ข่าวประชาสัมพันธ์
มจร เตรียมพร้อมเป็นเจ้าเภาพประชุมวิชาการลูกเสือชาวพุทธโลกเฉลิมพระเกียรติ
16 ต.ค. 53 | ข่าวมหาวิทยาลัย
465
ข่าวมหาวิทยาลัย
มจร เตรียมพร้อมเป็นเจ้าเภาพประชุมวิชาการลูกเสือชาวพุทธโลกเฉลิมพระเกียรติ
วันที่ ๑๖/๑๐/๒๐๑๐ เข้าชม : ๑๓๒๓๖ ครั้ง

     

 

     มจร วังน้อย: 15 ตุลาคม 53 พระธรรมโกศาจารย์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เป็นประธานเปิดโครงการอบรมวิชาผู้กำกับลูกเสือสามัญ ชั้นความรู้เบื้องต้น (B.T.C.) ณ ค่ายลูกเสือชั่วคราว มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย อ.วังน้อย จ.พระนครศรีอยุธยา ระหว่างวันที่ 14-17 ตุลาคม 2553 โดยความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย และสโมสรลูกเสือสมเด็จพระศรีนครินทร์ฯ ในพระอุปถัมภ์สมเด็จพระพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ โดยมีคณาจารย์เจ้าหน้าที่เข้ารับการฝึกอบรม จำนวน ๘๐ รูป/คน

            พระธรรมโกศาจารย์ กล่าวว่า “มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย  ได้จัดโครงการลูกเสือเผยแผ่พระพุทธศาสนา  ฝึกอบรมวิชาผู้กำกับลูกเสือสามัญขั้นความรู้เบื้องต้น  แก่คณาจารย์  และเจ้าหน้าที่  มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย  เพื่อให้รับรู้กิจการลูกเสือและนำไปประยุกต์ในการเผยแผ่พระพุทธศาสนา  กิจการลูกเสือเป็นกิจการนานาชาติ  มีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นพระองค์ประมุขของคณะลูกเสือไทย  ตามพระราชบัญญัติลูกเสือพุทธศักราช2551 นับเป็นกิจกรรมเฉลิมพระชนมพรรษา 84  พรรษา  ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ และร่วมฉลอง 100 ปีลูกเสือไทย ในปี  2554  และหากดำเนินการสำเร็จ  มหาวิทยาลัยอาจกำหนดจัดให้มีการจัดการเรียนการสอนระดับอุดมศึกษา ซึ่งจะเป็นการผลิตบุคลากรในการเผยแผ่พระพุทธศาสนา  อย่างมีประสิทธิภาพต่อไป สิ่งที่ลูกเสือต้องปฏิบัติในฐานะที่เป็นลูกเสือชาวพุทธ คือ ให้รู้เท่า รู้ทัน รู้กัน รู้แก้ รู้แพ้ รู้ชนะ และรู้อภัย ที่สำคัญจะต้องมีสติ สัมปชัญญะอยู่เสมอ อย่าพลั้งเผลอ ซึ่งมหาวิทยาลัยก็พร้อมที่จะเป็นศูนย์กลางของการชุมนุมลูกเสือโลกเฉลิมพระเกียรติที่จะจัดขึ้นในระหว่างวันที่ 8-11 ธันวาคม 2553 นี้”

            ด้าน ศ.นพ.ยงยุทธ  วัชรดุลย์ ผู้อำนวยการฝึกอบรม กล่าวว่า “ความรู้ที่ได้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมจะนั้นถือว่าครบวงจร  และเป็นการส่งเสริมนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการที่ให้คุณธรรมนำความรู้  ผู้เข้าอบรมเหล่านี้เป็นลูกเสือชาวพุทธและรวมตัวกันประกอบกิจกรรมลูกเสือ โดยใช้วัดเป็นที่ตั้งของกองลูกเสือ  ใช้ผ้าผูกคอทำจากจีวรของพระที่ท่านสละแล้ว พกรูปของบิดา  มารดาติดตัว  ตามกฎของลูกเสือข้อ 7 ในขณะสวมเครื่องแบบ และยังมีอุปกรณ์ที่พร้อมจะช่วยเหลือผู้อื่นได้ทุกเมื่อ และเป็นการส่งเสริมลูกเสือให้เข้าวัดและผู้ปกครอง ญาติอาจร่วมกิจกรรมลูกเสือได้”

            “ครั้งนี้ ถือเป็นครั้งแรกในประวัติลูกเสือไทยที่มีการฝึกอบรมลูกเสือชาวพุทธขึ้นในสถาบันการศึกษาแห่งนี้ซึ่งเป็นสถาบันการศึกษาของคณะสงฆ์   กิจการลูกเสือ กฎระเบียบและแนวปฏิบัติมีลักษณะสอดคล้องกับหลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ดังนั้น การที่มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยมีนโยบายในการจัดฝึกอบรมลูกเสือครั้งนี้จึงถือเป็นการเริ่มต้นที่ดีและจะเป็นต้นแบบของกิจการลูกเสือชาวพุทธต่อไปและยังสามารถคัดเลือกผู้เข้ารับการฝึกอบรมให้เข้าร่วมกิจกรรมลูกเสือเกี่ยวกับศาสนาพุทธได้ในการประชุมวิชาการลูกเสือชาวพุทธจากหลายประเทศในวันที่ 8-11 ธันวาคม 2553 ที่มหาวิทยาลัยฯ รับเป็นเจ้าภาพ และในการออกร้านลูกเสือชาวพุทธในงานชุมนุมลูกเสือโลกครั้งที่ 22 ณ ประเทศสวีเดน ระหว่าง 27 กรกฎาคม- 7 สิงหาคม 2554 ซึ่งอธิการบดีมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยรับจะสนับสนุนจัดหาที่ตั้งของสหพันธ์ลูกเสือชาวพุทธโลก รวมทั้งที่ทำการของลูกเสือชาวพุทธไทย” ศ.นพ.ยงยุทธ กล่าว

 ฝ่ายประชาสัมพันธ์และเผยแผ่/ข่าว/ภาพ


แหล่งข่าว : ส่วนเทคโนโลยีสารสนเทศ
Print This Page    Sent to Friend
แสดงความคิดเห็น