไตร่สวนชีวิต ชีวิตนั้นก็ไม่มีค่าสำหรับการเป็นอยู่ พวกคุณก็ยังมีความเชื่อในตัวข้าพเจ้าน้อยมาก แม้ข้าพเจ้าได้พูดว่าอะไรถูกต้อง สิ่งเหล่านี้ก็เป็นเรื่องยากที่จะชวนให้พวกคุณเชื่อ และข้าพเจ้าไม่เคยคิดทำร้ายใครให้เป็นทุกข์ ถ้าข้าพเจ้ามีเงินข้าพเจ้าก็จะจ่ายให้มากที่สุดเท่าที่จะจ่ายได้ และเรื่องมันก็จะไม่เลวร้ายลงไป แต่ข้าพเจ้าไม่มี ข้าพเจ้าจึงต้องขอร้องพวกคุณให้กะจำนวนค่าปรับให้พอสมควรแก่ข้าพเจ้า เอาหละ บางทีข้าพเจ้าอาจบริจาคให้พวกท่านได้สัก ๑ มินา(mina) เพราะฉะนั้นข้าพเจ้าจึงถูกเสนอให้ดื่มยาพิษเป็นการลงโทษ(ประหารชีวิต) บรรดาเพื่อนของข้าพเจ้า เช่น พลาโต(Plato) คริโต (Crito)คริโตบูลัส(Critobulus) และอพอลโลโดรัส(Apollodorus) ต่างก็อยู่ในที่นี่บอกให้ข้าพเจ้าพูดถึงเงินจำนวน ๓๐ มินา และเขาจะเป็นนายประกันให้ ข้าพเจ้าขอเปลี่ยนจากการจ่ายเงินเป็นการถูกลงโทษ เงินจำนวนเท่าไรสำหรับพวกคุณ จึงจะพอคุ้มครองป้องกันข้าพเจ้าได้

มีเวลาเหลืออีกไม่มากแล้ว โอ…ชาวเอเธนส์ทั้งหลาย การกลับมาของความชั่วร้ายซึ่งคุณจะต้องทราบว่า คุณจะได้จากผู้กล่าวหา(คือโจทก์)ของเมืองนี้ ผู้ซึ่งจะพูดกับคุณว่าโสเครตีสชายผู้ฉลาดถูกฆ่าแล้ว สำหรับพวกเขาจะเรียกข้าพเจ้าว่าเป็นผู้ฉลาดแม้ว่าข้าพเจ้าจะไม่เป็นผู้ฉลาด เมื่อเขาต้องตำหนิคุณ ถ้าคุณคอยสักขณะหนึ่ง ความปรารถนาของคุณก็จะสำเร็จตามขั้นตอนทางธรรมชาติ สำหรับข้าพเจ้ามีความคิดก้าวหน้าไปหลายปี ดังที่คุณได้ทราบแล้ว และไม่ไกลจนพ้นจากความตาย ที่ข้าพเจ้ากำลังพูดอยู่นี้มิใช่พูดกับพวกคุณทั้งหลาย แต่พูดกับคณะผู้ตัดสินให้ข้าพเจ้าตาย และข้าพเจ้ามีเรื่องอื่นอีกที่จะพูดกับพวกเขาเหล่านั้น พวกคุณคิดว่าข้าพเจ้าถูกลงโทษเพราะว่าข้าพเจ้าไม่มีคำพูดใดที่จะทำให้เจ้าหน้าที่ปล่อยตัวให้พ้นผิด ข้าพเจ้าหมายความว่า ถ้าข้าพเจ้าคิดแค่ว่าจะเอาชีวิตรอดไปวัน ๆ ข้าพเจ้าก็จะไม่ทำอะไร ไม่พูดอะไร ดังนั้นข้อบกพร่องที่ทำให้ข้าพเจ้าถูกลงโทษคือ ไม่มีคำพูดแก้ต่าง –แน่นอน คือไม่มีจริง ๆ แต่ข้าพเจ้าไม่ใช่ผู้กล้า หรือผู้อวดดี หรือแกล้งเฉเพื่อพูดกับคุณ เช่นกับคุณต้องการให้ข้าพเจ้าทำเช่นนั้น การร้องไห้ การโอดครวญ การโศกเศร้าเสียใจ และการพูดการกระทำหลายสิ่งหลายอย่างที่พวกคุณได้ยินได้ฟังจากคนอื่น ๆ จนชินชา และถ้าข้าพเจ้าทำตามอย่างนั้น ข้าพเจ้าก็ไม่มีค่าอะไร ข้าพเจ้าได้คิดในเวลานั้นว่า ข้าพเจ้าจะไม่ทำการใด ๆ ให้ผิดธรรมดาหรือผิดแปลกไปในขณะอยู่ในอันตราย และไม่เสียใจในรูปแบบการต่อสู้ของตน แม้ว่าข้าพเจ้าจะตายก็ขอพูดในแบบและลักษณะของตนเอง ยังดีกว่าพูดในแบบของท่านแล้วมีชีวิตรอด ไม่ว่าจะเป็นในการสงครามหรือการต่อสู้ทางกฎหมาย ควรหรือที่ข้าพเจ้าหรือใคร ๆ จะหลีกพ้นความตาย บ่อยครั้งที่นักรบต้องเสียแขนเสียขาก่อนเพื่อนนักรบคนอื่น ๆ เขาอาจจะรอดจากความตาย และในอันตรายอย่างอื่น ก็มีหลายทางที่จะรอดพ้นจากความตาย ถ้ามนุษย์ประสงค์จะพูดหรือจะทำอะไรก็ได้ทั้งนั้น เพื่อน ๆ ทั้งหลาย ความยากไม่ได้อยู่ที่การหลีกเลี่ยงความตาย แต่เป็นการหลีกเลี่ยงความไม่ถูกต้อง ความไม่ยุติธรรม (ความอธรรม) ซึ่งมันมักจะมาถึงเราเร็วกว่าความตาย ข้าพเจ้าเป็นคนมีอายุและเคลื่อนไหวได้ช้า และนักวิ่งที่วิ่งช้ากว่านักวิ่งคนอื่น ๆ ยังวิ่งชนะข้าพเจ้าได้ และผู้กล่าวหาข้าพเจ้านั้นเป็นคนฉลาดและรวดเร็ว และเป็นนักวิ่งเร็วที่ไร้ความยุติธรรม เป็นผู้ได้รับชัยชนะ และข้าพเจ้าต้องตายไปเพราะการตัดสินของพวกคุณให้มีการลงโทษถึงประหารชีวิต พวกคุณก็ตัดสินไปตามทัศนะของตน ทำให้เกิดความเจ็บปวดเพราะการลงโทษของคนชั่วร้ายเลวทรามและอยู่ในฝ่ายผิด และข้าพเจ้าต้องทนคอยฟังคำตัดสินนั้น ข้าพเจ้าถือว่าเรื่องนี้แสดงให้เห็นถึงความล้มเหลวของระบบการตัดสิน และข้าพเจ้าคิดว่าทุกสิ่งทุกอย่างจะดีขึ้นได้

