ยุทธศาสตร์เกี่ยวกับประเด็นวิจัย

    จากนโยบายและแผนยุทธศาสตร์ของสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติและของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยดังกล่าว สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์และส่วนงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องจึงกำหนดยุทธศาสตร์ เป้าประสงค์ ดังนี้

        ยุทธศาสตร์ที่ ๑ : การพัฒนาองค์ความรู้และผลงานวิจัยเชิงพุทธบูรณาการเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน

        ยุทธศาสตร์ที่ ๒ : การพัฒนานักวิจัย การเสริมสร้างจริยธรรมการวิจัย และเครือข่ายการวิจัยทั้งในระดับชาติและนานาชาติ

        ยุทธศาสตร์ที่ ๓ : การจัดการความรู้ การเผยแพร่และการประยุกต์ใช้องค์ความรู้และผลงานวิจัยเพื่อการพัฒนาสังคมและกิจการคณะสงฆ์

        ยุทธศาสตร์ที่ ๔ : การเสริมสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ด้วยองค์ความรู้และกระบวนการวิจัยอย่างสร้างสรรค์

        ยุทธศาสตร์ที่ ๕ : การพัฒนาระบบการบริหารการวิจัย กองทุนการวิจัยและงานสร้างสรรค์ที่มีประสิทธิภาพ

        ยุทธศาสตร์ที่ ๖ : การพัฒนาการเรียนการสอน ฐานข้อมูลวิจัย และการเชื่อมโยงระบบฐานข้อมูลเพื่อสนองพันธกิจของมหาวิทยาลัยและการพัฒนาที่ยั่งยืน


ยุทธศาสตร์ที่ ๑ : การพัฒนาองค์ความรู้และผลงานวิจัยเชิงพุทธบูรณาการเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน

    เป้าประสงค์ เพื่อการพัฒนาองค์ความรู้ รูปแบบและกระบวนการวิจัย ผลงานวิจัยเชิงพุทธบูรณาการ โดยมุ่งไปสู่ความเป็นเลิศทางการวิจัยตามหลักพระพุทธศาสนา ส่งเสริมและพัฒนาการวิจัยของมหาวิทยาลัยที่เป็นระบบและได้มาตรฐานการวิจัย รวมทั้งส่งเสริมการสร้างสรรค์องค์ความรู้ผลงานวิจัยเชิงบูรณาการ การสร้างนวัตกรรมทางเศรษฐกิจและสังคม โดยมีกลยุทธ์ ดังนี้

        ๑. พัฒนาองค์ความรู้ ผลงานวิจัย และงานสร้างสรรค์ทางพระพุทธศาสนาเชิงบูรณาการที่ครอบคลุมทุกกลุ่มความรู้และศาสตร์สมัยใหม่

        ๒. พัฒนานวัตกรรมและผลงานสร้างสรรค์ที่เป็นองค์ความรู้เพื่อต่อทางเศรษฐกิจ นวัตกรรมทางสังคมที่สามารถสร้างสรรค์สังคมอุดมปัญญา

        ๓. ส่งเสริมและพัฒนาการวิจัยเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งทางพระพุทธศาสนา ภูมิปัญญาท้องถิ่น การทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม กิจการคณะสงฆ์ และการพัฒนาสังคมตามแนวพุทธ

        ๔. ส่งเสริม อนุรักษ์และพัฒนาการวิจัยเพื่อเพิ่มคุณค่าทางพระพุทธศาสนาคุณธรรม จริยธรรมศิลปวัฒนธรรมและเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมที่หลากหลาย

        ๕. การส่งเสริมการวิจัย การเรียนรู้ และการดำรงวิถีชีวิตตามวิถีพุทธ


ยุทธศาสตร์ที่ ๒ : การพัฒนานักวิจัย การเสริมสร้างจริยธรรมการวิจัย และเครือข่ายการวิจัยทั้งในระดับชาติและนานาชาติ

    เป้าประสงค์ เพื่อพัฒนาศักยภาพและมาตรฐานการวิจัยของคณาจารย์ นักวิจัยและบุคลากรของมหาวิทยาลัยและการเสริมสร้างจริยธรรมการวิจัยในระดับสากล เพื่อเสริมสร้างเครือข่ายการวิจัย การพัฒนาเครือข่ายการวิจัยในพื้นที่และสร้างห้องปฏิบัติการวิจัยทางสังคม (Social Lap) โดยมีกลยุทธ์ดังนี้

        ๑. การพัฒนาขีดสมรรถนะและศักยภาพทางการวิจัยของคณาจารย์ นักวิจัย และบุคลากรของมหาวิทยาลัยบนพื้นฐานของ
หลักพุทธธรรมและธรรมาภิบาล
        ๒. การส่งเสริมจริยธรรมการวิจัย
        ๓. การพัฒนาองค์ประกอบ ตัวชี้วัดและมาตรฐานการการวิจัยในมนุษย์เชิงพุทธ
        ๔. การยกระดับการวิจัยให้มีมาตรฐานสากล
        ๕. การเสริมสร้างเครือข่ายความร่วมมือทางการวิจัยในระดับชาติและนานาชาติ
        ๖. การเสริมสร้างมาตรฐานการวิจัยที่ได้รับการยอมรับในระดับชาติและนานาชาติ
        ๗. การพัฒนาเครือข่ายการวิจัยในพื้นที่และการเสริมการวิจัยทางสังคม (Social Lap)
        ๘. การประชุมสัมมนาวิจัยในระดับชาติและนานาชาติ


