![]() |
ความเป็นธรรมทางสังคม จิตสำนึกพระนิสิตมหาจุฬา | |||
วันที่ ๑๘/๐๗/๒๐๑๐ | เข้าชม : ๖๔๘๔ ครั้ง | ||
1.มหาจุฬาฯ วิทยาเขตขอนแก่น นอกจากก่อตั้งเพื่อขยายโอกาสทางการศึกษาระดับปริญญาตรี โท เอก แก่พระภิกษุสามเณรและฆราวาสในจังหวัดขอนแก่นแล้ว ยังมีความหมายในเชิง "ประวัติศาสตร์ทางจิตวิญญาณแห่งการต่อสู้เพื่อความเป็นธรรม" ของเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (อาจ อาสภเถร) ซึ่งเป็นชาวขอนแก่นที่เป็นผู้บุกเบิกการศึกษามหาวิทยาลัยสงฆ์ ขยายโอกาสทางการศึกษาให้ลูกคนยากจนในชนบทอีสานได้มีโอกาสบวชเรียนมากขึ้น
ต่อมาเมื่อพ้นโทษ ท่านได้รับการถวายคืนสมณศักดิ์ และตำแหน่งสำคัญอื่นๆ พร้อมกับได้เลื่อนสมณศักดิ์เป็นสมเด็จพระพุฒาจารย์ ดังนั้น สำหรับพระสงฆ์ชาวขอนแก่น เจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ ที่ชาวบ้านเรียกติดปากว่า "หลวงพ่อพระพิมลธรรม" คือ แบบอย่างของพระสงฆ์ผู้อุทิศตนเพื่อพระพุทธศาสนา ให้โอกาสทางการศึกษากับลูกคนจน เข้าถึงจิตใจของชาวบ้าน และต่อสู้เพื่อความเป็นธรรม แบบ "ไม้ซีกงัดไม้ซุง" ทว่าในที่สุด "ธรรมย่อมชนะอธรรม" พระครูสุวิธานพัฒนบัณฑิต กล่าวว่า "อาตมา ย้ำกับพระนิสิตที่นี่อยู่เสมอว่า เป็นนิสิตมหาจุฬาฯ ต้องรู้ประวัติหลวงพ่อพระพิมลธรรม ต้องซึมซับจิตวิญญาณที่รักความเป็นธรรม และต้องไม่ลืมคำสอนของหลวงพ่อ ที่ไม่ให้ลืมรากเหง้าของตนเองที่มาจากลูกชาวบ้านซึ่งส่วนใหญ่เป็นชนชั้นที่เสียเปรียบในสังคม" 2.วิทยาเขตแห่งนี้ต้องการสร้างพระที่ฉลาดขึ้น หมายความว่าการศึกษาต้องเน้น "มิติศาสนาเพื่อสังคม" มากขึ้น คือไม่ใช่เรียนวิชาการอย่างเดียวโดยไม่เชื่อมโยงกับทุกข์ของชาวบ้าน เราต้องรู้หลักคำสอนและวิธีคิดแบบพุทธอย่างถูกต้อง สามารถเป็นที่พึ่งทางความคิดของชาวบ้านได้ รองอธิการบดี เล่าว่า "ทุกวันนี้ชาวอีสานขาดผู้นำทางความคิด แม่ค้าขายลูกชิ้นคนหนึ่งเล่าให้อาตมาฟังว่า ที่ออกไปชุมนุมทางการเมืองไม่ใช่เพราะจน เรื่องความยากจนนี่มันจนมาแต่รุ่นปู่ย่าตายายแล้ว แต่ที่ไปชุมนุมกับคนเสื้อแดงเพราะมันทนไม่ได้ บ้านเมืองมันไม่ยุติธรรม ทำไมรัฐบาลที่คนอีสานเลือกมา ทำประโยชน์ให้คนจน จึงถูกทหารปฏิวัติ" ท่านเล่าต่อว่า "มันเป็นปรากฏการณ์ที่อาตมาไม่เคยเห็นมาก่อน แต่ก่อนคนบ้านเราแทบไม่เคยสนใจการเมือง แต่ตอนนี้เขามองเห็นปัญหาการเมืองว่ามันเกี่ยวข้องกับชีวิตความเป็นอยู่ของเขาจริงๆ แต่ที่ชัดเจนมาก คือ ชาวบ้านอีสานเกิดจิตสำนึกเรื่องความเป็นธรรม เขาเห็นว่าการรัฐประหารล้มรัฐบาลที่เขาเลือก คือ ความไม่เป็นธรรม" 3.ในมุมมองของพระครูสุวิธานพัฒนบัณฑิต เรื่อง "สำนึกความเป็นธรรมทางสังคม" ที่ท่านเห็นว่าเกิดขึ้นแล้วในคนอีสานจำนวนมาก เป็นสำนึกที่มี "คุณค่า" ที่จะต้องไม่เสื่อมสลายไปพร้อมกับความพ่ายแพ้ ความสูญเสียจากการที่ชาวบ้านออกมาต่อสู้เพื่อความเป็นธรรม ฉะนั้น ท่านจึงเห็นว่าพระสงฆ์ที่เป็นลูกของชาวบ้านส่วนใหญ่ที่เสียเปรียบในสังคม อยู่ใกล้ชิดร่วมทุกข์สุขกับชาวบ้าน พึ่งพาปัจจัยสี่จากชาวบ้าน และเป็นผู้มีโอกาสศึกษาซึมซับคำสอนของพระพุทธศาสนา จะต้องเป็นผู้ปลุกปลอบ ให้กำลังใจ ให้แง่คิด ให้สติ ให้ปัญญาเพื่อส่งเสริมจิตสำนึกความเป็นธรรมของชาวบ้านให้คงอยู่ และพัฒนาต่อไป ท่านกล่าวว่า "มหาวิทยาลัยสงฆ์ไม่ได้ปิดกั้นการแสดงออกทางการเมืองของพระนิสิต เพราะที่จริงพระพุทธเจ้าก็เกี่ยวข้องกับการเมือง เมื่อมีความจำเป็น เช่น การห้ามทัพไม่ให้พระญาติฆ่ากันเอง เป็นต้น หากพระนิสิตเห็นใจชาวบ้าน เข้าใจความทุกข์ของชาวบ้าน ร่วมต่อสู้กับชาวบ้านที่ไม่ได้รับความเป็นธรรม โดยพยายามรักษาความสำรวม หรือสมณสารูป ก็ไม่ใช่เรื่องที่ผิดอะไร..." นี่คือ "เสียง" อีกด้านของพระสงฆ์ที่อยู่ใกล้ชิดชาวบ้านอีสาน และมองเห็น "จิตสำนึกความเป็นธรรมทางสังคม" ของชาวบ้านว่า เป็น "จิตสำนึกพลเมือง" ในระบอบประชาธิป ไตยที่มีคุณค่า และพัฒนาให้มีพลังต่อไป! วันที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2553 ปีที่ 20 ฉบับที่ 7171 ข่าวสดรายวันหน้า 29 ฝ่ายประชาสัมพันธ์และเผยแผ่ |
แหล่งข่าว : ส่วนเทคโนโลยีสารสนเทศ | ||
![]() ![]() |