และบัดนี้ เพื่อนมนุษย์ทั้งหลายผู้ซึ่งตัดสินข้าพเจ้า ข้าพเจ้าจำต้องกล่าวคำทำนาย(สาปแช่ง)ต่อท่านว่า สำหรับข้าพเจ้าเกี่ยวกับเรื่องความตายนั้น เป็นชั่วโมงที่คนตายได้รับพรสวรรค์ด้วยพลังแห่งการทำนาย และข้าพเจ้าขอให้คำทำนาย(สาปแช่ง)ต่อท่านผู้เป็นฆาตกรของข้าพเจ้าว่า ทันทีที่ข้าพเจ้าตายเพราะการลงโทษนี้ ท่านจงได้รับผลกระทบเป็นโทษหนักกว่าข้าพเจ้ายิ่งนัก ข้าพเจ้ามั่นใจว่าจะคอยท่านอยู่ ขอให้คุณถูกฆ่าเพราะคุณต้องการหนีจากการเป็นผู้กล่าวหา(โจทก์) และไม่ต้องการให้มันอยู่ในประวัติชีวิตของคุณ และมันจะไม่เป็นอย่างที่คุณหวังไว้และจะมีผลที่ห่างไกลออกไป ที่ข้าพเจ้ากล่าวเช่นนี้เพราะต่อไปในอนาคตอันใกล้นี้มันจะมีผู้กล่าวหามากมายกว่าที่เป็นอยู่ ผู้กล่าวหาเหล่านั้น ส่วนหนึ่งเป็นผู้ที่ข้าพเจ้าได้เคยห้ามหรือปรามไว้ และพวกเขายังหนุ่มกว่า พวกเขาจะเป็นผู้ที่ขาดความเกรงใจมากสำหรับพวกคุณ และพวกคุณจะเป็นคนที่ทำความผิดมากกว่าสำหรับพวกเขา ถ้าคุณคิดว่าโดยการฆ่าคนตาย คุณก็สามารถป้องกันคนบางคนจากการตำหนิติเตียนการมีชีวิตที่ชั่วร้ายของพวกคุณ พวกคุณเป็นคนผิดพวกคุณไม่มีทางหลบหนีความผิดไปได้ ซึ่งมันจะเป็นไปได้ทั้งความมีเกียรติและความไม่มีเกียรติ มันจะฝังแทรก(เจริญ)อยู่ในตัวคุณ นี่เป็นคำทำนาย(สาปแช่ง)ที่ข้าพเจ้าให้ไว้ก่อนการตายซึ่งเกิดจากการตัดสินของคณะลูกขุน(พวกคุณ)ที่มีต่อข้าพเจ้า

เพื่อน ๆ ทั้งหลายผู้แก้แค้นแทนข้าพเจ้า ข้าพเจ้าประสงค์จะพูดกับท่านอยู่เหมือนกันเกี่ยวกับสิ่งที่ผ่านมาแล้ว ในขณะที่พนักงานผู้ปกครอง(ผู้พิพากษา)ทั้งหลายกำลังมีงานยุ่งอยู่ และก่อนที่ข้าพเจ้าจะไปสู่สถานที่ที่ข้าพเจ้าต้องตาย ขอเวลาสักนิดหนึ่งก่อนเพื่อเราจะได้คุยกันให้ดีกับท่านอื่น ๆ ขณะที่เรายังมีเวลา ท่านทั้งหลายเป็นเพื่อนของข้าพเจ้า และข้าพเจ้าประสงค์จะแสดงความหมายของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกับข้าพเจ้า ท่านผู้พิพากษาที่เคารพ สำหรับท่านนั้นข้าพเจ้าอาจจะเรียกว่า ท่านเป็นผู้พิพากษาที่แท้จริง ข้าพเจ้าประสงค์จะบอกกับท่านเกี่ยวกับสภาพแวดล้อมอันน่าอัศจรรย์ ทีนี้เรื่องสิ่งที่เป็นทิพย์หรือสิ่งพิศดารต่าง ๆ ซึ่งเทพยากรภายในคือแหล่งเกิดที่ถาวรกลายมาเป็นอุปนิสัยในการต่อต้านขัดขวางต่อข้าพเจ้า แม้แต่เรื่องเล็ก ๆ น้อย ๆ ถ้าข้าพเจ้าลื่นล้มหรือทำผิดพลาดในเรื่องใด ๆ ก็ตาม และอย่างที่พวกคุณเห็นอยู่ในขณะนี้ เรื่องที่เกิดกับข้าพเจ้าซึ่งน่าจะคิดว่ามันเป็นเรื่องธรรมดา แต่ในที่สุดมันก็กลายเป็นเรื่องเลวร้าย แต่เทพยากรก็ไม่ได้แสดงสัญญาณต่อต้านแต่อย่างไร ทั้งเวลาที่ข้าพเจ้าออกมาจากบ้านในตอนเช้า หรือเวลาที่ข้าพเจ้าเดินทางไปศาล หรือในขณะที่ข้าพเจ้ากำลังพูด และคำใดๆที่ข้าพเจ้าเตรียมพูด และข้าพเจ้ายังได้หยุดพูดในท่ามกลางบ่อย ๆ แต่ไม่มีอะไร ข้าพเจ้าทั้งพูดและสัมผัสเรื่องราวในขณะนี้เป็นการแสดงให้เห็นว่า เทพยากรได้ต่อต้านข้าพเจ้าเอง อะไรทำให้ข้าพเจ้าต้องอธิบายเรื่อง(สิ่ง)เงียบ(ลึกลับ)นี้ ? ข้าพเจ้าจะบอกท่าน มันเป็นเรื่องสลับกันว่าเรื่องที่เกิดกับข้าพเจ้ามันเป็นเรื่องดี และเพื่อนของเราคนนั้นผู้คิดว่าความตายเป็นเรื่องชั่วร้าย กำลังอยู่ในความบกพร่อง สำหรับสัญญาณอย่างที่เคยเป็นไปในแนวต่อต้านข้าพเจ้านั้น ได้เป็นไปในทางร้ายและเป็นทางไม่ดีแน่นอน

