ข่าวประชาสัมพันธ์
ห้องสมุดมหาจุฬาฯ ขยายแนวคิดเป็นแหล่งรวมภูมิปัญญาคณะสงฆ์
17 พ.ย. 56 | ข่าวมหาวิทยาลัย
225
ข่าวมหาวิทยาลัย
ห้องสมุดมหาจุฬาฯ ขยายแนวคิดเป็นแหล่งรวมภูมิปัญญาคณะสงฆ์
วันที่ ๑๗/๑๑/๒๐๑๓ เข้าชม : ๒๘๕๕ ครั้ง

พระพรหมบัณฑิต อธิการบดีมหาจุฬาฯ    จากการที่มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย โดยพระพรหรมบัณฑิต อธิการบดี ได้มอบนโยบายพัฒนาห้องสมุดมหาวิทยาลัยเป็นแหล่งรวบรวมหนังสือด้านพระพุทธศาสนาเพื่อให้คณะสงฆ์และผู้สนใจด้านพระพุทธศาสนาได้มาศึกษาค้นคว้าดังคำที่ว่า "เมื่อต้องการหนังสือเกี่ยวกับพระพุทธศาสนาต้องมาที่ห้องสมุดมหาจุฬาฯ ไปค้นที่ไหนไหน ค้นได้เรื่องเดียว แต่มาที่มหาจุฬาฯ จะได้ทุกอย่างที่ต้องการ" โดยอาศัยห้องสมุดที่อยู่ในสังกัดมหาวิทยาลัยมหาจุฬาฯ รวบรวมผลงานของคณะสงฆ์ในจังหวัดที่มีมหาจุฬาฯ ตั้งอยู่ พร้อมกับนำโปรแกรมห้องสมุดอัตโนมัติที่สามารถวิเคราะห์หนังสือ สืบค้นข้อมูล มองเห็นข้อมูลได้ทุกแห่งผ่านเครือข่ายเทคโนโลยีสารสนเทศที่ทันสมัย

   พระราชสิทธิวิมล รองเจ้าคณะจังหวัดชลบุรี ประธานหน่วยวิทยบริการฯ ให้โอวาท ปัจจุบันมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย มีการจัดการเรียนการสอนทั้งในส่วนส่วนกลางและส่วนภูมิภาคทั่วประเทศ ในส่วนกลาง มี ๕ คณะวิชา ในส่วนภูมิภาคระดับวิทยาเขต ๑๐ วิทยาเขต วิทยาลัยสงฆ์ ๑๒ แห่ง โครงการขยายห้องเรียน ๕ แห่ง หน่วยวิทยบริการ ๑๘ แห่ง และสถาบันสมทบของมหาวิทยาลัย ๗ สถาบัน เปิดสอนในระดับปริญญาตรี ๒๒ สาขา ปริญญาโท ๑๒ หลักสูตร ปริญญาเอก ๖ หลักสูตร มีที่ตั้งในประเทศไทย ๔๔ จังหวัด ๕๕ สาขา มีอาจารย์ประจำรวม ๘๐๓ มีนักศึกษารวมทั้งสิ้น ๒๑,๖๐๐ รูป/คน

    จากการที่มหาวิทยาลัยมหาจุฬาฯ มีคณาจารย์และนิสิตและสาขาจำนวนมาก กระจายอยู่ทั่วประเทศ ห้องสมุดซึ่งเป็นแหล่งเรียนรู้ของสถาบันการศึกษา หรือแหล่งเรียนรู้ขององค์กร คณะกรรมการประเมินคุณภาพการศึกษามีข้อเสนอแนะให้มหาวิทยาลัยมหาจุฬาฯ ตอนหนึ่งว่า "มหาวิทยาลัยมีองค์ความรู้ด้านพุทธศาสนาจำนวนมาก และเป็นศูนย์รวมขององค์ความรู้อย่างแท้จริงในระดับนานาชาติ แต่ขาดกระบวนการจัดการความรู้ที่เป็นระบบและจัดเก็บเป็นองค์ความรู้ที่หลากหลายทั้งระดับความยากง่าย เพื่อให้กลุ่มบุคคลต่างๆ ทุกระดับสามารถเข้าถึงองค์ความรู้ โดยวิธีการหลากหลาย สะดวก และเหมาะสม" ปัจจุบันมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ได้นำโปรแกรมบริหารจัดการข้อมูลห้องสมุดอัตโนมัติมาเป็นส่วนหนึ่งในการบริหารจัดการฐานข้อมูล รวมทั้งนำบทความ วิทยานิพนธ์ และงานวิจัยเชื่อมโยงกับฐานข้อมูลสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ด้านพระพุทธศาสนาอีกทางหนึ่ง

    พระศรีคัมภีรญาณ รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ ซึ่งกำกับดูงานวิชาการมหาวิทยาลัย กล่าวว่า "ห้องสมุดมหาวิทยาลัยจะต้องทำหน้าที่เป็นแหล่งรวบรวมผลงานของมหาวิทยาลัยและคณะสงฆ์ในจังหวัดนั้นๆ ทำหน้าที่เป็นหอจดหมายเหตุ เป็นแหล่งเรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นด้วย"

    แหล่งเรียนรู้พระพุทธศาสนา แหล่งรวบรวมองค์ความรู้ด้านพระพุทธศาสนา จะเกิดมีได้ด้วยผู้บริหารมหาวิทยาลัย คณะสงฆ์ พุทธศาสนิกชน ช่วยกันมอบถวายหนังสือด้านพระพุทธศาสนาเข้าห้องสมุดมหาจุฬาฯ เพื่อการเผยแผ่หลักคำสอนและคลังความรู้ด้านพระพุทธศาสนาต่อไป

    ผู้สนใจศึกษาในมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย สอบถามได้ที่ 035-248-000 ต่อ สำนักทะเบียนและวัดผล

    สกู๊ปข่าวโดย พระมหาศรีทนต์ สมจาโร ผู้อำนวยการส่วนหอสมุดกลาง


แหล่งข่าว : ส่วนเทคโนโลยีสารสนเทศ
Print This Page    Sent to Friend
แสดงความคิดเห็น

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

  • ประกาศ เรื่อง เสนอยื่นซองประมูลร้านจำหน่ายนํ้าดื่ม ที่ศูนย์อาหารสวัสดิการภายใน ปี พ.ศ. ๒๕๖๗
    14 พ.ค. 68 | ข่าวมหาวิทยาลัย
    58
  • พระพรหมวัชรธีราจารย์, ศ.ดร. อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย บรรยายพิเศษเรื่อง บริหารกิจการคณะสงฆ์ในยุคดิจิทัล
    13 พ.ค. 68 | ข่าวมหาวิทยาลัย
    45
  • สมเด็จพระสังฆราช ประทานพระคติธรรม เนื่องในวันวิสาขบูชา 2568 
    11 พ.ค. 68 | ข่าวมหาวิทยาลัย
    103
  • พระพรหมบัณฑิต, ศ.ดร. ประธานกรรมการสมาคมสภาสากลวันวิสาขบูชาโลก กล่าวสรุปงาน
    10 พ.ค. 68 | ข่าวมหาวิทยาลัย
    71
  • รองศาสตราจารย์ ชูศักดิ์ ศิรินิล รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวถวายรายงานต่อประธานในพิธี
    10 พ.ค. 68 | ข่าวมหาวิทยาลัย
    55