MCU Gallery
MCU Gallery
Category :
Total Album : 134
Generic placeholder image
ฺRikhingvittaya School
30 AUG 20 | Service | All Picture 5 Photos
1809

Generic placeholder image
Payuha pittaya chool
30 AUG 20 | Service | All Picture 13 Photos
1653

Generic placeholder image
การเรียนการสอน
01 JUL 20 | กิจกรรมเกี่ยวกับการเรียนการสอน | All Picture 7 Photos
2122

การเรียนการสอน

Generic placeholder image
สสส. หนุน มจร จับมือภาคี จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้และรับฟังความเห็นผู้มีประสบการณ์เข้าถึงกองทุนหลักประกันสุขภาพ หวังพัฒนาพระสงฆ์เพื่อสร้างสุขภาวะองค์กรสู่ชุมชนสุขภาวะอย่างยั่งยื
01 JUL 20 | Service | All Picture 12 Photos
1773

วันนี้ (28ม.ค.63) ที่ห้องประชุมชั้นล่าง อาคารมวก. 48 พรรษา มจร วังน้อย พระนครศรีอยุธยา มจร “จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้และรับฟังความเห็นผู้มีประสบการณ์ในการพัฒนาและขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะแบบการมีส่วนร่วมของพระสงฆ์ในระบบสุขภาพเพื่อสังคมสุขภาวะผ่านกลไกกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่” โครงการนี้สนับสนุนโดยสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) การนี้พระเทพเวที,รศ.ดร. (พล อาภากโร,ป.ธ.9) ผู้รักษาการแทนเจ้าคณะภาค ๖ และรองอธิการบดีฝ่ายกิจการนิสิต มจร ได้มอบหมายให้ พระมหาราชัน จิตฺตปาโล,ดร. ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายกิจการนิสิต เป็นประธานเปิดงาน ท่านได้กล่าวต้อนรับมีใจความสำคัญว่า “….ขออนุโมทนาคณะสงฆ์และหน่วยงานภาคีเครือข่ายที่เขามาสนับสนุนงานกิจการคณะสงฆ์ ในนามพระเดชพระคุณพระเทพเวที ขอต้อนรับทุกท่านด้วยความขอบคุณและอนุโมทนาอย่างยิ่ง การที่ทุกท่านมีประสบการณ์ตรงและให้เกียรติมาร่วมเวทีครั้งนี้จะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อการพัฒนาและขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะแบบการมีส่วนร่วมของพระสงฆ์ในระบบสุขภาพเพื่อสังคมสุขภาวะผ่านกลไกกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ โครงการฯ นี้ได้รับทุนสนับสนุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ เพื่อศึกษาวิเคราะห์สถานการณ์และค้นหาตัวแบบการขับเคลื่อนงานดูแลสุขภาวะองค์กรสงฆ์และชุมชนผ่าน กองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ เพื่อพัฒนาผลักดันให้เกิดนโยบายสาธารณะให้พระสงฆ์ดูแลสุขภาวะองค์กรสงฆ์และชุมชนผ่านกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่แบบมีส่วนร่วม และ เพื่อส่งเสริมให้คณะสงฆ์ในพื้นที่ต้นแบบเป็นแกนนำการขับเคลื่อนให้เกิดองค์กรสุขภาวะสู่การสร้างสังคมสุขภาวะภายใต้กองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ ประธานได้กล่าวแนะนำมหาวิทยาลัยว่า มหาวิทยาลัยแห่งนี้เป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ สถาปนาโดยล้นเกล้าราชการที่ 5 มีปณิธานว่า “เป็นสถานศึกษาพระไตรปิฏกและวิชาชั้นสูงสำหรับพระภิกษุสามเณรและคฤหัสถ์” จากการรายงานของผู้จัดการโครงการฯ เบื้องต้น การประชุมในวันนี้จึงมีความสำคัญที่ทุกท่านให้เกียรติสละเวลามาร่วมเวทีจะได้ช่วยวิเคราะห์สถานการณ์และค้นหาตัวแบบการขับเคลื่อนงานดูแลสุขภาวะองค์กรสงฆ์และชุมชนผ่าน