ขอให้ข้าพเจ้าได้สะท้อนให้เห็นในทางอื่นอีก และเราจะเห็นว่ามีเหตุผลที่สำคัญเพื่อบอกว่าความตายคือสิ่งที่ดี หนึ่งในสองเหตุผลนั้นคือ ความตายเป็นทั้งสภาวะของความไม่มีอะไรและความไม่มีสัมปชัญญะอย่างสูงที่สุด หรืออย่างที่คนทั้งหลายกล่าวว่า มันเป็นความเปลี่ยนแปลงและการอพยพไปอยู่ที่อื่นของวิญญาณ โดยย้ายจากโลกนี้ไปโลกอื่น บัดนี้ถ้าคุณสมมติว่าคนตายไม่ใช่คน หรือเป็นคนที่ไม่มีสัมปชัญญะ แต่เป็นคนนอนหลับซึ่งการนอนหลับของเขาไม่มีใครรบกวนได้ แม้โดยความฝัน คนตาย(หรือความตาย)เป็นเช่นกับสิ่งที่พูดไม่ได้ ถ้าคนเราสักคนหนึ่งได้เลือกคืนซึ่งตนได้หลับอย่างไม่มีใครมารบกวนแม้แต่ความฝัน และได้เปรียบเทียบกับวันและคืนอื่น ๆ ในชีวิตเขา และแล้วเขามาบอกพวกเราว่าเป็นจำนวนกี่วันกี่คืนที่เขาได้ผ่านเข้าไปสู่ความดีกว่าและความเพลิดเพลินกว่าคืนเช่นนี้ (คืนที่ไม่มีใครรบกวน) ข้าพเจ้าคิดว่าไม่มีใครที่ได้เป็นเช่นนั้น ข้าพเจ้าจะไม่พูดถึงเฉพาะคนธรรมดาทั่วไปเท่านั้น แม้แต่พระมหากษัตริย์ผู้ยิ่งใหญ่ก็ไม่ได้เจอวันและคืนอันสงบเช่นนั้นมากนักเมื่อเปรียบเทียบกับคนอื่น ๆ บัดนี้ถ้าความตายเป็นสิ่งที่เป็นธรรมชาติ ข้าพเจ้าขอพูดว่าการตายนั้นคือกำไร สำหรับความยาวนานนิรันดร์ก็เป็นเพียงกลางคืนเพียงคืนเดียว แต่ความตายคือการเดินทางไปสู่สถานที่อื่น ที่โน่นบ้าง ที่นี่บ้าง เช่นที่หลายคนพูดว่า เราทุกคนมีความตายติดตามอยู่ด้วย อะไรดี? เพื่อน ๆ ทั้งหลายของข้าพเจ้าและท่านผู้พิพากษาที่เคารพทั้งหลาย อะไรจะยิ่งใหญ่กว่านี้? ถ้าแท้จริงแล้วคณะแสวงบุญได้มาถึงโลกเบื้องล่าง เขาได้ผ่านออกไปโดยคณะผู้พิพากษาที่ชำนาญการในโลกนี้ และได้พบกับผู้พิพากษาที่แท้จริงผู้ซึ่งให้คำพิพากษา ณ ที่นี้ ท่านไมโนส(Minos) และท่านราดามันธัส(Rhadamanthus) และท่านแอคัส(Aeacus) และท่านทริปโตเลมัส(Triptolemus) และลูกชายคนอื่น ๆ ของพระเจ้า ผู้ประกอบไปด้วยความถูกต้องในชีวิตของท่าน การแสวงบุญเหล่านั้นจะถูกทำให้มีค่ามากอย่างยิ่ง อะไรที่คนจะไม่ให้ ถ้าเขาจะเปลี่ยนแปลงโดยโอฟีอุส(Orpheus) และโมซีอุส(Musaeus) และเฮซิออด(Hesiod) และโฮเมอร์(Homer) ? คำตอบคือ “ไม่เลย” ถ้าคำตอบนี้เป็นจริง กรุณาให้ข้าพเจ้าตายแล้วตายอีก ตัวข้าพเจ้าเองจะมีความประหลาดใจอย่างมากล้นต่อการประชุมและการเปลี่ยนแปลงนั้น โดยปาลามีเดช(Palamedes) และอะแจ้ค(Ajax) ซึ่งเป็นลูกชายของเทลามอน (Telamon) และวีรบุรุษรุ่นเก่าคนอื่น ๆ ผู้ตายด้วยความทุกข์เพราะการตัดสินที่ไม่ยุติธรรม และข้าพเจ้าคิดว่าจะไม่มีความยินดีเลยสักน้อยนิดในการเปรียบเทียบความทุกข์ของข้าพเจ้ากับความทุกข์ของพวกเขาเหล่านั้น เรื่องที่กล่าวมาข้างต้นทั้งหมดนั้นข้าพเจ้าจะสามารถให้ดำเนินการต่อไปได้ เพื่อการค้นคว้าของข้าพเจ้าไปสู่ความรู้ที่ถูกต้องแท้จริง และความรู้ปลอม ๆ เช่นที่ปรากฏอยู่ในโลกนี้ และสิ่งต่อไปในภายหน้าก็เหมือนกัน และข้าพเจ้าจะได้ค้นพบนักปราชญ์ผู้ฉลาด และคนที่แสร้งทำว่าตนฉลาด และบุคคลผู้ไม่เป็นเช่นที่กล่าวมาแล้วนั้น ท่านผู้พิพากษาที่เคารพ อะไรที่คนเราจะไม่ให้สามารถนำไปสู่การทดลองผู้นำแห่งทหารอาสาสงครามของโตรชัน(Trojan) ผู้ยิ่งใหญ่ หรือโอดิสซีอุส(Odysseus) หรือซิซีฟุส(Sisyphus) และพวกผู้ชาย และพวกผู้หญิงด้วย ความดีใจที่มีขอบเขตจำกัดของพวกเขา จะมีการเปลี่ยนแปลงโดยพวกเขาเหล่านี้ และถามคำถามต่อพวกเขา ในโลกอื่น ๆ เขาจะไม่ส่งคนไปสู่ความตายเพียงเพราะการถามคำถามบางอย่างกะเขา ไม่เลยจริง ๆ ข้าพเจ้าขอยืนยัน เพื่อจะให้คนมีชีวิตอยู่อย่างเป็นสุขกว่าที่พวกเราเป็นอยู่ พวกเขาจะต้องไม่ตาย ในที่กล่าวมาแล้วนั้นใช้ในกรณีที่คำกล่าวของข้าพเจ้าเป็นจริง

