ข่าวประชาสัมพันธ์
ผู้แทนศาสนาภาวนาเพื่อสันติภาพโลกโดยการร่วมแสวงหาความจริงเพื่อสันติภาพ
27 ก.พ. 55 | ข่าวมหาวิทยาลัย
260
ข่าวมหาวิทยาลัย
ผู้แทนศาสนาภาวนาเพื่อสันติภาพโลกโดยการร่วมแสวงหาความจริงเพื่อสันติภาพ
วันที่ ๒๗/๐๒/๒๐๑๒ เข้าชม : ๕๖๐๙ ครั้ง

     เมื่อวันอาทิตย์ที่ ๒๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๕ ที่ผ่านมา พระธรรมโกศาจารย์, ศ.ดร. อธิการบดี ได้มอบหมายให้พระมหาหรรษา ธมฺมหาโส, ผศ.ดร. ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายวิชาการ เป็นผู้แทนของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยเดินทางไปร่วมเสวนาในนามของศาสนาพุทธ เรื่อง "ศาสนา: การแสวงหาความจริงเพื่อสันติภาพ" ในงาน "ภาวนาเพื่อส้นติภาพโลก" ณ อาสนวิหารอัสสัมชัญ บางรัก โดยมี ดร.วิศรุต เลาะวิถี เป็นผู้แทนศาสนาอิสลาม นายวิชัย เปรมมณีสกุล เป็นผู้แทนศาสนาฮินดู นายมานิต สัจจะมิตร เป็นผู้แทนศาสนาซิกซ์ และ บาทหลวง สานิจ สถะวีระวงศ์ เป็นผู้แทนศาสนาคริสต์ ซึ่งในช่วงเย็นได้แนวนำเสนอแนวทางศาสนาเพื่อสันติภาพ และภาวนาเพื่อสันติภาพ โดยมี มุขนายก เกรียงศักดิ์ โกวิทวาณิช เป็นประธานในพิธี ในการร่วมงานครั้งนี้ ได้มีผู้แทนทั้ง ๕ ศาสนาร่วมงานประมาณ ๒๕๐ รูป/คน

     พระมหาหรรษา ธมฺมหาโส, ผศ.ดร. ได้ชี้ให้เห็นว่า "พระ พุทธเจ้าทรงเพียรพยายามที่จะแสวงหาความจริง ค้นพบความจริง เข้าถึงความจริง และทรงมีพระกรุณาอันยิ่งใหญ่ที่นำความจริงมาเปิดเผยแก่มวลมนุษยชาติ ความจริงที่พระองค์ทรงค้นพบคือความจริงอันประเสริฐ ซึ่งประกอบด้วยทุกข์ สาเหตุของทุกข์ ความดับทุกข์ และหนทางที่ทำให้ถึงความดับทุกข์" และพระพุทธองค์ได้ทรงย้ำว่า "แม้ ว่าพระองค์จะเกิดหรือไม่เกิดก็ตาม ความจริงดังกล่าวก็ยังมีอยู่"  จะเห็นว่า พระองค์ไม่ทรงผูกขาดความจริง และสงวนพื้นที่ความจริงเอาเฉพาะพระองค์เท่านั้น มนุษยชาติทุกหมู่เหล่ามีสิทธิและเสรีภาพที่จะเข้าถึงความจริงอย่างเท่าเทียม และทั่วถึง

     "การเข้าถึงความจริง คือ การเข้าถึงนิพพาน การเข้าถึงนิพพาน คือ การเข้าถึงสันติภาพ และการเข้าถึงสันติภาพ คือการเข้าถึงความสุขที่ซ่อนอยู่ภายในใจ ด้วยเหตุนี้ เราไม่สามารถที่จะเสาะแสวงหาความจริงได้ภายนอกจิตใจของเรา เพราะความจริงนั้นไซร้อยู่ใกล้แค่ใจเรา ขอเพียงเรามีดวงจิตที่สงบเย็นเราจะค้นพบความจริงที่ซ่อนตัวอยู่ภายในใจของเรา"

     พระมหาหรรษาได้นำเสนอแนวทางแห่งการอยู่ร่วมกันของแต่ละศาสนิกอย่างสันติสุขว่า (๑) ทุกศาสนิกจะต้องศึกษา ทำความเข้าใจ และเข้าถึงความจริงของแต่ละศาสนาให้ชัดเจน (๒) ทุกศาสนิกจะต้องศึกษา และทำความเข้าใจความจริงของศาสนาอื่นๆ ว่า อะไรคือความจริง และอะไรคือความจริงของความรู้สึก (๓) กำหนดท่าทีที่ถูกต้องและเหมาะสมต่อความจริงของศาสนาอื่นๆ โดยไม่เพียรที่จะถามว่า ทำไมเขาจึงเข้าใจความจริงไม่เหมือนเรา แต่ควรจะถามว่า เราจะอยู่กับความจริงที่แตกต่างจากเราได้อย่างไร จึงจะมีความสุข


แหล่งข่าว : ส่วนเทคโนโลยีสารสนเทศ
Print This Page    Sent to Friend
แสดงความคิดเห็น

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

  • แถลงการณ์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เรื่อง กรณีผู้บริหาร มหาวิทยาลัยปรากฎในข่าว แถลง ณ วันที่ ๑๗ กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๖๘
    17 ก.ค. 68 | ข่าวมหาวิทยาลัย
    369
  • “พุทธนวัตกร บัณฑิตนักพัฒนาชุมชนเชิงสร้างสรรค์ด้วยปัญญาและคุณธรรม”
    08 ก.ค. 68 | ข่าวมหาวิทยาลัย
    240
  • ❝อธิการบดี เมตตาตรวจเยี่ยมบูธนิทรรศการ แสดงผลงาน 20 ปี ใต้ร่มพระบารมีทุนเล่าเรียนหลวงสำหรับพระสงฆ์ไทย ❞
    05 ก.ค. 68 | ข่าวมหาวิทยาลัย
    241
  • โครงการสืบสานงานพ่อต่อยอดทุนเล่าเรียนหลวงสําหรับพระสงฆ์ไทย
    05 ก.ค. 68 | ข่าวมหาวิทยาลัย
    215
  • ครบรอบ ๗ ปี วันก่อตั้งสถาบันพระไตรปิฎกศึกษา มจร
    01 ก.ค. 68 | ข่าวมหาวิทยาลัย
    225