ประกาศมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เรื่อง กำหนดขึ้นทะเบียนบัณฑิต และการรายงานตัวเข้ารับปริญญาบัตร ประจำปี 2565
วันอังคารที่ 15 พฤศจิกายน 2565 พระธรรมวัชรบัณฑิต, ศ.ดร.อธิการบดี มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย พร้อมด้วยผู้บริหาร มหาวิทยาลัย เดินทางไปตรวจเยี่ยมวิทยาลัยสงฆ์ชัยภูมิ โดย พระธรรมวัชรบัณฑิต ได้กล่าวให้โอวาทและมอบนโยบายแก่ผู้บริหาร คณาจารย์ เจ้าหน้าที่ และนิสิตวิทยาลัยสงฆ์ชัยภูมิ
มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ยินดีต้อนรับคณะกรรมการตรวจประเมินคุณภาพการศึกษาภายในระดับสถาบัน มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ประจำปีการศึกษา 2564 ระหว่างวันที่ 25 - 27 ตุลาคม 2565 ณ ห้องประชุม 401 ชั้น 4 อาคารสำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ต.ลำไทร อ.วังน้อย จ.พระนครศรีอยุธยา
ขอเชิญผู้ปกครอง นำพาบุตรหลานและ เยาวชน บรรพชาสามเณร ถวายพระราชกุศล ระหว่างวันที่ ๑๓ - ๒๓ ตุลาคม ๒๕๖๕ โรงเรียนพุทธศาสนาวันอาทิตย์ มจร วังน้อย อยุธยา “ช่วงปิดเทอมสร้างคุณค่าให้กับชีวิต จงเข้ามา ฝึกหัดกาย วาจา และใจให้งดงาม เป็นพุทธมามกะและศาสนทายาท ของพระพุทธศาสนาสืบไป
วันอังคารที่ ๔ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๖๕ เวลา ๐๙.๐๐ น. พระธรรมวัชรบัณฑิต,ศ.ดร. อธิการบดี เป็นประธานนำสวดมนต์ เจริญจิตภาวนา ประจำเดือนตุลาคม ณ อาคารวิปัสสนาธุระ สมเด็จพระพุฒาจารย์ (อาจ อาสภามหาเถระ) มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย อำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย (มจร) ได้จัดงานทางวิชาการฉลองในโอกาสครบรอบ 135 ปี ที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ทรงสถาปนาขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นสถานศึกษาพระไตรปิฎกและวิชาชั้นสูงสำหรับคณะสงฆ์ฝ่ายมหานิกาย เมื่อพ.ศ.2430 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อทรงเสด็จประภาสยุโรปพระองค์ก็ทรงเอาแบบอย่างในการพัฒนาประเทศมาใช้ในประเทศไทย ทรงยกระดับการพัฒนาในทุกๆด้านรวมทั้งระบบการศึกษาในแบบสมัยใหม่ด้วย ทรงเห็นถ้าจะพัฒนาอะไรให้เริ่มที่คน คนหรือประชากรเป็นศูนย์กลางของการพัฒนาอย่างแท้จริงและเมื่อจัดการศึกษาให้พสกนิกรได้ศึกษาเล่าเรียนเพื่อพัฒนาตนเองเพื่อนำไปสู่การพัฒนาประเทศตามแบบอย่างนานาอารยประเทศแล้ว ในส่วนของคณะสงฆ์คือพระสงฆ์สามเณรจะทำอย่างไร เมื่อชาวบ้านมีความรู้ มีการศึกษาที่ดีแล้วพระสงฆ์สามเณรก็ควรที่จะได้รับการดูแลเอาใจใส่และได้รับพระบรมราชูอุปถัมภ์ด้วยเช่นกัน ไม่เช่นนั้นแล้วพระสงฆ์จะไปเทศน์ ไปสอนชาวบ้านให้เขาเคารพนับถือได้อย่างไร จึงถือเป็นบ่อเกิดและแนวคิดในการสถาปนามหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เพื่อพัฒนาศักยภาพของคณะสงฆ์ไทย
วันศุกร์ที่ 2 กันยายน 2565 พระธรรมวัชรบัณฑิต,ศ.ดร. อธิการบดี มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เป็นประธานเปิด โครงการการจัดทำข้อสอบกลางระดับปริญญาตรี หลักสูตรปรับปรุง 2565 จำนวน 3 รายวิชา ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 ณ อาคารพระพรหมบัณฑิต วิทยาลัยพุทธศาสตร์นานาชาติ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย อำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
กำหนดการ “๑๓๕ ปี ” มหาจุฬาฯ พัฒนาปัญญาและคุณธรรม นำพุทธนวัตกรรมสู่สังคมโลก ณ อาคาร มวก. ๔๘ พรรษา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
ขอเชิญเข้าร่วมสัมมนาวิชาการระดับชาติ และระดับนานาชาติทั้งในรูปแบบออนไลน์ และออนไซต์ เรื่อง “การส่งเสริมและคุ้มครองวัฒนธรรม ทางพระพุทธศาสนาในโลกไร้พรมแดน”(Promotion, protection and Preservation of Buddhist Culture in Global Perspective) วันเสาร์ ที่ ๒๗ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๖๕ ณ วิทยาลัยสงฆ์เชียงราย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราช วิทยาลัย ในรูปแบบการสัมมนา การบรรยายพิเศษ (Keynote lecture ) /การเสวนา (Panel Discussion)/ การอภิปราย และการนำเสนอผลงานวิจัย (Oral Presentation) ลงทะเบียนเข้าร่วมงานได้ที่ www.bri.mcu.ac.th/con
วันจันทร์ที่ 15 สิงหาคม 2565 พระเมธีธรรมาจารย์,รศ.ดร. รองอธิการบดีฝ่ายวางแผนและพัฒนา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย บรรยาพิเศษ โครงการฝึกอบรม"หลักสูตรการฝึกอบรมอัยการผู้ช่วย" สถาบันวิปัสสนาธุระ ส่วนงานวางแผนและพัฒนาการอบรม ได้กำหนดจัดขึ้นระหว่าง วันที่ 15-16 สิงหาคม พ.ศ.2565 ณ อาคาร 72 ปี พระวิสุทธาธิบดี (หอฉันชั้น 4 มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย อ.วังน้อย จ.พระนครศรีอยุธยา