ข่าวประชาสัมพันธ์
" กงล้อแห่งชีวิตพระพรหมบัณฑิต : นักปราชญ์ผู้เป็นแรงบันดาลใจของชีวิต : พระผู้ทรงอิทธิพลทางด้านจิตวิญญาณ : กระบวนการจัดการความรู้ของนักปราชญ์ : เส้นทางการพัฒนาตนของบัณฑิต : "
19 ก.ย. 60 | ข่าวมหาวิทยาลัย
912
ข่าวมหาวิทยาลัย
" กงล้อแห่งชีวิตพระพรหมบัณฑิต : นักปราชญ์ผู้เป็นแรงบันดาลใจของชีวิต : พระผู้ทรงอิทธิพลทางด้านจิตวิญญาณ : กระบวนการจัดการความรู้ของนักปราชญ์ : เส้นทางการพัฒนาตนของบัณฑิต : "
วันที่ ๑๙/๐๙/๒๐๑๗ เข้าชม : ๕๗๓ ครั้ง

 " กงล้อแห่งชีวิตพระพรหมบัณฑิต : นักปราชญ์ผู้เป็นแรงบันดาลใจของชีวิต : พระผู้ทรงอิทธิพลทางด้านจิตวิญญาณ : กระบวนการจัดการความรู้ของนักปราชญ์ : เส้นทางการพัฒนาตนของบัณฑิต : "

ร่วมงานพิธีเปิดกงล้อแห่งชีวิตพระพรหมบัณฑิต ทำให้เกิดแรงบันดาลใจในการศึกษาเล่าเรียนและทำงานเพื่อนมนุษย์เพราะพระพรหมบัณฑิตเป็นต้นแบบ เป็นพระสงฆ์ผู้ทรงอิทธิพลทางด้านจิตวิญญาณของโลกในปัจจุบัน ท่านกล่าวว่า " เราไม่ได้สร้างมหาจุฬาเพื่อประโยชน์ของชาวมหาจุฬาเท่านั้น แต่เราสร้างมหาจุฬาเพื่อประโยชน์ของชาวโลก " หนึ่งในคำของโลก(Quote of the World)ที่ปรากฏในนิทรรศการ "กงล้อแห่งชีวิตพระพรหมบัณฑิต" เป็นคำกล่าวที่มีความใจกว้างจบประโยชน์ตนนึกถึงประโยชน์ผู้อื่น มิใช่เฉพาะไทยแต่ทั้งโลก นี่คือความสุดท้ายด้านจักขุมาของพระพรหมบัณฑิต ในการสร้างนิทรรศการในครั้งนี้ แบ่งออกเป็น ๕ ประเด็น คือ 

๑) พระพุทธศาสนาสร้างบัณฑิต 
๒) บัณฑิตสร้างมหาจุฬา 
๓) พระพุทธศาสนาพึ่งพาบัณฑิต 
๔) บัณฑิตนำมหาจุฬาสู่ศูนย์กลางพุทธโลก 
๕) บัณฑิตผู้นำธรรมสู่สังคม 
ท่านพระพรหมบัณฑิต ศ.ดร.อธิการบดี กล่าวว่า เรามีการพัฒนาการมหาจุฬาในรอบ ๑๓๐ ปี เราจึงมีการรวบรวมผลงานแนวคิดเพื่อคนรุ่นหลังจะได้ทราบมหาจุฬาว่าเราเป็นมาอย่างไร? ท่านพระพิมลธรรมคิดอะไร ? อธิการบดีคิดอะไร ? คุณหญิงสมปองที่ถวายที่ดินสร้างมหาจุฬาคิดอะไร? ถือว่าเป็นจัดการความความรู้ จากบุคคลไปสู่สาธารณปัญญา ว่าคนรุ่นหลังๆ คิดอย่างไรจนมาถึงวันนี้ เมื่อผ่านไป ๕๐ ปี จะไม่มีใครรู้เลยว่าอธิการบดีมหาจุฬาคิดอะไร ? ถ้าเราไม่จัดการความรู้ อธิการบดีทำงานเยอะมาก บรรยายเยอะมาก แต่มีใครรู้บ้างว่าอธิการพูดอะไร? อธิการไปพูดที่องค์การสหประชาชาติ ยังไม่เห็นสิ่งที่พูดเลย ทีมงานต้องรวบรวมไว้เพื่อคนรุ่นหลังๆจะได้ศึกษา มุ่งให้บุคคลและนิสิตได้ศึกษา ทำไมมหาจุฬาจึงสามารถผลิตบัณฑิตอย่างสมด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ.ประยุตโต) และ ท่านอาจารย์จำนงค์ ทองประเสริฐ เราต้องทำโรดแมป ว่าเส้นทางแห่งการพัฒนตนเองท่านเป็นอย่างไร? จึงประสบความสำเร็จ เราต้องไปสัมภาษณ์ศึกษาว่าท่านมีแนวคิดอย่างไร ? มีกระบวนการพัฒนาตนเองอย่างไร ? เราต้องทำ KM ไว้ เพื่อคนรุ่นหลังๆ ต่อไปคนรุ่นหลังจะไม่ได้ลำบากและเตือนสติว่ากว่าจะมาเป็นมหาจุฬา 
ฉะนั้น ท่านอธิการย้ำว่าจะต้องจัดการความรู้ด้วยการรวบรวมผลงานทุกรูปแบบ เพื่อเป็นสาธารณปัญญาให้คนปัจจุบันและรุ่นหลังได้เรียนรู้ มีโอกาสได้ชม
ผลงานท่านพระพรหมบัณฑิต ถือว่าเป็นแรงบันดาลใจในการศึกษาพัฒนาตนให้สุดยอดแล้วออกไปช่วยเหลือคนอื่นและสังคม เรียกว่า " จบประโยชน์ตน นึกถึงประโยชน์คนอื่น " สิ่งสำคัญได้อ่านดุษฏีนิพนธ์ของท่านพระพรหมบัณฑิต จักเป็นแรงบันดาลใจในการทำดุษฏีนิพนธ์ต่อไป


