ในนามของผู้อำนวยการโครงการปริญญาโท สาขาสันติศึกษา พานิสิตคณาจารย์และนิสิต "วิศวกรสันติภาพ" ประจำโครงการฯ รุ่นที่ ๑ ไปศึกษาดูงาน "รูปแบบการเสริมสร้างสังคมสันติสุข" ของชุมชนแพรกหนามแดง อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม ชุมชนแพรกหนามแดงเป็นชุมชนที่ดำรงอยู่กับระบบ ๓ น้ำ คือ น้ำจืด น้ำกร่อย และน่ำเค็ม วิถีชีวิตโดยทั่วไป จึงต้องจัดการกับระบบสามน้ำให้สอดคล้องและเหมาะสมกับวิถีชีวิต
จะเห็นว่า จุดเริ่มต้นของความขัดแย้งจนนำไปสู่ความรุนแรง มาจากการบริหารจัดการน้ำที่ไม่สอดคล้องกับวิถีของชีวิต อันเนื่องมาจากตัดถนนสายธนบุรีปากท่อกั้นการขึ้นลงตามธรรมชาติของน้ำเค็มและ น้ำจืด ประกอบกับกรมชลประธานได้ใช้แนวคิดเดิมในการเปิดปิดน้ำที่ไม่สอดรับกับวิถี ของน้ำ จึงทำให้ชุมชน ซึ่งนำโดยคุณปัญญา โตกทองได้สร้างกระบวนการมีส่วนร่วมกับชุมชนโดยการปรึกษาหารือเพื่อหาทาง จัดการความขัดแย้งระหว่างกลุ่มน้ำเค็มและน้ำจืด บทสรุปที่ได้มา คือ "ประตูกั้นน้ำแบบหับเผย" ซึ่งเป็น "รูปแบบการจัดการน้ำในลำคลองในตำลบแพรกหนามแดงที่เหมาะสมและเอื้อต่อความ ต้องการของชุน"
ผลประโยชน์ต่อเนื่องที่ได้รับจากความขัดแย้งเกี่ยวกับน้ำเค็มและน้ำจืด คือ ชุมชนทั้งสองกลุ่มได้ใช้กระบวนการเรียนซึ่งกันและกันจนเข้าใจ และนำไปสู่การร่วมกันพัฒนาชุมชนในมิติอื่นๆ เช่น กลุ่มสัจจะออมทรัพย์ กลุ่มเยาวชนเพื่อต้านยาเสพติด กลุ่มอนุรักษ์ป่าชายเลน และการสร้างทางเลือกในการป้องกันอุบัติเหตุทางถนนของคนในชุมชน ตัวแปรของความสำเร็จนอกจากความร่วมมือแล้ว คือ "องค์ความรู้โดยใช้กระบวนการวิจัยเข้ามาพัฒนานวัตกรรมใหม่ๆ" ฉะนั้น ความรู้จึงกลายเป็นอำนาจที่สำคัญในการต่อสู้ การนำเสนอ และการชี้แจ้งต่อกลุ่มคนที่มีความเชื่อ และข้อมูลที่แตกต่าง
"ความขัดแย้ง" ที่เกิดขึ้นในชุมชนมิได้เป็น "ปัญหา" หากแต่เป็นเครื่องมือสำคัญที่ทำให้ชุมชนได้ร่วมกันสร้าง "ปัญญา" จนนำชุสชนไปสู่มิติของการพบปะ พูดคุย แลกเปลี่ยนเรียนรู้ข้อมูล ข้อห่วงใย และความกังวลของกันและกัน จนนำสิ่งเหล่านั้นมาสร้างสรรค์สังคมและชุมชนให้เกิดสันติและอยู่ร่วมกัน อย่างมีความสุข นับได้ว่า ชุมชนแพรกหนามแดงได้กลายเป็นแม่แบบที่สำคัญ (Best Practice) ของโครงการปริญญาโท สาขาสันติศึกษาได้ถอดบทเรียนเพื่อนำไปสู่การเรียนรู้ และพัฒนาวิศวกรสันติภาพเพื่อให้มีเจตคติในเชิงบวกต่อการหวานเมล็ดพันธ์สันติ ภาพให้เกิกขึ้นแก่ชีวิตและสังคมต่อไป ดังม๊อตโตของโครงการที่ว่า "สันติศึกษา พัฒนาชีวิตและสังคม อุดมสันติ"
โครงการฯ ขออนุโมทนาขอบคุณโยมปัญญา โตกทอง ท่านสมาชิกวุฒิสภา สุรจิต ชิรเวทย์ คุณมะโหนก ร่วมไปถึงทีมงานของชุมชนแพรกหนามแดงทุกท่าน ที่ได้เสียสละความส่วนตนร่วมกันสร้างสันติสุขให้แก่ชีวิต และชุมชน จนกลายเป็นแรงบันดาลใจที่สำคัญให้แก่นิสิตสาขาสันติศึกษาที่เข้าร่วมดูงาน และรับฟัง "บทเรียนแห่งชีวิต" ในครั้งนี้ เชื่อมั่นว่านิสิตที่ได้รับการส่งต่อลมหายใจแห่งสันติภาพเหล่านี้ จะร่วมกันส่งต่อพลังแห่งสันติภาพให้แก่ชุมชนและสังคมในที่อื่นๆ ให้อยู่ร่วมกันอย่างสันติสุขในทุกวินาทีแห่งลมหายใจสืบไป
ที่มา : คมชัดลึกออนไลน์วันที่ 14-10-2556