ข่าวประชาสัมพันธ์
พุทธิปัญญาและการปรองดอง
01 มิ.ย. 55 | ข่าวมหาวิทยาลัย
676
ข่าวมหาวิทยาลัย
พุทธิปัญญาและการปรองดอง
วันที่ ๐๑/๐๖/๒๐๑๒ เข้าชม : ๕๘๕๖ ครั้ง

        ความขัดแย้งในสังคม และทำให้เกิดการทะเลาะ แย่งชิง ทำร้ายซึ่งกันและกัน ล้วนมาจากการที่แต่ละคนต่าง “รักตนเอง” มากกว่าที่จะเห็นอกเห็นใจ เข้าใจ และเสียสละเพื่อสังคมและคนอื่น การแก้ไขปัญหาดังกล่าว เพื่อให้เกิดการปรองดองขึ้นนั้น จึงควรนำหลักคำสอนของพระพุทธเจ้ามาแก้ไขปัญหาความขัดแย้งที่เกิดขึ้น ทั้งในระดับกายภาพ และ จิตภาพ

 

 

   (พระภาวนาวิเทศ หลวงพ่อเขมธัมโม-ประเทศอังกฤษ) ในหัวข้อ “พระปัญญาตรัสรู้ของพระพุทธเจ้าเพื่อประโยชน์สุขของมวลมนุษยชาติ”    ได้กล่าวถึง พุทธศาสนาแพร่หลายอยู่ในหลายประเทศ ที่มีความแตกต่างกันทั้งทางด้านพื้นที่ สังคม วัฒนธรรม แต่สามารถที่จะอยู่ร่วมกันอย่างกลมกลืนได้กับทุกวิถีชีวิต นั่นหมายความว่า ท่ามกลางความแตกต่างของชีวิตและความเป็นอยู่ แม้จะเป็นประเทศทางตะวันตก หรือตะวันออก กระทั่งอยู่ในประเทศเดียวกัน แต่ต่างภูมิภาคกัน ก็มีความแตกต่างกันของวิถีปฏิบัติเชิงพุทธศาสนา ที่กระจายออกไปเป็นหลากหลายนิกาย แต่เมื่อทุกสาขาได้มาพบปะรวมตัวกัน ต่างก็พบว่า โดยเนื้อแท้แล้ว พุทธศาสนาล้วนเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ที่ยึดหลักธรรมคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นสรณะเดียวเท่านั้น

ดังนั้น ไม่ว่าจะมีความแตกต่างกันเพียงไร การไม่ยึดมั่นถือมั่น อันเป็นกฎแห่งไตรลักษณ์ (อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา) จึงเป็นหลักธรรมที่เป็นคำตอบสำหรับการใช้ชีวิตให้เท่าทันกับโลกปัจจุบันอย่างเป็นสุข นั่นหมายความว่า ท่ามกลางความแตกต่างทางกายภาพ แม้อยู่กันคนละทิศทาง แต่มนุษย์สามารถอยู่ร่วมกันอย่างปรองดองได้ ด้วยอาศัยหลักพุทธธรรม

 

 

 

  (พระโนริยากิ ประเทศญี่ปุ่น) การดำรงชีวิตท่ามกลางธรรมชาติ โดยการตามดูสภาวะจิต ให้ตั้งมั่นอยู่ในสมาธิ คือวิถีแห่งเซน ที่เกิดขึ้นอย่างเป็นธรรมชาติ สอดคล้องกับการดำเนินชีวิตของชาวญี่ปุ่น ที่ต้องเผชิญกับภัยธรรมชาติทั้งน้อยและใหญ่อยู่ตลอดเวลา  ดังนั้น ไม่ว่าจะต้องรับมือกับเรื่องหนักหนาสาหัสเพียงไร การน้อมนำหลักพุทธศาสนาในการปรับตนเองให้เข้ากับธรรมชาติ มีเมตตาธรรมภายในใจ พร้อมจะเอื้ออาทรต่อตนเองช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์และธรรมชาติรอบตัว จึงเป็นวิถีพุทธที่สอดคล้องและเหมาะสมที่สุดกับความเป็นจริง