สาราณียธรรม
พระอาจารย์ปราโมทย์ วาทโกวิโท
นิสิตปริญญาเอก สาขาสันติศึกษา 
ณ วิทยาลัยพุทธศาสตร์นานาชาติ 
๑๗ กันยายน ๒๕๖๐

 

ในภาพอาจจะมี 4 คน, คนที่ยิ้ม

ในภาพอาจจะมี 9 คน, คนที่ยิ้ม, ผู้คนกำลังยืน

 

ในภาพอาจจะมี 4 คน, ผู้คนกำลังยืน

 

ในภาพอาจจะมี 1 คน

 

ในภาพอาจจะมี 1 คน, กำลังยิ้ม, ดอกไม้ และ ข้อความ

 

ในภาพอาจจะมี 1 คน, กำลังยิ้ม, กำลังนั่ง, กำลังยืน และ สถานที่ในร่ม

 

ในภาพอาจจะมี อาหาร

 

ในภาพอาจจะมี 1 คน, สถานที่ในร่ม

 

ในภาพอาจจะมี 6 คน, ผู้คนกำลังยืน และ สถานที่ในร่ม

 

ในภาพอาจจะมี 1 คน, ข้อความ

 

ในภาพอาจจะมี สถานที่ในร่ม

 

ในภาพอาจจะมี หนึ่งคนขึ้นไป

 

ในภาพอาจจะมี หนึ่งคนขึ้นไป และ ผู้คนกำลังนั่ง

 

ขอขอบคุณ : ภาพ/ข่าว กองสื่อสารองค์กร มจร


แหล่งข่าว : ส่วนเทคโนโลยีสารสนเทศ
Print This Page    Sent to Friend
แสดงความคิดเห็น

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

  • แถลงการณ์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เรื่อง กรณีผู้บริหาร มหาวิทยาลัยปรากฎในข่าว แถลง ณ วันที่ ๑๗ กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๖๘
    17 ก.ค. 68 | ข่าวมหาวิทยาลัย
    382
  • “พุทธนวัตกร บัณฑิตนักพัฒนาชุมชนเชิงสร้างสรรค์ด้วยปัญญาและคุณธรรม”
    08 ก.ค. 68 | ข่าวมหาวิทยาลัย
    241
  • ❝อธิการบดี เมตตาตรวจเยี่ยมบูธนิทรรศการ แสดงผลงาน 20 ปี ใต้ร่มพระบารมีทุนเล่าเรียนหลวงสำหรับพระสงฆ์ไทย ❞
    05 ก.ค. 68 | ข่าวมหาวิทยาลัย
    241
  • โครงการสืบสานงานพ่อต่อยอดทุนเล่าเรียนหลวงสําหรับพระสงฆ์ไทย
    05 ก.ค. 68 | ข่าวมหาวิทยาลัย
    215
  • ครบรอบ ๗ ปี วันก่อตั้งสถาบันพระไตรปิฎกศึกษา มจร
    01 ก.ค. 68 | ข่าวมหาวิทยาลัย
    225