ข่าวประชาสัมพันธ์
มหาจุฬาฯ ก้าวสู่ความเป็นมหาวิทยาลัยพระพุทธศาสนาโลก
13 พ.ค. 54 | ข่าวมหาวิทยาลัย
434
ข่าวมหาวิทยาลัย
มหาจุฬาฯ ก้าวสู่ความเป็นมหาวิทยาลัยพระพุทธศาสนาโลก
วันที่ ๑๓/๐๕/๒๐๑๑ เข้าชม : ๑๐๐๓๓ ครั้ง

                 นักการศึกษาทั่วโลก เมื่อกล่าวถึงมหาวิทยาลัยพระพุทธศาสนาในอดีตก็จะนึกถึงมหาวิทยาลัยนาลันทาประเทศอินเดีย เมื่อกล่าวถึงความเจริญรุ่งเรืองพระพุทธศาสนาในอดีตก็ต้องนึกถึงประเทศอินดีย เมื่อกล่าวถึงความอลังการด้านประวัติศาสตร์ก็จะนึกถึงสิ่งมหัศจรรย์ ๗ สิ่งของโลก เมื่อพูดถึงเหตุการณ์ปัจจุบันถ้าไม่นึกถึงความขัดแย้งทางการเมืองก็ต้องนึกถึงเหตุการณ์แผ่นดินไหวที่ประเทศญี่ปุ่น อาจจะมีบางคนบางท่านนึกถึงการเลือกตั้งว่าใครพรรคไหนจะได้เป็นรัฐบาล แต่เมื่อนึกถึงการศึกษาของคณะสงฆ์แล้ว ต้องนึกถึง มจร หรือ มมร ในฐานะที่เป็นมหาวิทยาลัยสงฆ์แห่งคณะสงฆ์ไทย 

                 วันนี้ (๑๒ พค.๕๔) ในพิธีเปิดการประชุมชาวพุทธนานาชาติ เนื่องในวันวิสาขบูชา วันสำคัญสากลของสหประชาชาติ ณ หอประชุม มวก.๔๘ พรรษา มจร วังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ผู้เขียนได้มีโอกาสพบปะกับนักข่าวหลายสำนัก ได้สนทนาธรรมะ หลักวิธีคิด หลักการทำงาน โดยเฉพาะอาชีพนักข่าวถือเป็นอาชีพที่ต้องอาศัยไหวพริบ ปฏิภาณ ความสามารถในการจับประเด็น รวมทั้งความกล้า ความรับผิดที่มีมากกว่าการชอบนั้น นักข่าวส่วนใหญ่ล้วนมีประสบการณ์ เชี่ยวชาญจนผู้เขียนอดใจไม่ไหวที่จะสัมภาษณ์ถึงความรู้สึกเกี่ยวกับเรื่องความผูกพันธ์ที่มีกับมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย 

                 ผลการสัมภาษณ์น่าสนใจมาก ผู้เขียนถามว่า ทำไมถึงมาช่วยมหาจุฬาฯ ผู้สื่อข่าวตอบเป็นเสียงเดียวกันว่า เพราะความเคารพและศรัทธาต่อมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ภายใต้การนำของพระเดชพระคุณพระธรรมโกศาจารย์ ซึ่งผู้สื่อข่าวส่วนใหญ่ตอบเป็นเสียงเดียวกันว่า เพราะความเชื่อมั่นในความรู้ ความสามารถ ไม่เคยพลาดโอกาสที่จะมาทำข่าวของมหาวิทยาลัยหรือแม้แต่งานที่พระเดชพระคุณพระธรรมโกศาจารย์เป็นผู้ดำเนินการจัดงาน เช่น งานที่วัดประยูรฯ มีงานเมื่อไรต้องไป เหมือนเป็นแฟนประจำไปเสียแล้ว ถึงขั้นว่ารู้มุมกล้องโดยอัตโนมัติ ลับตาก็มองเห็นมหาจุฬาฯ พอถึงประโยคนี้เล่นเอาผู้เขียนพูดอะไรไม่ออก เพราะไม่คิดว่าผู้สื่อข่าวจะมีความรักและผูกพันธ์กับมหาจุฬาฯและพระธรรมโกศาจารย์ขนาดนั้น สำนักข่าวบางสำนักเล่าความหลังให้ฟังว่า มาทำข่าวมหาจุฬาฯ ตั้งแต่ที่นี้ (มจร วังน้อย) ยังเป็นทุ่งนา เต็มไปด้วยป่ารก ต้องจอดรถไว้ด้านนอก เดินเท้าเข้ามาทำข่าว 

