ข่าวประชาสัมพันธ์
อธิการบดีมหาจุฬาฯ ย้ำการประกันคุณภาพคือเครื่องมือพัฒนามหาวิทยาลัย
14 ก.ย. 55 | ข่าวมหาวิทยาลัย
361
ข่าวมหาวิทยาลัย
อธิการบดีมหาจุฬาฯ ย้ำการประกันคุณภาพคือเครื่องมือพัฒนามหาวิทยาลัย
วันที่ ๑๔/๐๙/๒๐๑๒ เข้าชม : ๙๕๗๙ ครั้ง

วันนี้ (๑๒ กันยายน ๒๕๕๕) ณ สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ต. ลำไทร อ.วังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา พระธรรมโกศาจารย์, ศ.ดร. อธิการบดี พร้อมด้วยคณะผู้บริหาร และเจ้าหน้าที่ฝ่ายปฏิบัติการทั้งส่วนกลางและภูมิภาค ได้ร่วมต้อนรับคณะผู้ประเมินคุณภาพการศึกษาภายในระดับสถาบัน (สกอ) ที่เข้ามาตรวจเยี่ยมและประเมินคุณภาพการศึกษาภายในของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ประจำปีการศึกษา ๒๕๕๔  ระหว่างวันที่ ๑๒-๑๔ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๕ 

คณะกรรมการดังกล่าว ประกอบด้วย รศ.ดร.วิเชียร ชิวพิมาย รองอธิการฝ่ายวิชาการ มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล ประธานกรรมการ รศ.พีระวุฒิ สุวรรณจันทร์ คณบดีคณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเจ้าฯ ลาดกระบัง ผศ.ดร.ตวงรักษ์ นันทวิสารกุล คณบดีคณะวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง ผศ.ดร.โกนิฎฐ์ ศรีทอง หัวหน้าภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา คณะสังคมศาสตร์ และอาจารย์ไฉไลฤดี ยุวนะศิริ อาจารย์ประจำวิทยาเขตเชียงใหม่ 
 
 
รศ.ดร.วิเชียร ชิวพิมายในฐานะประธานกรรมการในการตรวจเยี่ยมและประเมินได้กล่าวเบื้องต้นแก่ผู้บริหารมหาวิทยาลัยว่า “มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยเป็นมหาวิทยาลัยสงฆ์แห่งคณะสงฆ์ไทยที่มีบทบาทที่โดดเด่นต่อการเสริมสร้าง และพัฒนาคุณธรรมและจริยธรรมแก่สังคมไทย การที่คณะกรรมการทุกท่านเดินทางมาตรวจเยี่ยมและประเมินในครั้งนี้ จะเข้ามาทำหน้าที่อย่างกัลยาณมิตร เพื่อนำเสนอประเด็นที่เป็นจุดเด่น จุดด้อย และแนวทางในการพัฒนามหาวิทยาลัย เพื่อให้มหาวิทยาลัยได้ใช้แนวทางดังกล่าวเป็นเครื่องมือสำคัญในการบริหารให้สอดรับกับวิสัยทัศน์ที่ประสงค์จะเน้นจัดการศึกษาพระพุทธศาสนาบูรณาการกับศาสตร์สมัยใหม่ พัฒนาจิตใจและสังคม”
 
 
ในขณะที่พระธรรมโกศาจารย์,ศ.ดร. อธิการบดี ได้กล่าวต้อนรับว่า “มหาวิทยาลัยมีความยินดีอย่างยิ่งที่จะได้ถือโอกาสนี้ รับฟังแนวทางจากคณะกรรมการผู้ตรวจประเมิน เพื่อนำผลดังกล่าวมาพัฒนามหาวิทยาลัยทั้ง ๔ พันธกิจ คือ การผลิตบัณฑิต การวิจัย การบริการวิชาการ และการทำนุบำรุงศิลปะวัฒนธรรม จะเห็นว่าตั้งแต่มหาวิทยาลัยได้เริ่มพัฒนาในเชิงกายภาพตลอดระยะเวลา ๑๐ กว่าปีที่ผ่านมา ได้นำทุนทางสังคม (Social Capital) เข้ามาช่วยสนับสนุนเป็นจำนวนมาก”
 
“นับตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไปมหาวิทยาลัยจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องก้าวไปสู่การพัฒนาบุคลากรของมหาวิทยาลัยให้มีความสามารถในการบริหาร และพัฒนามหาวิทยาลัยให้เป็นศูนย์กลางการศึกษาพระพุทธศาสนาของโลกอย่างยั่งยืน โดยใช้เครื่องมือคือการประกันคุณภาพเข้ามาช่วยเป็นกระจกเพื่อสะท้อนภาพรวมในการบริหารซึ่งจะนำไปสู่การปฏิบัติอย่างมีประสิทธิภาพต่อไป” พระธรรมโกศาจารย์ กล่าวเพิ่มเติม
 

แหล่งข่าว : ส่วนเทคโนโลยีสารสนเทศ
Print This Page    Sent to Friend
แสดงความคิดเห็น

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

  • แถลงการณ์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เรื่อง กรณีผู้บริหาร มหาวิทยาลัยปรากฎในข่าว แถลง ณ วันที่ ๑๗ กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๖๘
    17 ก.ค. 68 | ข่าวมหาวิทยาลัย
    389
  • “พุทธนวัตกร บัณฑิตนักพัฒนาชุมชนเชิงสร้างสรรค์ด้วยปัญญาและคุณธรรม”
    08 ก.ค. 68 | ข่าวมหาวิทยาลัย
    241
  • ❝อธิการบดี เมตตาตรวจเยี่ยมบูธนิทรรศการ แสดงผลงาน 20 ปี ใต้ร่มพระบารมีทุนเล่าเรียนหลวงสำหรับพระสงฆ์ไทย ❞
    05 ก.ค. 68 | ข่าวมหาวิทยาลัย
    241
  • โครงการสืบสานงานพ่อต่อยอดทุนเล่าเรียนหลวงสําหรับพระสงฆ์ไทย
    05 ก.ค. 68 | ข่าวมหาวิทยาลัย
    216
  • ครบรอบ ๗ ปี วันก่อตั้งสถาบันพระไตรปิฎกศึกษา มจร
    01 ก.ค. 68 | ข่าวมหาวิทยาลัย
    227