ข่าวประชาสัมพันธ์
พระธรรมโกศาจารย์ : ชี้ความมั่นคงของมนุษย์ต้องอาศัยหลักพระพุทธศาสนายึดพระราชดำรัสในหลวง
12 พ.ค. 55 | ข่าวมหาวิทยาลัย
284
ข่าวมหาวิทยาลัย
พระธรรมโกศาจารย์ : ชี้ความมั่นคงของมนุษย์ต้องอาศัยหลักพระพุทธศาสนายึดพระราชดำรัสในหลวง
วันที่ ๑๒/๐๕/๒๐๑๒ เข้าชม : ๑๐๓๙๔ ครั้ง

                วันนี้ (๑๑ พ.ค.๕๕) พระธรรมโกศาจารย์ ศ.ดร. กรรมการมหาเถรสมาคม,อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, เจ้าคณะภาค ๒ ได้กล่าวปาฐกถา เรื่อง "เศรษฐศาสตร์เชิงพุทธกับประชาคมอาเซี่ยนในพิธีประสาทปริญญา ประจำปี ๒๕๕๕ ณ อาคารหอประชุม มวก.๔๘ พรรษา มหาวชิราลงกรณ์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดยมีผู้เข้าร่วมประชุมสัมมนากว่า ๓,๐๐๐ คน 

                  พระธรรมโกศาจารย์ กล่าวว่า "สิ่งหนึ่งที่มนุษย์ต้องการคือความมั่นคง ซึ่งจะเอาทหารเข้าไปจัดการไม่ได้ ตามที่องค์การสหประชาชาติ  ๑.(ASEAN Security Community) การอยู่อย่างปลาศจากความกลัวภัย อยู่อย่างไม่หวาดกลัว เดินทางไปไหนก็ได้ ในทุกจังหวัดของประเทศ รวมทั้ง ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้ ไม่กลัว ไม่มีภัยต่อชีวิตและทรัยพ์สิน เราอยากเห็นประเทศไทยเป็นอย่างนี้ มีความมั่นคงของมนุษย์ อยู่อย่างปราศจากเวรภัย ไม่มีสีไหนทะเลาะกับสีใด ถ้าสีไหนทะเลาะกันเอาทหารเข้าไปจะยุ่ง ความมั่นคงของมนุษย์มาจากธรรมะ เอากองทัพธรรมไปช่วย ให้คนรัก คนสามัคคีกัน กองกำลังเอามาคุมไม่ให้สองฝ่ายฆ่ากัน กองกำลังทหารตำรวจไว้ใช้ระงับความรุนแรง แต่จะให้คนรักกันต้องใช้ธรรมะเท่านั้น เป็นสิ่งที่มนุษย์เราต้องการ  ๒.(ASEAN Economic Community) อยู่อย่างปราศจากความยากจน ซึ่งต้องทุกฝ่ายต้องมาพร้อมใจกันสู้ ประเทศไทยมีปัญหา ๓ จังหวัดชายแดนใต้ หนึ่งในนั้นมาจากปัญหาเศรษกิจด้วย ไม่ใช่ความไม่เข้าใจเพียงอย่างเดียว ในหลวงพระราชทานวิธีแก้ปัญหา "เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา" พัฒนาเพื่อให้แก้ไขปัญหาความยากจน เข้าใจเข้าถึงแก้ไขปัญหาเรื่องความหวาดกลัว ในหลวงทรงแนะนำไว้หมด ปัญหาว่า ศาสนาทำอย่างไรในเรื่องนี้ ซึ่งจะเกิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซี่ยนจะต้องบรรลุในปี ๒๐๑๕ หรืออีกสามปีจากนี้ไป ประเด็นที่ ๓ ซึ่งเป็นเสาหลักของเศรษฐกิจอาเซี่ยน (SAEAN Secio-Caitural Community) ซึ่งไม่ทันในปี ๒๐๑๕ แต่ต้องทำให้เสร็จในปี ๒๕๖๓ สังคมประชาคมและวัฒนธรรมอาเซี่ยน คือวัฒนธรรมที่มีรากฐานที่แตกต่าง คือพุทธ คริส อิสลาม พราหมณ์ ฮินดู ชิกซ์ ในแต่ละประเทศจะรวมเป็นหนึ่งได้อย่างไร พระพุทธศาสนาในประเทศไทยจะทำอย่างไรที่ช่วยให้เกิดความกลมกลืนกับประเทศอาเซี่ยนที่แตกต่างทางศาสนาได้อย่างไร ปรับตัวอย่างไรถ้าจะส่งพระธรรมทูตไปสอนในบ้านเขา และถ้าเขามาประเทศเราๆ ตั้งรับอย่างไร ความสัมพันธ์ทางวัฒนธรรมนี้จะมีทุกระดับ ซึ่งตอนนี้ไม่ได้พูดถึงเท่าที่ควร เพราะไปเน้นเรื่องเศรษฐกิจ ภายใน ๒-๓ ปี เราจะต้องมาพูดถึงอาเซี่ยนกับความสัมพันธ์ทางวัฒนธรรมอย่างไร ซึ่งเรื่องนี้โดนกับพระพุทธศาสนาเต็มๆ เป็นภาระของมหาจุฬาฯ เต็มๆ ซึ่งจะต้องมาพูดกันอย่างจริงๆ จังๆ ในโอกาสต่อไป

