ข่าวประชาสัมพันธ์
โครงการฝึกอบรมผู้ประกันคุณภาพการศึกษา
04 ก.พ. 54 | ข่าวมหาวิทยาลัย
589
ข่าวมหาวิทยาลัย
โครงการฝึกอบรมผู้ประกันคุณภาพการศึกษา
วันที่ ๐๔/๐๒/๒๐๑๑ เข้าชม : ๑๐๓๘๐ ครั้ง

 

โครงการหลักสูตรฝึกอบรม

ผู้ประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน สกอ. หลักสูตร ๑

มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

 

๑.     ชื่อโครงการ โครงการหลักสูตรฝึกอบรมผู้ประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน หลักสูตร ๑

   มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย (ระยะเวลา ๑ วัน สำหรับผู้ประเมิน

   คุณภาพภายในที่ขึ้นทะเบียนของ สกอ.)

๒.    หน่วยงานที่รับผิดชอบ : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ร่วมกับ

   สมาชิกเครือข่ายภาคกลางตอนล่าง

๓.    หลักการและเหตุผล

ตามที่สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ) ได้พัฒนาตัวบ่งชี้และเกณฑ์การประเมินคุณภาพภายใน ประจำปีการศึกษา ๒๕๕๒ ขึ้นใหม่ เพื่อให้สถาบันอุดมศึกษามีแนวทางในการดำเนินการระบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายในที่ชัดเจน และรองรับการประเมินคุณภาพการศึกษาภายนอกจากสำนักงานรรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (สมศ.) ดังนั้น สกอ. มีนโยบายจะยกเลิกการขึ้นทะเบียนเป็นผู้ประเมินคุณภาพภายในประจำปีการศึกษา ๒๕๕๒ จะทำให้ผู้ประเมินที่ขึ้นทะเบียนอยู่เดิมไม่สามารถเป็นผู้ประเมินคุณภาพภายในของ สกอ. ได้ ยกเว้นต้องผ่านการฝึกอบรมผู้ประเมินคุณภาพการศึกษาภายในหลักสูตร ๑ (ระยะเวลา ๑ วัน) โดย สกอ. มอบหมายให้แม่ข่ายสถาบันอุดมศึกษารับเป็นหน่วยจัดฝึกอบรมหลักสูตรผู้ประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ซึ่งมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยเป็นสมาชิกเครือข่ายภาคกลางตอนล่าง โดยมีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรีเป็นแม่ข่าย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย มีแผนจัดโครงการหลักสูตรฝึกอบรมผู้ประเมินคุณภาพการศึกษาภายในหลักสูตร ๑ (ระยะเวลา ๑ วันสำหรับผู้ประเมินคุณภาพภายในที่ขึ้นทะเบียนของ สกอ.) ในวันเสาร์ที่ ๕ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๕๔   ณ อาคารหอประชุม มวก. ๔๘ พรรษา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วังน้อย พระนครศรีอยุธยา เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับองค์ประกอบคุณภาพ ตัวบ่งชี้ เกณฑ์การประเมินคุณภาพ และแนวปฏิบัติของการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน พ.ศ. ๒๕๕๓ ที่พัฒนาขึ้นใหม่เพื่อทำหน้าที่ผู้ประเมินคุณภาพการศึกษาภายในที่มีมาตรฐาน นอกจากนี้ได้เปิดโอกาสให้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้านประกันคุณภาพการศึกษา ระหว่างมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยและสถาบันอุดมศึกษาเครือข่ายภาคกลางตอนล่าง

โดยผู้ที่ผ่านหลักสูตร จะได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นผู้ประเมินคุณภาพภายในของ สกอ. เมื่อเข้ารับการฝึกอบรมในภาคบรรยาย อภิปรายและปฏิบัติครบเต็มเวลาที่กำหนด ซึ่งจะสามารถเป็นผู้ประเมินคุณภาพภายในระดับสถาบัน คณะวิชา และภาควิชาได้

 

