ข่าวประชาสัมพันธ์
มจร.วิเคราะห์จุดเด่นนิกายเซนเผยแผ่ในญี่ปุ่น
24 ก.พ. 54 | ข่าวมหาวิทยาลัย
354
ข่าวมหาวิทยาลัย
มจร.วิเคราะห์จุดเด่นนิกายเซนเผยแผ่ในญี่ปุ่น
วันที่ ๒๔/๐๒/๒๐๑๑ เข้าชม : ๗๓๗๒ ครั้ง

 

คมชัดลึก : วันที่ 23 กุมภาพันธ์ เวลา 09.00 น. พระครูปลัดสุวัฒนวชิรคุณ (ไสว โชติโก) รักษาการผู้อำนวยการสถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มจร. เป็นประธานในการประชุมเขียนบทสรุป “การศึกษาพระพุทธศาสนาในญี่ปุ่น”

       โดยมีผู้ทรงคุณวุฒิของสถาบันฯ ประกอบด้วย รศ.ดร.วิชัย วงษ์ใหญ่ รศ.ดร.ภาณุวัฒน์ สุริยฉัตร ผศ.ดร.เริงชัย หมื่นชนะ   ผศ.บุญมี แท่นแก้ว อาจารย์สนิท ไชยวงศ์ค ดร.มารุต พัฒนผล    และเจ้าหน้าที่ของสถาบัน จำนวน 4 รูป/คน   เข้าร่วมประชุม ณ ห้องประชุม 209  อาคารมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วัดมหาธาตุฯ

 

          ในการประชุมครั้งนี้ เป็นการประชุมเขียนบทสรุปผลงานวิจัย ซึ่งพบว่า โครงการสร้างองค์กร ระเบียบองค์กร การวิจัย การจัดการศึกษา การเผยแผ่ การปฏิบัติกรรมฐาน และอิทธิพลที่มีต่อประชาชน เป็นประเด็นที่ผู้ทรงคุณวุฒิให้ความสำคัญ 
 
             ทั้งนี้ เนื่องจากว่า "การเผยแผ่พระพุทธศาสนาในประเทศญี่ปุ่น"  มีจุดมุ่งหมายที่จะให้ชาวญี่ปุ่นสลัดสิ่งมายาจอมปลอม(กิเลสเครื่องเศร้าหมอง) เข้าใจธรรมชาติภายใน มีความตื่นตัวที่จะเข้าใจชีวิต และสามารถนำเอาหลักคำสอนของเซนไปในชีวิตประจำวัน 
 
            ดังนั้น นิกายเซน จึงได้รวมกันปกครองตนเอง โดยตั้งองค์กรเป็นสภา รวมเอานิกายใหญ่ ๆ 3 นิกาย  คือ รินไซเซน โซโตเซน และโอบากุเซน มีการคัดเลือกประธานในแต่ละนิกายมาเป็นประธานสภา โดยมีวาระครั้งละ 2 ปี ปัจจุบันประธานนิกายเซน คือ ท่านฮิตาระ เซอิโกะ เจ้าอาวาสวัดเท็นเรียวโยเมียวอิน   และมีศูนย์วิจัย ๓ ศูนย์ คือ ศูนย์วัฒนธรรมเซน ทำหน้าที่วิจัยพันธุ์พืชและปรัญชาเซน ข้อมูล ธุรการ จัดทำหนังสือเผยแผ่และไอที ศูนย์วิจัยของมหาวิทยาลัยฮานาโซโน และศูนย์วิจัยของมหาวิทยาลัยโกมาซาวา
 
              นอกจากนี้ยังพบว่า กฎหมายองค์กร (ระเบียบปฏิบัติ) นิกายเซนปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญการปกครองอาณาจักร พ.ศ.1135, 1147 รัฐธรรมนูญมาตราที่ 20 คือ ห้ามศาสนายุ่งเกี่ยวกับการเมือง ออกกฎระเบียบปกครองตนเอง ภิกษุปฏิบัติตามศีล 250  ข้อ และภิกษุณี ปฏิบัติตามศีล 50 ข้อ

ที่มา; หนังสือพิมพ์คมชัดลึก 24 กุมภาพันธ์ 2554

ฝ่ายประชาสัมพันธ์และเผยแผ่


แหล่งข่าว : ส่วนเทคโนโลยีสารสนเทศ
Print This Page    Sent to Friend
แสดงความคิดเห็น