![]() |
นักวิชาการทางพระพุทธศาสนา ๕ ประเทศ ร่วมงานสัมมนาวิชาการระดับภูมิภาค เรื่อง อารยธรรมพระพุทธศาสนาในลุ่มน้ำโขง | ||
วันที่ ๒๗/๐๖/๒๐๐๙ | เข้าชม : ๑๐๖๗๑ ครั้ง | |
![]() พระศรีคัมภีรญาณ รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ประธานบริหารศูนย์ พุทธศาสน์ศึกษาลุ่มน้ำโขง กล่าวว่า การศึกษาประวัติและพัฒนาการเกี่ยวกับพระพุทธศาสนา มักจะมีการศึกษาวิเคราะห์ และตีความสัญลักษณ์ทางสถาปัตยกรรมและความเชื่อทางพระพุทธศาสนาที่ปรากฏในประเทศอินเดีย เป็นด้านหลัก ในขณะเดียวกัน การศึกษาวิเคราะห์และตีความที่ผ่านมามักจะมุ่งเน้นศึกษาในพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่งเป็นการเฉพาะ อันเป็นการ ศึกษาพระพุทธศาสนาแบบแยกส่วน โดยมิได้มีการศึกษาและตีความให้ครอบคลุมทุกพื้นที่ที่เกี่ยวข้องเพื่อให้เห็นภาพพระ พุทธศาสนาในทุกๆ มิติ ที่สัมพันธ์กัน เช่น สภาพเศรษฐกิจ การเมือง สังคม วัฒนธรรม ประเพณี ความเชื่อ ค่านิยม การสัมมนาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อให้มีการศึกษาวิเคราะห์และตีความพระพุทธศาสนาในระดับ ภูมิภาค โดยสามารถมองภาพสัญลักษณ์ ประวัติ และพัฒนาการได้ชัดเจน มากยิ่งขึ้น รวมถึงการมีส่วนร่วมของนักวิชาการ ในระดับภูมิภาค สามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลและองค์ความรู้เกี่ยวกับพุทธศาสนาให้กว้างขวางขึ้น แหล่งข่าว กองวิชาการ สำนักงานอธิการบดี ขึ้นข่าวโดย พระมหาศรีทนต์ สมจาโร ผู้อำนวยการส่วนเทคโนโลยีสารสนเทศ มจร e-mail.srithont@mcu.ac.th |
แหล่งข่าว : ส่วนเทคโนโลยีสารสนเทศ | ||
![]() ![]() |