ท่านผู้พิพากษาที่เคารพ ด้วยเหตุฉะนั้น โปรดแสดงความชื่นบานต่อความตาย และรู้จักมันว่ามันเป็นเช่นนั้นจริง นั่นคือมันไม่มีความชั่วร้ายใด ๆ เกิดขึ้นต่อคนดี เช่นเดียวกับการมีชีวิตอยู่หรือชีวิต(ความเป็นอยู่)หลังตาย เขาหรือใคร ๆ และเพื่อนจะไม่ได้รับการทอดทิ้งโดยพระเจ้า ไม่เป็นจุดสิ้นสุดของตนเอง และมันไม่เกิดขึ้นโดยการบังเอิญ แต่ข้าพเจ้าเห็นอย่างชัดเจนแล้วว่าเวลาได้มาถึงแล้ว การตายเป็นสิ่งที่ดีกว่าสำหรับข้าพเจ้า และเป็นการปลดปล่อยข้าพเจ้าจากปัญหาทั้งปวง ด้วยเหตุฉะนั้น เทพยากรจึงไม่เคยให้สัญญาณอะไรแก่ข้าพเจ้าเลย สำหรับเหตุผลนั้นหรือก็เช่นเดียวกัน ข้าพเจ้าไม่โกรธต่อคณะผู้ตัดสินของข้าพเจ้า หรือผู้กล่าวหาทั้งหลาย พวกเขาไม่ได้ทำให้ข้าพเจ้าเดือดร้อนเลย แม้ว่าพวกเขาจะไม่เคยทำความดีต่อข้าพเจ้าเลยสักนิด และข้าพเจ้าอาจจะกล่าวตำหนิเขาอย่างสุภาพเกี่ยวกับเรื่องนี้

ข้าพเจ้ายังคงอยากขอร้องต่อท่านสักหน่อย เมื่อลูกชายทั้งหลายของข้าพเจ้าโตขึ้นมา เพื่อน ๆ ทั้งหลายของข้าพเจ้า ข้าพเจ้าอยากขอร้องท่านเกี่ยวกับการลงโทษพวกเขา ข้าพเจ้าอยากให้ท่านไม่รบกวนเขาเช่นที่รบกวนข้าพเจ้า ถ้าเห็นคุณค่าเฉพาะพวกคนรวย หรือสิ่งอื่นใดมากกว่าเห็นคุณค่าของคุณธรรม หรือถ้าพวกเขาแสร้งเป็นทำความผิดบางสิ่งบางอย่าง เมื่อเขาไม่มีอะไรจริง ๆ แล้วกรุณาตรวจสอบพวกเขาอย่างยุติธรรมเช่นที่ข้าพเจ้าได้ตรวจสอบพวกท่าน โปรดอย่าแสดงการไม่เห็นคุณค่าพวกเขาซึ่งควรจะเห็นคุณค่า และการคิดว่าพวกเขาทำผิดบางสิ่งบางอย่าง ทั้งที่เขาไม่ผิดอะไร ท่านอย่าได้คิด ถ้าท่านทำอย่างนี้ ก็จะทำให้ข้าพเจ้าและพวกลูกชายของข้าพเจ้าจะได้รับความยุติธรรมอย่างแท้จริงภายใต้การดูแลของพวกคุณ