กปท. และนำไปสู่การดำเนินการเพื่อเป้าหมายสำคัญในวันนี้ เกิดความรู้และนวัตกรรมการขับเคลื่อนงานสุขภาวะพระสงฆ์ และหวังใจอย่างยิ่งว่าการดำเนินการจะทำให้เป้าหมาย 3 ประการที่กำหนดไว้ คือ (1) ตัวอย่างเมนูโครงการฯ (2) คู่มือการบริหารจัดการโครงการ “ขอกล่าวคำว่ายินดีต้อนรับทุกท่านในฐานะเจ้าบ้าน ขอกราบขอบคุณครูบาอาจารย์ทุกรูปและอนุโทนาภาคีทุกท่าน” กิจกรรมมีการบรรยายหัวข้อ เรื่อง “การพัฒนาสุขภาวะพระสงฆ์ภายใต้แผนการปฏิรูปกิจการพระพุทธศาสนา”โดย พระมหาประยูร โชติวโร ผู้อำนวยการกองกิจการนิสิต สำนักงานอธิการบดี และการเสวนา หัวข้อ เรื่อง “บทบาทของหน่วยงานภาคีเครือข่าย ความเชื่อมโยง และความร่วมมือในการพัฒนาสังคมสุขภาวะผ่านใต้กองทุนหลักประกันสุขภาพในพื้นที่” ดำเนินรายการโดย นายวิสุทธิ บุญญโสภิต (พี่โต) รองผอ. สปสช. เขต 3 นครสวรรค์โดยมีผู้ร่วมเสวนา 8 ท่าน คือ (1) พระครูอมรชัยคุณ วัดอาศรมธรรมทายาท นครราชสีมา (2) พระมหาบวร ปวรธมฺโม วัดบุญนารอบ นครศรีธรรมราช (3) นายเสน่ห์ คล้ายบัว ผอ.รพ.สต.ปลายบาง นนทบุรี (4) นายอภิชาต หงษาวงษ์ ผู้แทนหน่วยร้องเรียนอื่นที่เป็นอิสระจากผู้ถูกร้องเรียน (5) นางรำพัน แสงมาลัย เจ้าหน้าที่สาธารณสุขอำเภอธวัชบุรี ร้อยเอ็ด (6) นายพูนชัย ไตรภูธร ผู้แทน สปสช. เขต 9 นครราชสีมา (7) นางสาววันรพี สมณช้างเผือก ผู้แทน สปสช. เขต 8 อุดรธานี (8) ดร.ชัยยันต์ กองอรรถ ปลัด อบต.เกยไชย นครสวรรค์ นอกจากนี้ยังมีผู้แทนสำคัญอาทิ พระครูนนท์วีรวัฒน์ เจ้าคณะตำบลมหาสวัสดิ์ และเจ้าอาวาสวัดโคนอนมหาสวัสดิ์ พระครูโสภณประสิทธิคุณ เจ้าอาวาสวัดม่วงสระน้อย และเจ้าคณะตำบลตะขบ เขต 3 พระจิรศักดิ์ สญฺญจิตฺโต เลขานุการเจ้าคณะอำเภอธวัชบุรี พระครูวิบูลสรภัญ รองเจ้าอาวาสวัดสูงเม่น แพร่ และนายชวาล แก้วลือ รองปลัดเทศบาลตำบลเกาะคา ลำปาง เป็นต้น ร่วมเวที และในช่วงบ่ายมีกิจกรรม เวที “การแลกเปลี่ยนเรียนรู้และรับฟังความเห็นจากผู้มีประสบการณ์ 9 พื้นที่ต้นแบบ”ดำเนินรายการ โดย นางสาวมณีมัญช์ เชษฐสกุลวิจิตร รองผู้อำนวยการกองกลาง และคณะ นำกระบวนกรเพื่อชี้ชวน ใน 4 ประเด็น คือ (1) องค์ความรู้ และนวัตกรรม (2) ระบบบริหารจัดการและการติดตามประเมินผล (3) ภาคีเครือข่ายการทำงาน (4) เหตุปัจจัยที่ทำให้สำเร็จ โดยแบ่งกลุ่มเป็น 4 กลุ่ม คือ (1) กลุ่มพระสงฆ์ (2) กลุ่ม PM เขต สปสช. ที่ดูแลงานกองทุนระดับพื้นที่ (3) ผู้บริหารกองทุนในระดับพื้นที่จาก อปท. (4) ผู้ทรงคุณวุฒิและภาคีเครือข่าย และกิจกรรมท้ายสุดก่อนปิดการสัมมนา คือ กิจกรรม “รับฟังความเห็นและพิจารณา” (ร่าง) คู่มือเมนูโครงการสำหรับพระสงฆ์ในการดูแลสุขภาวะองค์กรสู่ชุมชนสุขภาวะผ่านกลไกกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ และ (ร่าง) คู่มือการบริหารจัดการโครงการฯ ดำเนินรายการโดย ผศ.ดร.ปฏิธรรม สำเนียง อาจารย์ประจำวิทยาเขตนครสวรรค์ การนี้มีผู้แทนคณะสงฆ์,PM เขต สปสช. ที่ดูแลงานกองทุนระดับพื้นที่หรืองานพระสงฆ์,ผู้บริหารกองทุนในระดับพื้นที่จาก อปท.,ผู้ทรงคุณวุฒิ และภาคีเครือข่าย จำนวน 69 รูป/คน เข้าร่วมเวที หวังร่วมกันขับเคลื่อนงานพัฒนาพระสงฆ์เพื่อสร้างสังคมสุขภาวะผ่านกองทุนตำบล เชื่อวัดและพระสงฆ์เป็นศูนย์รวมจิตใจในชุมชน เมื่อพระสงฆ์ได้รับการพัฒนาขีดความสามารถจะเป็นกำลังสำคัญในการสร้างชุมชนสุขภาวะอย่างยั่งยืนต่อไป