๔.    วัตถุประสงค์

๑.     เพื่อให้ผู้ผ่านการฝึกอบรมมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการประกันคุณภาพการศึกษาภายในระดับอุดมศึกษาในบริบทใหม่

๒.   เพื่อให้ผู้ผ่านการฝึกอบรมมีความรู้ ความสามารถและทักษะในการทำหน้าที่เป็นผู้ประเมินคุณภาพการศึกษาภายในสถาบันศึกษาระดับอุดมศึกษา

๓.   เพื่อให้ผู้ผ่านการฝึกอบรมได้เป็นผู้ประเมินคุณภาพการศึกษาภายในที่มีแนวปฏิบัติในการประเมินคุณภาพการศึกษาภายในที่มีมาตรฐานเดียวกันและเชื่อมโยงกับการประเมินคุณภาพการศึกษาภายนอก

๔.     เพื่อสร้างเครือข่ายการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างสถาบันอุดมศึกษาเครือข่ายภาคกลางตอนล่าง

๕.  ระยะเวลาดำเนินงาน

            วันเสาร์ที่  ๕ กุมภาพันธ์  พ.ศ. ๒๕๕๔  ระยะเวลาในการอบรม  ๑ วัน

๖. สถานที่ดำเนินงาน

            ห้องประชุมอาคารมวก. ๔๘ พรรษา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วังน้อย พระนครศรีอยุธยา

๗.กลุ่มเป้าหมาย/ค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรม

            ผู้เข้าร่วมประชุมรวมจากสถาบันอุดมศึกษาต่าง ๆ  จำนวน  ๑๐๐  คน

-    ผู้ประเมินคุณภาพภายในที่ขึ้นทะเบียนของ สกอ. เป็นบุคลากรจากสถาบันอุดมศึกษาเครือข่ายภาคกลางตอนล่าง และบุคลากรของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย  จำนวน  ๑๐๐  คน

-        วิทยากร จำนวน   คน  และเจ้าหน้าที่ฝ่ายมาตรฐานและคุณภาพการศึกษา จำนวน ๔ คน รวม ๑๐ คน

-    ผู้เข้าร่วมการอบรม จะต้องเสียค่าลงทะเบียนในการฝึกอบรมท่านละ ๕๐๐ บาท (ห้าร้อยบาท) โดยสามารถโอนเข้าบัญชีธนาคารทหารไทย สาขาท่าพระจันทร์ หมายเลขบัญชี ๑๕๕-๒-๐๓๖๗๘-๐ (fax ใบ pay in มาที่ ๐๓๕-๒๔๘-๐๑๓) หรือจ่ายตอนลงทะเบียนก็ได้ สำหรับข้าราชการที่เข้ารับการอบรมไม่ถือเป็นวันลา เมื่อได้รับอนุมัติจากผู้บังคับบัญชาแล้ว และมีสิทธิ์เบิกค่าลงทะเบียนจากต้นสังกัดได้ตามระเบียบของทางราชาการ

๘. คุณสมบัติของผู้เข้ารับการฝึกอบรม

            ผู้ที่ขึ้นบัญชีรายชื่อผู้ประเมินคุณภาพการศึกษาภายในของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา

๙. วิธีดำเนินการและเงื่อนไข

-        โครงการหลักสูตร

                        ภาคบรรยาย อภิปราย และทดลองปฏิบัติ ๖.๕ ชั่วโมง

-        หัวข้อการบรรยาย อภิปราย และทดลองปฏิบัติ ดังนี้

๑.     การประกันคุณภาพการศึกษาภายในระดับอุดมศึกษาในบริบทใหม่

๒.     บทบาทหน้าที่ของผู้ประเมินคุณภาพการศึกษาในบริบทใหม่

๓.     ตัวบ่งชี้และหลักเกณฑ์การประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน พ.ศ.๒๕๕๓

๔.   ระบบฐานข้อมูลการประกันคุณภาพการศึกษา (CHE QA online) และการจัดทำรายงานผลการประเมินคุณภาพการศึกษาภายในผ่านระบบฐานข้อมูล

๕.     การอภิปรายร่วมกันระหว่างผู้เข้าอบรมและวิทยากร

-    เกณฑ์การประเมินผลและขึ้นทะเบียนเป็นผู้ประเมินคุณภาพการศึกษาภายในของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.)