ชั่วโมงแห่งการไปของข้าพเจ้ามาถึงแล้ว และพวกเราต้องไปตามทางของพวกเรา ข้าพเจ้าไปสู่ความตาย และพวกท่านไปสู่ความมีชีวิตอยู่ ซึ่งจะเป็นการดีกว่า ถ้าพระผู้เป็นเจ้าได้ทรงรับรู้

***

ออกัสท์ ค๊องท์ (Auguste Comte) และวิชาปรัชญาในฐานะศาสตร์ชนิดใหม่

บางทีเพียงความจริงในปรัชญาที่สมบูรณ์ก็คือการที่นักปรัชญาทั้งหลายมีความเห็นไม่ลงรอยกันในประเด็นว่า ปรัชญาคืออะไร แม้แต่นักปรัชญาในอดีตเช่นเพลโต ที่ให้ความหมายว่าปรัชญาคือความรัก(love)และนิทานเกี่ยวกับอภินิหาร(myth) คำเหล่านี้ก็มีคนสนใจจำนวนหนึ่งมิได้เป็นที่สนใจของคนทุกคน นักคิดหลายท่านในเวลาต่อมาต้องการกำจัดอดีตของปรัชญาให้หมดไป พวกเขาต้องการข้ามผ่านนิทานอภินิหารที่เป็นคำโคลง ซึ่งเพลโตยอมรับ และมาพิจารณาแก้ไขปรัชญาเป็นปรัชญาใหม่ตามแบบศาสตร์สมัยใหม่ คนเหล่านั้นแสดงความคิดที่ทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงนี้ออกมาให้ทุกคนทราบว่า นักปรัชญารุ่นก่อน ๆ ทั้งหลาย เช่นเพลโต เป็นต้น ได้ถามคำถามที่ไม่ได้มุ่งคำตอบที่แน่นอนตายตัว แต่นักวิทยาศาสตร์(นักวิชาการ)รุ่นใหม่ได้ดัดแปลงแก้ไขความเป็นอยู่ของพวกเราและให้ได้รับผลอันยอดเยี่ยมอย่างไม่คาดหวังมาก่อน เริ่มต้นในศตวรรษที่ ๑๗ นักปราชญ์ผ๔ฉลาดเฉลียวทั้งหลายมีความรู้สึกว่า เราอาจได้รับคำตอบสุดท้ายแล้ว(คือได้รับคำตอบที่ดีที่สุดแล้ว) แต่ว่าได้มีการพิสูจน์ว่า คำตอบนั้นถูกต้องแน่นอนแล้วหรือ ? ถ้ามีการพิสุจน์แน่นอนแล้ว คนผู้ชอบเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ก็ถามว่า เราจะไม่มีโอกาสให้ความหมายหรือคำจำกัดความของคำว่าปรัชญาเพิ่มขึ้นมาได้อีกแล้วหรือ ? เพลโตได้รับการยอมรับในฐานะนักปรัชญาผู้หนึ่งในสมัยที่เขามีชีวิตอยู่ แต่ว่าศาสตร์สมัยใหม่ได้ให้ความคิดในเชิงปรัชญา(ของเพลโต)สิ้นสุดลงแล้วหรือ?

ความรู้สึกเหล่านี้เป็นรากของปรัชญาโพซิทีฟว์ (positive philosophy หมายถึงลัทธิที่ถือเอาแต่พียงสิ่งที่เห็นได้) ซึ่งพัฒนาขึ้นมาโดย ออกัสท์ ก๊องท์ (August Comte) ในระหว่างปี ค.ศ. ๑๗๙๘ ออกัสท์ ก๊องท์ และเพลโต มีชีวิตอยู่ร่วมศตวรรษกัน ไม่เพียงแต่เกิดร่วมยุคเดียวกัน แต่ยังมีท่าทีการมองโลกเหมือนกันด้วย

ออกัสท์ ก๊องท์ เกิดในฝรั่งเศสในฐานะลูกชายแห่งคาทอลิคผู้เคร่งศาสนา ก๊องท์ได้รับการศึกษาด้านวิทยาศาสตร์ อย่างเข้มงวด ดังนั้นเขาจึงได้ทำงานในตำแหน่งเลขานุการส่วนตัวของสมาคมนักปรัชญาเพื่อสังคมฝรั่งเศสชื่อ เซ็นท์ ซีโมน เป็นเวลา ๗ ปี ซึ่งเป็นสมาคมที่ต้องการรวบรวมฐานของสังคมขึ้นใหม่บนหลักการที่เป็นวิทยาศาสตร์ล้วน ๆ ภายใต้อิทธิพลของสมาคมเซ็นต์ ซีโมน ก๊องท์มีความมั่นใจว่า พลังความคิดเชิง(แนว)วิทยาศาสตร์สามารถผลิตองค์กรทางสังคมที่เป็นประโยชน์อย่างยิ่งให้แก่สังคมมนุษย์ ก๊องท์มีชีวิตอยู่ในเวลาที่ประชาชนทั่วไปมีความเชื่อในความก้าวหน้าของวิทยาศาสตร์และเชื่อมั่นว่าวิทยาศาสตร์จะทำให้สังคมดีขึ้น อย่างไรก็ตามความแตกต่างด้านความคิดก็ได้ถูกพัฒนาขึ้นและความสัมพันธ์ของก๊องท์ กับสมาคมเซ็นต์ ซีโมนก็เริ่มเสื่อมลง แทนที่ก๊องท์จะได้เป็นอาจารย์บรรยายในมหาวิทยาลัยที่มั่นคงในฐานะสมาชิกสมาคมเซ็นต์ ซีโมน เขากับต้องอยู่ฝ่ายตรงกันข้าม (คือฝ่ายต่อต้านสมาคมเซ็นต์ ซีโมน) เขาได้หาเลี้ยงตนเองด้วยการสอนกวดวิชาในรายวิชาคณิตศาสตร์และมีเงินอุดหนุนชีวิตเพิ่มเติมจากลูกศิษย์ของเขา เขามีการบรรยายหลายครั้งให้แก่ผู้ฟังของเขาเป็นการส่วนตัว ในปีค.ศ. ๑๘๒๙ และกลายมาเป็นพื้นฐานของหลักสูตรปรัชญาโพซิทิฟว์ (corse 0f positive philosophy) เขาได้เขียนงาน ๖ ชุดในระหว่างปี ค.ศ. ๑๘๓๐ และ ๑๘๔๒ เขาได้ป่วยเป็นกาฬโรคเพราะสุขภาพของเขาแย่ลง และป่วยจนตลอดชีวิตที่เหลือของเขา และก็องท์ก็ตายอย่างเดียวดาย แต่เขาก็มีคุณูปการอย่างมากมาย เช่นได้วางรากฐานให้แก่วิชาสังคมวิทยาเป็นต้น