Generic placeholder image
โครงการนิสิตจิตอาสาพัฒนาสิ่งแวดล้อม
15 JUN 20 | Gallery | All Picture 64 Photos
1794

วันจันทร์ที่ ๑๕ มิถุนายน ๒๕๖๓ เวลา ๐๙.๐๐ น. กองกิจการนิสิต สำนักงานอธิการบดี จัดโครงการนิสิตจิตอาสาพัฒนาสิ่งแวดล้อม "ปลูกต้นไม้ เพื่อลมหายใจหอพักนิสิต" ตามนโยบายที่จะพัฒนามหาวิทยาลัยให้เป็น มหาวิทยาลัยสีเขียว (Green University) ด้วยการปลูกต้นไม้สร้างสิ่งแวดล้อมให้มีความร่มรื่น สร้างพื้นที่สีเขียวในทุกบริเวณของมหาวิทยาลัย กองกิจการนิสิต สำนักงานอธิการบดี เห็นถึงความสำคัญและส่งเสริมสนับสนุนให้นิสิตได้มีส่วนร่วมในการพัฒนาสิ่งแวดล้อมอย่างต่อเนื่อง ตามบทบาทและหน้าที่ของนิสิต เช่น กาส่งเสริมให้นิสิตได้จัดทำโครงการปฏิบัติศาสนกิจในประเต็นเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม เพื่อส่งเสริมให้นิสิตมีความรู้ความเข้าใจและตระหนักถึงความสำคัญในการพัฒนาสิ่งแวดล้อม อีกทั้งส่งเสริมให้นิสิตได้บำเพ็ญตนให้เป็นประโยชน์แก่ส่วนรวม มีเป้หมายชัดเจนในการพัฒนานิสิตให้เป็นบัณฑิตที่มีคุณภาพเป็นไปตามนวลักษณ์ของบัณฑิตที่พึงประสงค์ และเป็นศาสนทายาทที่มีศักยภาพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งนิสิตที่พักอยู่ในหอพักนิสิตของ มหาวิทยาลัย ในการดำเนินงานโครงการได้มีเจ้าหน้าที่และนิสิตที่พักอยู่ในหอพักร่วมกับฝ่ายอาคารสถานที่ดำเนินการจัดหาตันไม้ และร่วมแรงร่วมใจขุดหลุมเตรียมดินสำหรับปลูก และการจัดโครงการครั้งนี้ได้ผู้มีจิตศรัทธาทั่วไปให้ความสนับสนุน อุปถัมภ์ร่วมเป็นเจ้าภาพต้นไม้ และค่าใช้จ่ายในการดำเนินการปลูกตันไม้จำนวนมาก โดยมี พระเดชพระคุณ พระราชปริยัติกวี, ศ.ดร. อธิการบดี มหาวิทยลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ประธานเปิดโครงการนิสิตจิตอาสาพัฒนาสิ่งแวดล้อม "ปลูกต้นไม้ เพื่อลมหายใจหอพักนิสิต" และปลูกต้นไม้ร่วมกับผู้บริหาร คณาจารย์ เจ้าหน้าที่ และนิสิต ณ บริเวณหอพักนิสิตนานาชาติ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ภาพ : MCU TV ________________________________ #MCUTV อาคารเรียนรวม ชั้น 4 ห้อง ซี 400 มจร วังน้อย อยุธยา โทร.035-248-000, 8057

Generic placeholder image
"เสาอโศกผู้นำศีลธรรม"
11 FEB 20 | Gallery | All Picture 249 Photos
2398