                 ๑๐ ปีให้หลัง มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย โดยการนำของพระธรรมโกศาจารย์และคณะผู้บริหารที่วิริยะอุตสาหะช่วยกันสร้างมหาวิทยาลัยฯ จนเจริญรุ่งเรือง จากทุ่งนาเป็นคอนกรีต เพียบพร้อมด้วยสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ เต็มไปด้วยผู้คนมากหมาย โดยเฉพาะพระภิกษุสงฆ์ที่มาศึกษาทั้งในและต่างประเทศ ปัจจุบันไม่น้อยกว่า ๑,๐๐๐ รูป ไม่รวมที่กระจายอยู่ในต่างจังหวัดและต่างประเทศ ซึ่งมีสาขาทั้งในและต่างประเทศ ๔๖ จังหวัด และอีก ๗ ประเทศ/เมือง คือเกาหลี, อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา, ไต้หวัน, สิงคโปร์, ศรีลังกา, สิงคโปร์ และฮังการิ 

                  การที่ผู้บริหารมหาวิทยาลัย เข้มงวดในเรื่องการบริหาร การจัดการศึกษา โดยการกำกับคุณภาพ ทำให้เป็นจุดแข็งของมหาจุฬาฯ พร้อมที่จะเจริญเติบโตก้าวสู่ความเป็นมหาวิทยาลัยพระพุทธศาสนาโลก ยี่ห่อมหาจุฬาฯ ยี่ห่อพระธรรมโกศาจารย์ จึงติดตลาดโลก (ด้านวิชาการ) เป็นที่ยอมรับกันทั่วโลก ดังมีคำกล่าวว่า "จากนาลันทาถึงมหาจุฬาฯ" ดูได้จากการที่ทางมหาวิทยาลัยมีบทบาทสำคัญๆ ได้รับความไว้วางใจจากคณะสงฆ์และรัฐบาลให้มหาจุฬาฯ จัดประชุมชาวพุทธนานาชาติเนื่องในวันวิสาขบูชา วันสำคัญสากลของสหประชาชาติเป็นประจำทุกปี ในปีนี้ เป็นครั้งที่ ๘ แล้ว และการจัดงานแต่ละครั้งนั้นเป็นงานใหญ่ ต้องใช้ความรู้ ความเชี่ยวชาญมาก โดยเฉพาะความรู้เกี่ยวกับภาษาต่างประเทศ เช่นภาษาอังกฤษ การจัดงานทุกครั้งมีปัญหาทุกครั้ง เนื่องจากเกี่ยวข้องด้วยคนหมู่มาก ซึ่งเป็นธรรมดา ๑ คน ๑ ปัญหา ๑๐๐ คน ๑๐๐ ปัญหา ๑,๐๐๐ คน ๑,๐๐๐ ปัญหา และทุกครั้งก็ผ่านมาด้วยดี โดยแต่ละปีพระธรรมโกศาจารย์สอนให้บุคลากรมหาจุฬาฯ เรียนรู้ เสริมทักษะ พัฒนาตนไปอีกระดับ มีการนำประเด็นปัญหาเก่าๆ มาประมวลหาทางแก้ไขปัญหาเป็นประจำ เรียกว่า ทำงานที่มหาจุฬาฯ มีแต่งานใหญ่ระดับประเทศ ระดับนานาชาติ การอยู่ในมหาจุฬาฯ ก็ต้องเป็นนานาชาติไปด้วย ภาษาที่ใช้สื่อสารกันที่ดีที่สุดคือภาษาอังกฤษ ภาษาจีน เพราะฉะนั้นพระนิสิตที่เรียนในมหาจุฬาฯ ทุกวันต้องได้พูดประโยคภาษาอังกฤษไม่น้อยกว่า ๕ ประโยค หรือมากกว่านั้น

                  การจัดประชุมระดับโลก พลักดันให้มหาจุฬาฯ ก้าวสู้ความเป็นมหาวิทยาลัยพระพุทธศาสนาโลก คาดว่าอีก ๖ ปีหน้า มหาวิทยาลัยจะเป็นศูนย์กลางการศึกษาพระพุทธศาสนาที่ใหญ่ที่สุดในเอเชียและในโลก 

                  สกู๊ปข่าวโดยพระมหาศรีทนต์ สมจาโร ผู้อำนวยการส่วนหอสมุดกลาง


แหล่งข่าว : ส่วนเทคโนโลยีสารสนเทศ
Print This Page    Sent to Friend
แสดงความคิดเห็น