![]() |
บทบาทพุทธศาสตรบัณฑิตมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ๔ ภาค ช่วยสร้างความสามัคคีลดค่าใช้จ่ายเงินรัฐฯนับพันล้าน | ||
วันที่ ๐๗/๐๕/๒๐๑๐ | เข้าชม : ๑๑๙๘๓ ครั้ง | |
การรายงานกลุ่มย่อย เป็นผลสืบเนื่องมาจากนิสิตของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ได้เข้าไปปฏิบัติศาสนกิจในพื้นที่โดยทำหน้าที่เป็นครูสอน เป็นวิทยากร เป็นผู้นำชุมชน นำทฤษฏีที่ได้รับการอบรมสั่งสอนจากคณาจารย์ไปสู่ภาคปฏิบัติ จึงเป็นบทบาทสำคัญและจุดเด่นของพุทธศาสตรบัณฑิต มจร ซึ่งเป็นนโยบายของมหาวิทยาลัยที่กำหนดให้พระนิสิตที่เรียนครบตามหลักสูตร ๔ ปี และต้องออกไปปฏิบัติศาสนกิจช่วยเหลือสังคม สนองงานคณะสงฆ์อีก ๑ ปี รวมเป็น ๕ ปี จึงจะมีสิทธิ์รับปริญญาจากมหาวิทยาลัยได้
พระครูนิเทศสุตกิจ ว่าที่พุทธศาสตรบัณฑิต (ภาคใต้) กล่าวว่า “บทบาทของพุทธศาสตรบัณฑิตข้อหนึ่งและมีความสำคัญมากนั้นคือทำอย่างไรไม่ให้ชาวบ้านทิ้งแผ่นดิน อย่าให้ย้าย ให้เกิดความสามัคคี อย่าให้เกิดอันตราย การสร้างความเข้มแข็งให้กับชาวบ้าน ถ้ารัฐบาลทำต้องใช้งบประมาณเป็นแสนล้าน แต่พระทำไม่เสียงบประมาณสักบาท สร้างความเป็นบึกแผ่นสร้างความสามัคคีในชุมชน” พระครูปลัดสุวัฒนจริยคุณ กล่าวว่า “ภัยของพระพุทธศาสนาคือภัยของความมั่นคงของประเทศ และพุทธศาสตรบัณฑิต มจร ได้มีบทบาทเข้าไปช่วยเหลือสังคม ช่วยเหลือรัฐบาล ช่วยเหลืองานคณะสงฆ์มากขึ้น” “จงสอนในที่เรารู้ จงรู้สิ่งที่เราสอน พูดทำให้ ทำให้ดู อยู่ให้เห็น เป็นตัวอย่าง ประหยัดสุด ประโยชน์สูง สร้างความพอดีพอเพียง ใช้จ่ายอย่างฉลาด สร้างความพอดีทางเทคโนโลยี เหมาะสมกับความต้อการและภูมิปัญญา ประสานเทคโนโลยี หาเทคนิกใหม่ๆ อย่างเสมอ สร้างบรรยากาศการเรียน ห้องเรียนไม่สะอาดก็ให้นักเรียนช่วยกันทำความสะอาด สร้างความรับผิดชอบต่อตัวเอง พร้อมกันนี้เอาใจใส่ผู้เรียนอย่างเสมอ ปัญหามีไว้เพื่อการแก้ไข กาลเวลาทำให้เราเกิดความเชี่ยวชาญ” ว่าที่พุทธศาสตรบัณฑิตกล่าวในที่สุด เป็นที่น่าภาคภูมิใจว่าการทำงานของพุทธศาสตรบัณฑิตมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ได้เข้าไปช่วยเหลืองานคณะสงฆ์ สังคม และประเทศชาติ และจะเข้ารับปริญญาในวันที่ ๙ พฤษภาคม ๒๕๕๓ ณ อาคารหอประชุม มวก.๔๘ พรรษา มหาวชิราลงกรณ์ ตำบลลำไทร อำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เป็นครั้งประวัติศาสตร์ของมหาวิทยาลัยที่มีการประกอบพิธีประสาทปริญญาในมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐและเป็นนิสิตบุคคล เปิดสอนระดับปริญญาเอก ๓ สาขาวิชา และปริญญาโท ๑๔ สาขาวิชา ระดับปริญญาตรี ๔ คณะ คือ คณะพุทธศาสตร์ คณะครุศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์ และคณะสังคมศาสตร์ และในปี ๒๕๕๓ มีผู้สำเร็จระดับปริญญาเอก ๙ รูป/คน ปริญญาโท ๒๖๘ คน และระดับปริญญาตรี ๑,๗๙๕ คน ชมประมวลภาพได้ที่ http://gallery.mcu.ac.th/view_album.php?set_albumName=album190 ติดต่อสอบถามรายละเอียดและร่วมเป็นเจ้าภาพอุปถัมภ์มหาวิทยาลัยได้ที่ ๐๓๕-๒๔๘-๐๐๐ ถึง ๕ ภาพโดยฝ่ายประชาสัมพันธ์และเผยแผ่ กรุ๊ปข่าวโดย พระมหาศรีทนต์ สมจาโร ผู้อำนวยการส่วนเทคโนโลยีสารสนเทศ e-mail : srithont@mcu.ac.th |
แหล่งข่าว : ส่วนเทคโนโลยีสารสนเทศ | ||
![]() ![]() |