พระเจ้าวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าโสมสวลี กรมหมื่นสุทธนารีนาถ ทรงโปรดให้ หม่อมหลวงสราลี กิติยากร เป็นผู้แทนพระองค์ ประทานรางวัล "เสาอโศกผู้นำศีลธรรม" วันเสาร์ ที่ 8 กุมภาพันธ์ 2563 ณ หอประชุม มวก.48 พรรษา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย อยุธยา ภาพ : MCU TV ________________________________ #MCUTV อาคารเรียนรวม ชั้น 4 ห้อง ซี 400 มจร วังน้อย อยุธยา โทร.035-248-000, 8057

Generic placeholder image
ดร.สุวิทย์ เมษินทรีย์ ตรวจเยี่ยมและมอบนโยบายให้กับคณะผู้บริหาร มจร
07 JAN 20 | Gallery | All Picture 137 Photos
2039

เมื่อวันที่ 6 ม.ค. ที่ห้องประชุม 401 สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(มจร.) อ.วังน้อย จ.พระนครศรีอยุธยา ดร.สุวิทย์ เมษินทรีย์ รมว.การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ตรวจเยี่ยมและมอบนโยบายให้กับคณะผู้บริหารมจร. โดยดร.สุวิทย์ กล่าวว่า การพัฒนาจิตใจของคนเป็นสิ่งสำคัญในนโยบายของมหาวิทยาลัยสงฆ์ และอยากให้เน้นในเรื่องการพัฒนาปัญญามนุษย์ด้วย เรื่ปัญหาจำนวนนักศึกษาลดลง ส่วนตัวมองว่าไม่น่ากลัว เพราะจะได้เป็นโอกาสในการพัฒนาคุณภาพนักศึกษาให้มีคุณภาพ และการที่มจร.มีเป้าหมายในการเป็นมหาวิทยาลัยพระพุททธศาสนาของโลกด้วยแล้ว ปัญหาเรื่องจำนวนนักศึกษาจึงไม่ใช่ประเด็น เพราะเท่ากับว่ามจร.ได้เปิดรับนักศึกษาจากทั่วโลก นอกจากนี้ประเด็นหลักที่อยากให้มหาวิทยาลัยสงฆ์ให้ความสำคัญกับการสร้างทุนมนุษย์ และทุนทางสังคมกลับคืนมา เพื่อทำให้สังคมกลับสู่ภาวะปกติสุข ที่ตนมองว่าจะเป็นพันธกิจหลักของมหาวิทยาลัยสงฆ์ ส่วนเรื่องงานวิจัยของมหาวิทยาลัยสงฆ์ จะต่างจากมหาวิทยาลัยทั่วไป เช่น ควรจะมีการวิจัยเรื่องทักษะการใช้ชีวิต และอยากให้มหาวิทยาลัยสงฆ์วิจัยการเปลี่ยนสังคมไทยให้เป็นสังคมของพวกเรา และควรสร้างสมดุลระหว่างมนุษย์กับมนุษย์ มนุษย์กับเทคโนโลยี และมนุษย์กับธรรมชาติ ดร.สุวิทย์ กล่าวด้วยว่า จากการที่ตนได้เข้าเฝ้าสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ที่วัดราชบพิธฯ พระองค์ทรงรับสั่งกับตนว่า จะทำอย่างไรให้มหาวิทยาลัยสงฆ์ทั้งสองแห่งเป็นตักศิลา ซึ่งหมายถึง มหาวิทยาลัยและเป็นศูนย์กลางของศิลปวิชาการ ในอดีตของอินเดียตั้งแต่ก่อนพุทธกาล ซึ่งเมื่อตนดูจากนโยบาย และแนวทางการดำเนินงานของทั้งมจร. และมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย(มมร.) แล้ว มองว่า การเป็นตักศิลา ด้านพระพุทธศาสนาของมมร.และมจร. ไม่ใช่เรื่องยาก ภาพ : MCU TV ________________________________ #MCUTV อาคารเรียนรวม ชั้น 4 ห้อง ซี 400 มจร วังน้อย อยุธยา

Generic placeholder image
งานประสาทปริญญา
29 MAY 19 | Gallery | All Picture 219 Photos
2439

งานประสาทปริญญา ภาพ : MCU TV ________________________________ #MCUTV อาคารเรียนรวม ชั้น 4 ห้อง ซี 400 มจร วังน้อย อยุธยา

Generic placeholder image
อาคารสถานที่ มจร
12 DEC 18 | Gallery | All Picture 20 Photos
2930