เราสามารถนำปรัชญามาใช้ในโลกยุคใหม่ได้หรือไม่?

ปรัชญาของก๊องท์ เริ่มจากการสำรวจความเจริญของความรู้ของมนุษย์ตลอดศตวรรษ ก๊องท์มองปรัชญาในฐานะการพัฒนาที่ก้าวหน้าและต่อเนื่องซึ่งตรงกันข้ามกับแนวคิดที่อยู่นิ่งกับที่ ในความพยายามที่จะเข้าใจว่าปรัชญาคืออะไร? เราแต่ละคนต้องตัดสินใจไม่ว่าจะเป็นการพัฒนาตามแนทฤษฎีวิวัฒนาการ หรือไม่ว่าจะเป็นทฤษฎีโบราณทั้งหลาย เช่นทฤษฎีของเพลโตซึ่งยังคงความถูกต้องอยู่ในทุกวันนี้ ก๊องท์คิดว่ามี ๓ ขั้นในประวัติศาสตร์ของปรัชญา ขั้นแรกได้แก ทีโอโลจิคัล(theological) หรือยุคแห่งศาสนา แล้วขั้นที่สองก็คือ เมตาฟิสิคัล (metaphisical) หรือยุคเก็งผล เก็งคำตอบ หรือคาดเดา (speculative one) และขั้นที่สามก็คือขั้น วิทยาศาสตร์ หรือยุคประสพการณ์ (empirical) ถ้าความคิดของก๊องท์ถูกก็หมายความว่ามีเพียงขั้นสุดท้าย หรือความรู้ขั้นประสพการณ์เท่านั้นที่เป็นจริงในปัจจุบัน ก๊องท์ต้องการให้ปรัชญาหยุดการค้นหาจุดเริ่มต้นของจักรวาล และสร้างเนื้อหามาที่การสร้างกฎแห่งความสัมพันธ์ระหว่างปรากฏการณ์ของประสพการณ์ (empirical phenomena) หรือข้อมูลเกี่ยวกับผลิตผลทางความรู้สึกของเรา (the data our senses produre) ก๊องท์สันนิษฐานว่า สิ่งเหล่านี้มนุษย์สามารถทำได้แล้ว แต่ประสพการณ์ของมนุษย์ทุกคนจะกลายมาเป็นกฎที่ใช้กับทุกคนได้ไหม? ข้อสันนิษฐานนั้นเป็นคำถามไปแล้ว นักปรัชญาบางส่วนตอบว่าได้ บางส่วนตอบว่าไม่ได้

ก๊องท์ต้องการให้ทุกคนตกลงกันเกี่ยวกับปรัชญา ตอบให้เหมือนกันว่าปรัชญาคืออะไร? ปรัชญาสรุปลงอย่างไร? ก๊องค์คิดว่า เราสามารถทำเช่นนั้นได้ ถ้าเพียงแต่เราใช้วิธีการทางวิทยาศาสตร์ อันเดียวกัน เรารู้ว่าเพลโตสงสัยว่า มนุษยชาติทั้งมวลเคยตกลงกันในเรื่องนี้อย่างเรียบร้อยมาแล้วหรือไม่ แต่เหตุผลส่วนหนึ่งที่ทำให้คนตกลงกันไม่ได้ (มีแนวโน้มไม่เหมือนกัน)ก็คือ เพราะความจริงต่าง ๆ ไม่มีวันถึงจุดสิ้นสุด อย่างไรก็ตาม ก๊องท์ก็มีความมั่นใจว่าเราสามารถทำได้มากขึ้นในปัจจุบัน และสามารถกำจัดความสับสนในทางปรัชญาได้ในที่สุด ถ้าคำพูดนี้ของก๊องท์ถูก ก็จะเกิดผลกระทบต่อความคิดของเราทั้งหมดเกี่ยวกับปรัชญา – แต่ทำไมก๊องท์จึงคิดจำกัดผลว่าเป็นไปได้ในยุคของเขาเมื่อมันไม่เคยเป็นเช่นนั้นมาก่อน? เขาเชื่อว่าคำตอบก็คือ นั่นเป็นความเข้าใจที่ดีเกี่ยวกับกระบวนการทางประสพการณ์แห่งศาสตร์ต่าง ๆ ซึ่งทำให้รู้ได้ว่า ก่อนหน้านี้มีอะไรบ้างที่ผิดพลาด ความฉลาดของมนุษย์ก็ได้พัฒนาขึ้นมาเรื่อย ๆ เมื่อยุคสมัยผ่านไป

นักคิดผู้มีความสามารถทั้งหลายทั้งมวลเห็นด้วยกับฟรานซิส เบคอน ว่า คนเราสามารถมีความรู้ที่ไม่จริง ยกเว้นความรู้ที่ได้จากการสังเกตข้อเท็จจริง หลักการอันนี้คือความจริงที่เถียงไม่ได้แล้ว ถ้ามันเกิดการปรับเปลี่ยนอย่างที่มันควรเป็น มันก็เป็นภาวะที่บ่มเพาะความฉลาดของเราให้เจริญขึ้น(๗)

เหตุผลของมนุษย์และศาสตร์(ต่าง ๆ) เป็นสิ่งที่เราสามารถบ่มเพาะให้เจริญขึ้นโดยวิธี(แนว

ทาง)เดียวกันได้ไหม?