                ในการปาฐกถาครั้งนี้ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย โดยส่วนเทคโนโลยีสารสนเทศ ได้ทำการถ่ายทอดสดทางอินเตอร์เน็ตประทั่วโลก ทางเว็บไซต์
www.mcu.ac.th

                 ในวันที่ ๑๓ พฤษภาคม ๒๕๕๕ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยจะเป็นพิธีประสาทปริญญา ซึ่งจะมีคณะผู้บริหาร กรรมการสภามหาวิทยาลัย คณาจารย์ เจ้าหน้าที่ แขกผู้มีเกียรติ พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต พุทธศาสตรมหาบัณฑิต พุทธศาสตรบัณฑิต และพุทธศาสนิกชน เข้าร่วมเป็นจำนวนมาก ขอให้ผู้ที่จะมาร่วมงานได้วางแผนการเดินทาง เผื่อเวลาอย่างน้อย ๓ ชั่วโมง และจดรถตามที่ฝ่ายจัดการจราจร เพื่อความสะดวก โดยทางมหาวิทยาลัยเปิดโรงทานบริการผู้มาร่วมงานด้วย

                  ติดต่อสอบถามรายละเอียดได้ที่ ๐๒-๒๒๖-๖๐๒๗, ๐๓๕-๒๔๘-๐๐๐ 
                  
 สกู๊ปข่าวโดย พระมหาศรีทนต์ สมจาโร ผู้อำนวยการส่วนหอสมุดกลาง


แหล่งข่าว : ส่วนเทคโนโลยีสารสนเทศ
Print This Page    Sent to Friend
แสดงความคิดเห็น

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

  • แถลงการณ์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เรื่อง กรณีผู้บริหาร มหาวิทยาลัยปรากฎในข่าว แถลง ณ วันที่ ๑๗ กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๖๘
    17 ก.ค. 68 | ข่าวมหาวิทยาลัย
    394
  • “พุทธนวัตกร บัณฑิตนักพัฒนาชุมชนเชิงสร้างสรรค์ด้วยปัญญาและคุณธรรม”
    08 ก.ค. 68 | ข่าวมหาวิทยาลัย
    243
  • ❝อธิการบดี เมตตาตรวจเยี่ยมบูธนิทรรศการ แสดงผลงาน 20 ปี ใต้ร่มพระบารมีทุนเล่าเรียนหลวงสำหรับพระสงฆ์ไทย ❞
    05 ก.ค. 68 | ข่าวมหาวิทยาลัย
    242
  • โครงการสืบสานงานพ่อต่อยอดทุนเล่าเรียนหลวงสําหรับพระสงฆ์ไทย
    05 ก.ค. 68 | ข่าวมหาวิทยาลัย
    219
  • ครบรอบ ๗ ปี วันก่อตั้งสถาบันพระไตรปิฎกศึกษา มจร
    01 ก.ค. 68 | ข่าวมหาวิทยาลัย
    228