   การพัฒนาจิตให้เปี่ยมด้วยเมตตา จึงเป็นการพัฒนาในระดับจิตภาพ ที่สำคัญที่สุดของการพัฒนามนุษย์ และจะเป็นทางออกสำหรับการรับมือกับทุกปัญหาในอนาคต นั่นคือ การปรองดองที่เกิดขึ้นจากภายในตัวตน อันเป็นแก่นแท้ของมนุษย์ทุกคน และ”จิต” เป็นสิ่งเดียวที่ไม่มีความแตกต่าง จึงเป็นความปรองดองที่เกิดขึ้นได้อย่างเท่าเทียมกันโดยแท้จริง

       (ประเด็นภาพรวม) พระพุทธเจ้า ทรงบำเพ็ญเพียรเพื่อค้นหาทางออกในการดับทุกข์ และทรงสอนวิธีแห่งการดับทุกข์มานานกว่า ๒๖๐๐ ปี  แต่มนุษย์ยังคงทำผิดซ้ำๆ และทุกข์กันอยู่ นั่นเป็นเพราะเราไม่ได้นำคำสอนของพระองค์มาใช้ และเราไม่ได้ฝึกใจของเราให้เข้มแข็งเพื่อหลุดพ้นจากกิเลสทั้งปวง

สรุปหัวข้อสำคัญ แห่งการปรองดอง ตามวิถีพุทธ

 

·       การไม่ยึดมั่นถือมั่นในตัวตน แบ่งเขา แบ่งเรา ไม่ยึดติดกับอดีต จนกล่าวโทษกันและกัน แต่ให้มองส่วนดี ที่สามารถนำมาใช้ในปัจจุบัน เพื่อพัฒนาคุณภาพของมนุษย์

·       การมีเมตตาธรรม เอื้อเฟื้อ ช่วยเหลือกัน ทำให้เกิดความเห็นอกเห็นใจกัน รักผู้อื่นเช่นเดียวกับที่รักตนเอง

·       การมีสติ จะทำให้สามารถค้นหาเหตุแห่งความขัดแย้ง และนำไปสู่การแก้ไขปัญหาได้

·       คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหมด คือคำสอนเพื่อทำให้เกิดสันติภาพของโลก

  

 

 


แหล่งข่าว : สำนักงานบริหาร สำนักส่งเสริมพระพุทธศาสนาและบริการสังคม
Print This Page    Sent to Friend
แสดงความคิดเห็น

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

  • อธิการบดี มจร ปาฐกถาพิเศษ เรื่อง พระพุทธศาสนากับอิสรภาพของมนุษย์โลก
    21 ก.ค. 68 | ข่าวมหาวิทยาลัย
    22
  • แถลงการณ์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เรื่อง กรณีผู้บริหาร มหาวิทยาลัยปรากฎในข่าว แถลง ณ วันที่ ๑๗ กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๖๘
    17 ก.ค. 68 | ข่าวมหาวิทยาลัย
    453
  • “พุทธนวัตกร บัณฑิตนักพัฒนาชุมชนเชิงสร้างสรรค์ด้วยปัญญาและคุณธรรม”
    08 ก.ค. 68 | ข่าวมหาวิทยาลัย
    254
  • ❝อธิการบดี เมตตาตรวจเยี่ยมบูธนิทรรศการ แสดงผลงาน 20 ปี ใต้ร่มพระบารมีทุนเล่าเรียนหลวงสำหรับพระสงฆ์ไทย ❞
    05 ก.ค. 68 | ข่าวมหาวิทยาลัย
    244
  • โครงการสืบสานงานพ่อต่อยอดทุนเล่าเรียนหลวงสําหรับพระสงฆ์ไทย
    05 ก.ค. 68 | ข่าวมหาวิทยาลัย
    222