ในการเขียนเอกสารเพื่อทบทวนปรัชญาและในการใส่ชื่อของมันว่าปรัชญาโพซิทีฟว์ ก๊องท์ได้ตั้งข้อสันนิฐานว่า บางสิ่งบางอย่างที่สำคัญได้เกิดขึ้นแล้วในประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติ ก๊องท์พูดว่าสำหรับบางเวลาเขาคิดว่านักปรัชญาทั้งหลายก็ประสบกับความยากลำบากและไม่ประสบความสำเร็จในการตอบคำถามเชิงซ้อนทั้งหลายเกี่ยวกับโลกและความมีอยู่ของมนุษย์ แต่ในทันทีทันใดเขาและเพื่อนร่วมรุ่นทั้งหลายได้กลายมาเป็นผู้สามารถเคลื่อนไหวสู่ขั้นใหม่ของชัยชนะ หลังจากจัดการกับการเก็งความจริงด้านศาสนาและด้านอภิปรัชญามาเป็นเวลาหลายศตวรรษ พวกเขาสามารถเริ่มค้นพบรูปแบบที่แท้จริงแห่งการพัฒนามนุษย์ ครั้งหนึ่งการค้นพบนี้ได้เกิดขึ้นอย่างสมบูรณ์ ผู้คนสามารถเคลื่อนไปสู่กฎธรรมชาติของมนุษย์อันหลายหลาก

จิตของมนุษย์ โดยการจำกัดตนเองอย่างง่ายเพื่อค้นคว้าหลักการที่เป็นไปได้ทั้งหมด เราสามารถพบ

เห็นได้ในอาหารที่ไม่รู้จักหมด สำหรับรูปแบบแห่งกิจกรรมที่สูงสุดของมัน ปราศจากการโจมตีของ

ปัญหาที่เข้าไม่ถึงทั้งหลาย (P.10)

ก๊องท์คิดว่านักปรัชญารุ่นแรก ๆ ทั้งหลายได้สำรวจเข้าไปใกล้มาก ถ้าเราถามเพียงคำถามว่า เราจะส่งเสริมความสุขของมนุษย์ได้อย่างไร? และไม่ถามคำถามที่เกี่ยวกับความยุติธรรมแห่งจักรกลวิทยาศาสตร์สามารถรักษาเรา (ช่วยเราในการตอบปัญหาเฉพาะเร่งด่วนเหล่านี้) ก๊องท์คิดว่า พวกเรามีชีวิตอยู่ในยุคที่หลักการมีการพัฒนา ซึ่งทำให้เราได้ตอบคำถามต่าง ๆ อย่างแน่นอนตายตัวซึ่งโสเครตีสไม่เคยคิดหวัง โสเครตีสเคยท่องเที่ยวไปเพื่อตั้งคำถามเหล่านี้ แต่เดี๋ยวนี้เราสามารถให้คำตอบต่อคำถามเหล่านี้ได้ เป็นเช่นกับความหวังที่ทำให้อนาคตของปรัชญาค่อนข้างน่าสนใจ การปฏิติในทางวิทยาศาสตร์เริ่มด้วยวิชาคณิตศาสตร์และฟิสิกส์ แต่ปรากฏการณ์ทางสังคมสามารถนำมาบรรยายบรรยายพรรณนาในรูปแบบวิทยาศาสตร์ที่เช้มงวดได้ในปัจจุบัน ก๊องท์ทำให้เชื่อว่าปัญหาทางปรัชญาเป็นสิ่งที่มนุษย์สามารถเอาชนะได้(คือตอบได้)

ความคิดมูลฐานของเราทั้งหมดก็คือ การทำให้คนมีความคิดเหมือนกันและคิดว่าปรัชญาจะสร้างความคิดของคนในทางบวก นับจากนี้ไปลักษณะของมันจึงต้องไม่เปลี่ยนแปลง (P.13)

ก๊องท์คิดว่าปรัชญาได้ทำหน้าที่ในการพิจารณาสิ่ง(พื้นที่)ที่เป็นนามธรรม (เช่นพระเจ้า) ในปัจจุบันคำถามที่สำคัญในชีวิตมนุษย์สามารถนำมาคิดในเชิงปรัชญาได้ แม้ไม่มีมากแตก็มีกรณีให้ศึกษาได้

ถ้าเรื่องนี้เป็นไปได้แล้วอะไรเกิดขึ้นกับปรัชญาในยุคก่อนหน้านี้? เท่าที่เราได้ศึกษาแนวคิดของเพลโต เราจะคิดได้ไหมว่า เพลโตได้พัฒนาปรัชญาในยุคของเขาในเอเธนส์ซึ่งยังคงเกี่ยวเนื่องมาถึงปัจจุบันและสามารถสอนเราในบางสิ่งบางอย่าง? ถ้าเรายอมรับทฤษฎีความก้าวหน้าและพัฒนาการของก๊องท์แล้ว ทฤษฎีในยุคก่อนทั้งหมดจะถูกทำให้ลดความสำคัญลงไปมาก ยกเว้นเรื่องเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ของพวกเขา อย่างที่เราได้พยายามตัดสินว่าปรัชญาคืออะไร เรารู้ว่าเราไม่สามารถรักษาสิ่งต่าง ๆ ให้คงที่เหมือนเดิมได้ตลอด ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน แต่เราต้องรักษามันไว้อย่างกล้าได้กล้าเสีย นั่นคือความคิดสมัยใหม่และแบบปัจจุบันที่แท้จริงมิใช่หรือ? คำตอบของก๊องท์ก็คือ ใช่

ก๊องท์รำคาญต่อกลุ่มนักวิทยาศาสตร์ฝึกหัดที่มุ่งมั่นอย่างเอาเป็นเอาตายในการทำงานโดยวิธีการทางวิทยาศาสตร์ในยุครุ่งเรืองทางปัญญา ซึ่งเริ่มตั้งแต่วิธีการทางวิทยาศาสตร์ได้กลายมาเป็นวิธีดำเนินการทางปรัชญา

ปรัชญาเป็นวิถีทางสรรสร้างสังคมหรือ?