ยุทธศาสตร์ที่ ๓ : การจัดการความรู้ การเผยแพร่และการประยุกต์ใช้องค์ความรู้และผลงานวิจัยเพื่อการพัฒนาสังคมและกิจการคณะสงฆ์

    เป้าประสงค์ เพื่อบูรณาการองค์ความรู้และกระบวนการวิจัย เพื่อพัฒนาการเรียนการสอนในมหาวิทยาลัย
กิจการคณะสงฆ์ การทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม การบริการวิชาการด้านการวิจัยแก่สังคม และการพัฒนาที่ยั่งยืน โดยมีกลยุทธ์ดังนี้

        ๑. การบูรณาการองค์ความรู้และกระบวนการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนการสอนในระดับต่างๆ ภายใน
มหาวิทยาลัยและเครือข่ายการศึกษา
        ๒. การบูรณาการผลงานวิจัยและกระบวนการวิจัยเพื่อสนับสนุนกิจการคณะสงฆ์ 
        ๓. การใช้องค์ความรู้กระบวนการวิจัยเพื่อการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
        ๔. การบริการวิชาการด้านการวิจัยแก่สังคม และการพัฒนาที่ยั่งยืน


ยุทธศาสตร์ที่ ๔ : การเสริมสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ด้วยองค์ความรู้และกระบวนการวิจัยอย่างสร้างสรรค์

    เป้าประสงค์ เพื่อการพัฒนาชุดความรู้และแนวปฏิบัติที่ตอบสนองความต้องการของสังคมในลักษณะของ
ศูนย์การเรียนรู้และเครือข่ายวิชาการ (excellence center) และการเผยแพร่ผลงานวิจัยและงานสร้างสรรค์เพื่อ
สร้างสรรค์สังคมแห่งการเรียนรู้ โดยมีกลยุทธ์ ดังนี้

        ๑. ส่งเสริมให้มีการเผยแพร่ผลงานวิจัยในระดับชาติและนานาชาติ
        ๒. ส่งเสริมให้ผลการวิจัยได้รับการอ้างอิง การนำเสนอ การนำไปใช้ การตีพิมพ์ และได้รับรางวัล
ระดับชาติและนานาชาติ
        ๓. พัฒนาวารสารของสถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ที่ได้มาตรฐานระดับสูง
        ๔. การสร้างและพัฒนาศูนย์วิชาการ (excellence center)


ยุทธศาสตร์ที่ ๕ : การพัฒนาระบบการบริหารการวิจัยกองทุนการวิจัยและงานสร้างสรรค์ที่มีประสิทธิภาพ

    เป้าประสงค์ เพื่อส่งเสริมและปฏิรูประบบการบริหารงานวิจัยของมหาวิทยาลัยตามหลักธรรมาภิ
บาล โดยการบริหารจัดการความรู้การส่งเสริมการเรียนรู้การพัฒนานวัตกรรมและภูมิปัญญาบูรณาการของ
มหาวิทยาลัยสู่การใช้ประโยชน์ในมิติที่หลากลาย โดยมีกลยุทธ์ ดังนี้

        ๑. พัฒนาระบบการบริหารการจัดการงานวิจัยระดับชาติและนานาชาติ
        ๒. การวิเคราะห์และประเมินผลการพัฒนาศักยภาพและความสามารถด้านการวิจัยของมหาวิทยาลัยที่มี
ประสิทธิภาพ
        ๓. การบริหารความเสี่ยง การบริหารจัดการความรู้การวิเคราะห์ผลงานวิจัย นวัตกรรมและภูมิปัญญา
บูรณาการเพื่อนำสู่การใช้ประโยชน์ที่หลากหลาย
        ๔. การเสริมสร้างองค์กรแห่งการเรียนรู้บนพื้นฐานของการวิจัย

ยุทธศาสตร์ที่ ๖ : การพัฒนาการเรียนการสอน ฐานข้อมูลวิจัย และการเชื่อมโยงระบบฐานข้อมูลเพื่อสนองพันธกิจของมหาวิทยาลัยและการพัฒนาที่ยั่งยืน

    เป้าประสงค์ เพื่อการพัฒนาการจัดการองค์ความรู้และการเผยแพร่การวิจัยทางพระพุทธศาสนาเชิงบูรณา
การ เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อการพัฒนาจิตใจและสังคม รวมทั้งการนำไปใช้ประโยชน์ในเชิงวิชาการ เชิงพาณิชย์เชิง
นโยบาย ประโยชน์ต่อสาธารณะ และการพัฒนาที่ยั่งยืน โดยมีกลยุทธ์ ดังนี้

        ๑. การพัฒนาการวิจัยและการจัดการองค์ความรู้ทางพระพุทธศาสนา หลักพุทธธรรม การวิเคราะห์คัมภีร์
ในเชิงบูรณาการกับศาสตร์ต่างๆ
        ๒. ส่งเสริมและสนับสนุนการน าองค์ความรู้จากการวิจัยไปใช้ในการเรียนการสอน การพัฒนาบุคคลและ
สังคมทั้งในระดับชาติและนานาชาติ
        ๓. การพัฒนาระบบฐานข้อมูลการวิจัย นักวิจัย ผู้เชี่ยวชาญการวิจัย เพื่อการพัฒนาสังคมและชุมชน
ท้องถิ่น
        ๔. เชื่อมโยงการวิจัยกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goal)
        ๕. การพัฒนาระบบเครือข่ายและเทคโนโลยีเพื่อการวิจัย