ผู้ที่ถือว่าผ่านการอบรมและขึ้นทะเบียนเป็นผู้ประเมินคุณภาพการศึกษาภายในของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) จะต้องเข้ารับการฝึกอบรมครบเต็มเวลาที่กำหนด

๑๐. วิทยากร

        - พระธรรมโกศาจารย์,ศ.ดร. อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

            - พระศรีคัมภีรญาณ,รศ.ดร. รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

        - รองศาสตราจารย์ ดร.ชัยเลิศ  พิชิตพรชัย  มหาวิทยาลัยมหิดล

            - ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ตวงรักษ์ นันทวิสารกุล มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี

๑๑. งบประมาณ

            งบประมาณแผ่นดิน ประจำปี พ.ศ.๒๕๕๔ โครงการฝึกอบรมผู้ประเมินคุณภาพการศึกษาภายในมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย   จำนวน ๑๐๐,๐๐๐ บาท (หนึ่งแสนบาทถ้วน)

 

๑๒. ผลที่คารดว่าจะได้รับ

            ๑. เพื่อให้ผู้ผ่านการฝึกอบรมมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการประกันคุณภาพการศึกษาภายในระดับอุดมศึกษาในบริบทใหม่

            ๒. เพื่อให้ผู้ผ่านการฝึกอบรมมีความรู้ ความสามารถและทักษะในการทำหน้าที่เป็นผู้ประเมินคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา ระดับอุดมศึกษา

            ๓. เพื่อให้ผู้ผ่านการฝึกอบรมได้เป็นผู้ประเมินคุณภาพการศึกษาภายในที่มีแนวปฏิบัติในการประเมินคุณภาพการศึกษาภายในที่มีมาตรฐานเดียวกันและเชื่อมโยงกับการประเมินคุณภาพการศึกษาภายนอก

            ๔. เพื่อสร้างเครือข่ายการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างสถาบันอุดมศึกษาเครือข่ายภาคกลางตอนล่าง

 

๑๓. ตัวชี้วัดโครงการ

            ๑. ผู้เข้ารับการอบรมมีความพึงพอใจต่อโครงการ/กิจกรรม ไม่น้อยกว่าร้อยละ ๘๐

            ๒. ร้อยละ ๑๐๐ ของผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้ ความสามารถและทักษะในการทำหน้าที่เป็นผู้ประเมิน คุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา ระดับอุดมศึกษา

๑๔.  การส่งแบบตอบรับ/ติดต่อสอบถาม

            - โปรดกรอกแบบตอบรับส่งทางโทรสาร หมายเลข ๐๓๕-๒๔๘-๐๑๓  และเพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปด้วยความเรียบร้อย โปรดแจ้งรายชื่อเข้าร่วมอบรมเพื่อสำรวจที่นั่ง ภายในวันที่ ๒๐ มกราคม พ.ศ.๒๕๕๔  หากมีการเปลี่ยนแปลงไม่สามารถเข้ารับการอบรมได้ กรุณาแจ้งล่วงหน้า ๓ วันก่อนวันอบรม เพื่อจะได้ให้สิทธิในการเข้าร่วมอบรมแก่ผู้อื่น

            - หากต้องการทราบรายละเอียดเพิ่มเติมสามารถสอบถามได้ที่ นายสนธิญาณ รักษาภักดี  หัวหน้าฝ่ายมาตรฐานและคุณภาพการศึกษา นายชำนาญ เกิดช่อ หรือ นางสาวฐานิชญาณ์ มัควัลย์  โทรศัพท์ ๐๓๕-๒๔๘-๐๐๐ ต่อ ๘๗๗๒, ๘๗๗๔  หรือ email: sondhi_rak@hotmail.com, pirabgoen752@hotmail.com  หรือ su_mcu@hotmail.com 

            - ท่านสามารถ download ใบสมัครได้ที่เว็บไซต์งานประกันคุณภาพการศึกษา http://qa.mcu.ac.th

 

กำหนดการอบรมหลักสูตรผู้ประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน หลักสูตร 1 (สำหรับผู้ที่มีประสบการณ์ประเมินคุณภาพ)

 

 

วัน/เวลา

09.00-09.45 น.