เพลโตประสงค์ให้ปรัชญาเป็นทั้งการคาดเดาและเชื่อมต่อถึงผลการกระทำด้วย ก๊องท์เป็นมากกว่าผู้ปรารถนาดีเกี่ยวกับปรัชญา และความสามารถในการแก้ไขความเจ็บป่วยของสังคม

เราอาจมองปรัชญาในเชิงบวกเช่นการสร้างสรรค์พื้นฐานที่แข็งแกร่งของการสร้างสรรค์สังคมใหม่เท่า

นั้น ซึ่งต้องมีการหยุดวิกฤตต่าง ๆ ที่ชนชาติที่เจริญแล้วส่วนใหญ่มักเจอมาเป็นเวลานานแสนนาน

(P.28)

ก็องท์คิดว่าปรัชญาสามารถให้ผลแน่นอน เพราะว่าวิกฤตทางการเมืองและศีธรรมของเรามุ่งไปสู่ความสับสนอลหม่าน เรารับช่วงความวุ่นวายนี้มาจากอดีต ก๊องท์คิดว่าปรัชญาฝ่ายบวกสามารถจัดการความคิดของเราให้มุ่งสู่ระบบวิทยาศาสตร์ได้ดี และสามารถเยียวยาวิกฤตทางศีลธรรมของสังคมได้ด้วย

ถ้าเรามาถึงจุดหมายตรงนี้แล้วเราต้องเข้าสู่การกระทำอันยิ่งใหญ่เกี่ยวกับข้อตกลงระหว่างนักปรัชญาทั้งหลาย ดังนั้น หนึ่งในคำถามสำคัญหลายคำถามเกี่ยวกับปรัชญาก็คือ ไม่นักปรัชญาทั้งหลายจะไม่สามารถตกลงกันได้ หรือไม่ว่าในยุควิทยาศาสตร์ มันมีความเป็นไปได้ว่า ในที่สุดเราจะได้รับความเป็นเอกฉันท์แห่งความคิด ก๊องท์คิดว่าปรัชญาเชิงบวก(โพซิทีฟว์ ฟิโลโซฟี่)ของเขา ก็เป็นเช่นพรหมลิขิตซึ่งเด่นกว่าแบบมีทางเลือกอื่น (มีหลายทางเลือก) คำถามที่เราต้องการถามก็คือ ไม่ว่าปรัชญาจะเป็นการรวบรวมขึ้นในทางเช่นนั้น ซึ่งแสดงความคิดความเห็นของคนเป็นสิ่งสำคัญ หรือเป็นการบานออกของความคิดเห็น ความจริงทางปรัชญาที่มั่นคงมักสอดคล้องกับการที่เราต้องเรียนรู้ที่จะมีชีวิตอยู่ใช่ไหม? ถ้าข้อหลังเป็นสถานการณ์ของเรา ความเป็นเอกฉันท์ทางความคิดก็จะไม่เคยเกิดขึ้น.

โสเครตีสได้สร้างรูปแบบคำสนทนาทางปรัชญาที่ทันสมัย เขาต้องการให้พวกเราผูกพันธ์อยู่กับการไต่ถามสืบสวน แลกเปลี่ยนคำถามคำตอบ จุดมุ่งหมายของก๊องท์ก็คือ ความเป็นเอกภาพของปรัชญาทั้งปวง ซึ่งเป็นสิ่งที่เพลโตไม่เคยเข้าถึง ก๊องท์จะเข้าถึงเอกภาพโดยผ่านการใช้สิ่งที่มันเป็นธรรม มีความโลภ วิธีการตั้งสมุฏฐานแบบวิทยาศาสตร์ สิ่งหนึ่งที่ต่างจากโสเครตีสเป็นอย่างมากก็คือ วิธีการตั้งคำถามและวิธีการโต้แย้ง การที่จะทำให้ความคิดเหล่านี้สำเร็จ ก็คือเงื่อนไขต่าง ๆ ต้องสมจริงแน่นอน ก๊องท์คิดว่าหลักฐานแห่งความเป็นเอกภาพนี้ ได้ถูกวางไว้แล้ว และปรัชญานั้นก็สามารถเปลี่ยนแปลงจากที่เป็นอยู่ในอดีตได้

ปรัชญาเป็นประวัติศาสตร์หรือวิทยาศาสตร์ในท่าทีของตนเอง?

คุณสามารถเล่าว่าบางคนคิดว่า ปรัชญาเป็นทุกสิ่งทุกอย่างที่เขาและเธอแสดงมันออกมา หรือไม่ก็แสดงออกในฐานะที่เป็นวิทยาศาสตร์ร่วมสมัย หรือโดยการพิจารณากรณีต่าง ๆ ของนักเขียนประวัติศาสตร์ ถ้าเราศึกษาวิธีการของเพลโตและโสเครตีส เราก็ต้องทำเช่นพวกเขาเพราะว่าเราคิดว่ามันเกี่ยวข้องและใช้ได้กับสภาพการณ์ปัจจุบัน

(ที่มา: -)