ข่าวประชาสัมพันธ์
อธิการบดีมจรเชิดชู “พระราชินี” ต้นแบบสตรีไทยย้ำให้มีกฎหมายรับรองหญิงไทยที่บวชเป็นแม่ชี
11 ส.ค. 52 | ข่าวมหาวิทยาลัย
418
ข่าวมหาวิทยาลัย
อธิการบดีมจรเชิดชู พระราชินี ต้นแบบสตรีไทยย้ำให้มีกฎหมายรับรองหญิงไทยที่บวชเป็นแม่ชี
วันที่ ๑๑/๐๘/๒๐๐๙ เข้าชม : ๘๓๖๕ ครั้ง

 มจร.วังน้อย เมื่อวันที่ 3 ส.ค.ที่ผ่านมา พระธรรมโกศาจารย์ (ประยูร ธมฺมจิตฺโต ป.ธ.9,Ph.D.) ศาสตราจารย์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(มจร.) ได้แสดงปาฐกถาพิเศษ เรื่อง ความสำคัญของสตรีที่มีต่อพระพุทธศาสนา  ในงานเสวนาทางวิชาการเนื่องในวันสตรีไทย เรื่อง พระพุทธศาสนากับสตรีไทยในยุคโลกาภิวัตน์ ณ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ต.ลำไทร  อ.วังน้อย จ.พระนครศรีอยุธยา 
               พระธรรมโกศาจารย์ กล่าวว่า สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ ทรงเป็นต้นแบบสตรีไทยในหลายๆ ด้าน อีกทั้งยังทรงเป็นเอกลักษณ์ของสังคมไทย เช่น มีความอ่อนโอน และทรงปกป้องคุ้มครองพระพุทธศาสนา เป็นต้น  
               ในสมัยพุทธกาล มีนางวิสาขาซึ่งเป็นยอดทายิกาที่สังคมไทยรู้จักเป็นอย่างดี และมีอุบลวรรณเถรี เป็นเอกทัคคะในพระพุทธศาสนา  ปัจจุบันสตรีไทยนิยมปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน ถือว่าเป็นแรงสำคัญในการช่วยทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาได้เป็นอย่างดี
               นอกจากนี้ พระธรรมโกศาจารย์ ได้กล่าวย้ำให้สตรี ได้ช่วยส่งเสริมการพัฒนาสตรี ใน 4 ด้าน คือ 1. การศึกษา ต้องเพิ่มโอกาสการศึกษาในผู้หญิง  ผู้หญิงสามารถจัดการศึกษา โดยมจร.ได้เปิดหลักสูตรสาวิกาสิกขาลัยขึ้นที่เสถียรธรรมสถาน เป็นสถานศึกษาของผู้หญิงไทย  2. มีระบบการศึกษาและปฏิบัติธรรมสำหรับผู้หญิงไทย 3. จัดองค์การบริการการปกครอง สำหรับผู้หญิงไทย  4. มีกฎหมายรับรองหญิงไทยที่บวชในพระพุทธศาสนา เช่น แม่ชี ควรให้มีกฎหมายรับรองอย่างถูกต้อง

                ด้านพระมหาหรรษา ธมฺมหาโส ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายวิชาการ มจร. กล่าวว่า งานเสวนาทางวิชาการเนื่องในวันสตรีไทยที่จัดขึ้นนี้ เป็นโครงการของสภาสตรีแห่งชาติในพระบรมราชินูปถัมภ์ ร่วมกับองค์กรต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน มีเป้าหมายให้สตรีไทยทุกคนได้เอาใจใส่ในหน้าที่ คำนึงถึงภาระและความสำคัญของการรักษาเอกลักษณ์ของความเป็นสตรีไทย สมดังที่สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ได้ทรงมีพระราชเสาวนีย์ 4 ประการ คือ 1.สตรีไทยพึงทำหน้าที่ของตนให้สมบูรณ์ 2.สตรีไทยพึงทำหน้าที่ของแม่บ้านให้ดี 3.พึงรักษาความเป็นเอกลักษณ์ของสตรีไทย 4.พึงฝึกฝนตนเองให้มีความรู้ความสามารถยิ่งขึ้น

                พระมหาหรรษา กล่าวอีกว่า ทางสมาคมภริยาแพทย์แห่งประเทศไทยในพระราชูปถัมภ์ สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ซึ่งเป็นหนึ่งในองค์กรสมาชิกของสภาสตรีฯ ได้เห็นว่าหลักสัมมาปฏิบัติของพระพุทธศาสนาสามารถนำมาใช้ในการดำเนินชีวิต ที่จะสร้างความพอดี ก่อให้เกิดความสุขสงบในสังคมได้ จึงได้ร่วมจัดโครงการนี้ขึ้น เพื่อให้เกิดการเรียนรู้อย่างแจ่มชัด อันจะเป็นประโยชน์ต่อสตรีในองค์กรต่างๆ สามารถนำความรู้ที่ได้รับไปแก้ไขปัญหาของตนเอง ครอบครัว สังคม และปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้ในที่สุด

ฝ่ายประชาสัมพันธ์และเผยแผ่/ข่าว


แหล่งข่าว : ส่วนเทคโนโลยีสารสนเทศ
Print This Page    Sent to Friend
แสดงความคิดเห็น

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

  • "ปฏิญญาโฮจิมินห์" พุทธศาสนิกชนทั่วโลกประกาศเจตนารมณ์ร่วมกัน หนุนศักดิ์ศรีมนุษย์และสันติภาพถ้วนหน้า
    08 พ.ค. 68 | ข่าวมหาวิทยาลัย
    59
  • ขอเชิญเข้าร่วม กิจกรรมวิสาขบูชานานาชาติ วันสำคัญสากลของโลก ครั้งที่ 20 เรื่อง “ความสามัคคีและการโอบรับความหลากหลายเพื่อศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์: พุทธปัญญาเพื่อสันติภาพโลกและการพัฒนาที่ยั่งยืน
    08 พ.ค. 68 | ข่าวมหาวิทยาลัย
    80
  • ประมุขสงฆ์ – ผู้นำชาวพุทธ 85 ประเทศ ร่วมเปิดงาน วิสาขบูชาโลก ครั้งที่ 20
    06 พ.ค. 68 | ข่าวมหาวิทยาลัย
    77
  • The 20th UNITED NATIONS DAY OF VESK CELEBRATIONS 2025, VIETNAM
    06 พ.ค. 68 | ข่าวมหาวิทยาลัย
    70
  • “เจ้าคุณประสาร” ประชุมเตรียมความพร้อม ปูทางสู่ธรรมนาวา “วัง” ภาคประชาชน
    06 พ.ค. 68 | ข่าวมหาวิทยาลัย
    42