10.00 12.00 น.

13.00 14.30 น.

15.00 15.45 น.

15.45-16.45

วันจันทร์ที่

5 ก.พ. 2554

·  Pre test

· การประกันคุณภาพการศึกษาภายในระดับอุดมศึกษาในบริบทใหม่

วิทยากร โดย ผศ.ดร.ตวงรักษ์  นันทวิสารกุล

ที่ปรึกษาอธิการบดี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี

·  ระบบฐานข้อมูลการประกันคุณภาพการศึกษา (CHE QA Online)

วิทยากร โดย รศ.ดร.ชัยเลิศ  พิชิตพรชัย

ผู้ช่วยฝ่ายนโยบายและสารสนเทศ

มหาวิทยาลัยมหิดล

·   ตัวบ่งชี้และเกณฑ์การประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน พ.ศ. 2553

วิทยากร โดย

-ผศ.ดร.ตวงรักษ์  นันทวิสารกุล

ที่ปรึกษาอธิการบดี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี

-รศ.ดร.ชัยเลิศ  พิชิตพรชัย

ผู้ช่วยฝ่ายนโยบายและสารสนเทศ

มหาวิทยาลัยมหิดล

·    ทดลองปฏิบัติเป็นรายบุคคลเพื่อวิเคราะห์รายงานผลการดำเนินงานของมหาวิทยาลัยนานา และประเมินผลตัวบ่งชี้ 9 ตัวบ่งชี้ (อ่าน SAR และทำใบงาน 1)

·    เฉลยผลการประเมินตัวบ่งชี้ 9 ตัวบ่งชี้

วิทยากร โดย

-ผศ.ดร.ตวงรักษ์  นันทวิสารกุล

-รศ.ดร.ชัยเลิศ  พิชิตพรชัย

 

·   ทดลองปฏิบัติเป็นรายบุคคลเพื่อวิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน ข้อเสนอแนะ

     (ทำใบงาน2)

·    การรายงานผลการประเมิน :แลกเปลี่ยนเรียนรู้ในประเด็นจากวิดีโอ

-   การสื่อสาร

-   การนำเสนอผลการประเมิน

-   การให้ข้อเสนอแนะอย่างสร้างสรรค์

·  Post test และเฉลย

Eผศ.ดร.ตวงรักษ์  นันทวิสารกุล

วิธีการ

บรรยาย

บรรยาย

บรรยายและแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากกรณีศึกษา

บรรยายและทดลองปฏิบัติเป็นรายบุคคล

อภิปรายแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากกรณีศึกษาโดยการชมวีดีโอแสดงการสาธิต

จุดมุ่งหมาย

ให้มีความรู้

ให้ความรู้

ให้มีความรู้และเรียนรู้จากประสบการณ์

เพื่อเช็ค concept ของการประเมินอภิมาน

ฝึกการจับประเด็นและวิพากษ์

วิธีประเมิน

ประเมินจากการอภิปรายซักถาม

ประเมินจากการอภิปรายซักถามและแบบทดสอบ

ประเมินจากการมีส่วนร่วมในการอภิปรายซักถาม

ประเมินจากการมีส่วนร่วม

ประเมินจากการมีส่วนร่วม

หมายเหตุ: แจกรายงานผลการดำเนินงานของมหาวิทยาลัยนานาและใบงานให้ผู้เข้ารับการอบรมล่วงหน้าอย่างน้อย 1 สัปดาห์

 

 

 


แหล่งข่าว : ส่วนเทคโนโลยีสารสนเทศ
Print This Page    Sent to Friend
แสดงความคิดเห็น